โอนเงินออนไลน์กับบริการเอสเอ็มเอส
 
# 273 โอนเงินออนไลน์กับบริการเอสเอ็มเอส

    มีข่าวปรากฎตามสื่อหลายครั้งเกี่ยวกับปัญหาการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบธนาคารออนไลน์ ซึ่งธนาคารแต่ละแห่งพัฒนาระบบของตนรองรับความต้องการของผู้ใช้บริการมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับจากแต่ก่อนที่มีเพียงธนาคารเดียว บริการธนาคารออนไลน์เริ่มมีความหลายหลายทั้งประเภท และช่องทางในการใช้บริการ ช่วยให้การจ่ายค่าสาธารณูปโภคสะดวก โอนเงินให้กับคู่ค้า หรือญาติมิตร สามารถใช้ผ่านเว็บไซต์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ ประกอบกับการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยี และมีมาตรการด้านความปลอดภัยที่สูงขึ้น ทำให้ผู้ใช้เกิดความมั่นใจในการใช้บริการ แต่ก็ยังมีมิจฉาชีพสามารถเข้าทำรายการออนไลน์ด้วยเทคนิคที่ตรวจจับได้ยาก ดังข่าวเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2553 ว่าธนาคารแพ้คดีต้องชดใช้เงินกว่า 2.3 ล้านที่หายไปจากบัญชีของเสี่ยแตงโม จังหวัดปทุมธานี

    ต่อมาพบว่า ธนาคารแห่งหนึ่งเปิดให้บริการผ่านเว็บไซต์ และพบเอกสารประชาสัมพันธ์ถึงมาตรการดูแลความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ ประกอบด้วย 1) การเข้ารหัสข้อมูลระดับ 128 บิท (Secure Socket Layer = SSL) ระหว่างรับและส่งข้อมูล 2) การตั้งไฟวอล(Firewalls) ปกป้องข้อมูลจากการคุกคาม และใช้ซอฟท์แวร์ตรวจจับการบุกรุก (Intrusion Detection Software = IDS) 3) บริการแจ้งการเข้าสู่ระบบ (Log-on E-mail Alert) ส่งข้อความไปยังอีเมลส่วนตัวของเจ้าของบัญชี 4) เอสเอ็มเอสแจ้งยืนยัน (SMS Notification) การโอนเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกครั้ง 5) รหัสผ่านครั้งเดียว (One Time Password = OTP) การส่งรหัสผ่านเอสเอ็มเอสให้เจ้าของบัญชีเพื่อยืนยันการทำรายการที่สำคัญ อาทิ เพิ่มบัญชีผู้รับโอน หรือเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า 6) การออกจากระบบอัตโนมัติ (Auto Log-Off)

    มาตรการข้างต้นมีถึง 2 รายการที่แสดงให้เห็นว่าธนาคารเชื่อว่าผู้ใช้บริการธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ส่วนใหญ่มีความเข้าใจคำว่าเอสเอ็มเอส (SMS) เพราะเป็นเทคโนโลยีในการรับส่งข้อความผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เริ่มเข้ามาเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตอีกปัจจัยหนึ่ง อาธิ ในสถาบันการศึกษาเริ่มใช้เอสเอ็มเอส แจ้งข่าวการเรียนการสอน ในทีวีใช้แสดงความคิดเห็นเพื่อวัดความนิยมในนักแสดงหรือหัวข้อที่กำหนดขึ้น ในทางการค้าผู้จำหน่ายส่งรายการสินค้าโปรโมชั่นให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ในการทำธุรกรรมทางการเงินใช้เอสเอ็มเอส ยืนยันตัวตนของบุคคล ในเฟสบุ๊คใช้ยืนยันตัวตนในการเป็นเจ้าของเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Phone) เป็นต้น
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
274. ความต่างของ iphone กับ bb
273. โอนเงินออนไลน์กับบริการเอสเอ็มเอส
272. อุปกรณ์แนะนำเส้นทางพาหลงได้
271. คนละมุมมองกับสื่อออนไลน์
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com