คนละมุมมองกับสื่อออนไลน์
 
# 271 คนละมุมมองกับสื่อออนไลน์

    ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตกลายเป็นปัจจัยที่ 5 สำหรับหลายครอบครัว ลูกอยู่ทาง พ่อแม่อยู่ทาง ก็สามารถสื่อสารกันได้ คนโสดก็ใช้เป็นเครื่องคลายเหงา เด็กก็ใช้เวลาตั้งแต่หัวค่ำถึงดึกทุกวัน เพื่อสื่อสารกับเพื่อนหรือเล่นเกมออนไลน์ผ่านสื่อที่ไร้พรมแดน สามารถเข้าถึงโดยชนทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเวลา ทุกสถานภาพ ตั้งแต่รัฐมนตรีถึงเด็กนักเรียน แต่การใช้บริการอย่างเหมาะสมตามสถานภาพยังเป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงกันอีกนาน อาทิ ตำรวจ พยาบาล อบต พนักงานบริษัท นักเรียน ครู ได้เข้าไปใช้สังคมออนไลน์ให้เกิดประโยชน์ในสายอาชีพของตนอย่างไร แต่คำตอบอาจเป็นว่า เรื่องของฉัน มุมส่วนตัว ผ่อนคลาย คุยกับเพื่อนเดี๋ยวเดียว ติดต่อลูกค้า ทำงาน เป็นต้น

    พระสงฆ์เป็นสมาชิกกลุ่มหนึ่งในสังคมแต่มีสถานภาพที่แตกต่างกับฆราวาส ทำให้กิจกรรมที่ทำได้ในสังคมออนไลน์มีจำกัดทั้งรูปแบบ และความเหมาะสม ครั้งหนึ่งมีประเด็นเข้ามาถกกันในห้องเรียนของพระนิสิต ทราบว่ามีฆราวาสบางท่านมีภาพของพระสงฆ์เป็นผู้ทรงศีล รักสงบ ปลีกวิเวก ศึกษาพระธรรม และมีกิจของสงฆ์อยู่เพียงในวัด แต่ปัจจุบันพระสงฆ์เริ่มเปลี่ยนบทบาทไปมาก ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นสอนระดับบัณฑิตศึกษาสำหรับคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสอนระดับบัณฑิตศึกษาสำหรับคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต ทำให้พระสงฆ์ในปัจจุบันมีความรู้ความสามารถ และมีสังคมที่กว้างขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

    ในทัศนะของผู้เขียนแล้ว สังคมออนไลน์ก็ไม่ต่างกับสังคมทั่วไป ทุกคนเข้าไปทำกิจกรรมได้หลายรูปแบบ มีทั้งค้าขาย บันเทิง ศึกษา สื่อสาร แต่การใช้งานสังคมออนไลน์ มักถูกใช้เพื่อการสื่อสารและความบันเทิงเป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นเหตุให้ชาวพุทธบางท่านมีความเห็นว่าการที่พระสงฆ์เข้าไปในสังคมออนไลน์อาจถูกชักนำไปในทางที่ไม่ถูกต้อง แต่สังคมออนไลน์ก็เป็นสังคมอีกลักษณะหนึ่ง ที่พระสงฆ์สามารถเลือกดำเนินกิจกรรมที่เหมาะสมกับสถานะของตน อาทิ การให้ธรรมเป็นทานแก่ผู้สนใจทั่วไป การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพระสงฆ์ อาจารย์วัด หรือฆราวาสที่ยึดมั่นในศีลอย่างเคร่งครัด
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
272. อุปกรณ์แนะนำเส้นทางพาหลงได้
271. คนละมุมมองกับสื่อออนไลน์
270. นวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงโลก
269. สิ่งประดิษฐ์ที่ไม่สมควรคิดค้น
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com