2552-05-23 ประชุมยุทธศาสตร์การศึกษากับการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่บ้านเสานัก
รอง.ผอ.ราตรี ดวงไชย โรงเรียนไหล่หินวิทยา เป็นตัวแทนโครงการวิจัยฯ ในบทบาทของครูในพื้นที่ เข้าร่วมเวทีที่ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปาง
จัดขึ้นเพื่อวางกรอบแนวทางการวิจัยภายใต้ยุทธศาสตร์การศึกษา โดยประกอบด้วยตัวแทนโครงการวิจัยจากหลายโครงการ ผู้แทนจากองค์กรทางการศึกษา
แม้หัวหน้าโครงการไม่ได้เข้าร่วม แต่ก็ได้ยินเสียงชื่นชมจาก ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ กศน.ภาคเหนือ ว่านักวิจัยของโครงการเล่าได้อย่างมีความสุข ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่าโครงการประสบความสำเร็จ เพราะคนทำงานสามารถนำเสนอได้อย่างเข้าใจ และมั่นใจในสิ่งที่ได้ทำลงไปได้อย่างมีความสุข .. ผู้เขียนขอตีความอย่างที่ได้รับฟังมา
เหตุที่หัวหน้าโครงการไปร่วมครั้งนี้ไม่ได้ เพราะติดงานนำเสนอโครงการวิจัยอีกโครงการหนึ่ง คือโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประเมินตนเองฯ ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งได้นำเพื่อนร่วมงานไปร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้หลายท่าน
|
2552-04-10 แถลงข่าวประกาศใช้ข้อตกลงในการจัดการงานศพฯ
เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2552 นายทรงศักดิ์ แก้วมูล ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลไหล่หิน ร่วมกับผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ หัวหน้าโครงการวิจัยรูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในบทบาทอาจารย์มหาวิทยาลัยโยนกร่วมกับนักวิจัยในพื้นที่ทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จัดงานแถลงข่าวการประกาศใช้รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตำบลไหล่หิน โดยได้รับเกียตรติจากนายชนะเกียรติ เจริญหล้า นายอำเภอเกาะคา เป็นประธานในพิธีมอบป้ายไวนิล ป้ายประชาสัมพันธ์ประเด็นข้อตกลง และเอกสารประกาศข้อตกลง แก่ตัวแทนผู้นำทั้ง 6 หมู่บ้านที่ทำงานร่วมกันมากว่า 2 ปี ณ ศาลาเอนกประสงค์วัดไหล่หินหลวง โดยมีผู้สูงอายุ นักวิจัยในตำบล หัวหน้าส่วนราชการ และนักวิจัยที่สังกัดศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปาง เข้าไปร่วมเป็นเกียรติ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิธีวิทยาของโครงการวิจัยครั้งนี้ หลังเสร็จพิธีนางสาวภัทรา มาน้อย พี่เลี้ยงโครงการวิจัยพื้นที่จังหวัดลำปาง ร่วมกับสภาวัฒนธรรมตำบลไหล่หินจัดพิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในตำบล นักวิจัยอวุโส ปลัดอาวุโส และนายอำเภอเกาะคา (รวมรูปใหญ่ซ่อนใน news_announce.zip 15 MB)
ส่วนหนึ่งของงานแถลงข่าวได้ทำวีดีโอที่ผู้ใหญ่บ้านแต่ละท่าน นำเสนอประเด็น และภาพกิจกรรม ระหว่างดำเนินการวิจัย
ซึ่งวีดีโอทั้งหมดเผยแพร่ใน youtube.com
ดังนี้
ผู้ใหญ่ประจญ ภักตรา 0871818936
ผู้ใหญ่อุดม จำปา 0898530539
ผู้ใหญ่ประจวบ ตาวี 0857052689
ผู้ใหญ่อนัน ขันทา 0813667799(map)
ข่าวใน
thaiall.com
mthai.com
oknation.net
http://radio.mcot.net
|
2552-04-02 ประสานเตรียมงานแถลงข่าว
ประสานกับคุณทรงศักดิ์ แก้วมูลเตรียมจัดเวทีแถลงข่าว เรื่องการประกาศใช้ข้อตกลงในการจัดการงานศพฯ
มีประเด็น 1) เชิญนักข่าว 3 สำนักพิมพ์
2) เชิญนักวิจัยร่วมในพื้นที่ 14 + 9 + 9 + 9 + 9 = 50
3) เชิญกำนัน 9 ตำบล และหัวหน้าส่วนราชการ และนายอำเภอ
4) เตรียม break สำหรับ 100 คน
5) คุณสองเชิญผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ทั้งหมด ประสานจัด break เตรียมอุปกรณ์
6) จิ๋มเชิญนักวิจัยนอกพื้นที่
7) อ.บุรินทร์ เตรียม บทความ ไวนิล ป้าย future board ประกาศสภาฯ และ วีดีทัศน์
จัดงานที่ศาลาอเนกประสงค์วัดไหล่หินหลวง ศุกร์ที่ 10 เมษายน 2552
โดยมี หนังสือเชิญ และ กำหนดการ
ส่งให้สกว. เพื่อพิจารณาเข้าร่วมประชุม
|
2552-03-20 - 21 ประชุมที่ Grand Diamon Ballroom
ทีมวิจัย 3 คน ร่วมขบวนไปกับศูนย์ประสานงาน ร่วมงานมหกรรม 10 ปีวิจัยเพื่อท้องถิ่น
แล้วหัวหน้าโครงการมีโอกาสขึ้นเวทีเสวนาวันเสาร์ที่ 21 มี.ค.52 ช่วง 9.00- 9.40
เป็น session แรกของช่วงเช้าในห้องย่อย 1 หัวข้อ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับสถาบันการศึกษา
บนเวทีมี คุณประพจน์ ภู่ทองคำ ดร.มยุรี ถาวรพัฒน์ อ.ไพจิตร ศรีธนานุวัฒน์ ผศ.เยี่ยมลักษณ์ อุดาการ และผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
2552-03-20 คุณราชศักดิ์ นิลศิริ นักเขียนประจำกองบรรณาธิการ National Geographic ฉบับภาษาไทย
Tel.0851650435 rachasak@amarin.co.th ขอสนทนาเก็บข้อมูลเรื่องงานศพ กับนักวิจัย 3 คนคือ ประธานทรงศักดิ์ พ่อกำนันกิจชนะชัย และผม นานกว่า 2 ชม.
ก็ดีใจที่ข้อมูลนี้จะถูกนำไปแลกเปลี่ยนในเวทีอื่นต่อไป
ภาพ :
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
|
2552-02-21 - 03-02 เวทีสรุปผลแต่ละหมู่บ้าน
จากการสรุปผลในแต่ละหมู่บ้าน โดยสรุปประเด็นโดยผู้ใหญ่แต่ละหมู่บ้าน สรุปความสัมพันธ์ของหลักปรัชญาฯกับงานศพโดยพ่อกำนัน
สรุปการดำเนินงานโดยผู้ใหญ่เพิ่มศักดิ์ และสรุปบทเรียนความสำเร็จโดยประธานสภาฯ และขอรายชื่อชาวบ้าน ทำให้การยื่นหนังสือถึงสภาวัฒนธรรมตำบลไหล่หินมีความสมบูรณ์
และปรับแก้ไขร่างประกาศจนได้ ร่างประกาศรุ่น 3 เป็นที่เรียบร้อย
1)หมู่ 1 บ้านเข้าซ้อน 2 มีค. 52 มี 17 ประเด็น
2)หมู่ 3 บ้านแม่ฮวก 22 กพ. 52 มี 14 ประเด็น
3)หมู่ 4 บ้านมะกอก-นาบัว 21 กพ. 52 มี 15 ประเด็น
4)หมู่ 5 บ้านกิ่ว 23 กพ. 52 มี 15 ประเด็น
บ้านไหล่หิน และบ้านไหล่หินตะวันตก เหลือ 15 ประเด็น
|
2552-02-9 - 12 วิเคราะห์ผลประชามติและข้อเสนอแนะ
หลังได้ประชามติจากแต่ละหมู่บ้าน จึงนำผลประชามติ และข้อเสนอแนะไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวางแผนการทำงานช่วงต่อไป
โดยกิจกรรมต่อไปคือ ประชุมสรุปผลลงแต่ละหมู่บ้าน นำผลการประชามติเสนอให้สภาวัฒนธรรมประกาศของตำบลรับรอง เสนอให้สภาฯอำเภอรับรอง มอบเครื่องมือ 3 ชิ้นให้แต่ละหมู่บ้านใช้เป็นเครื่องมือ คือ 1)Future Board ติดที่วัด 2)ประกาศสภาวัฒนธรรมใช้เป็นคู่มือ 3)ป้ายไวนิวติดในงานศพ
ซึ่งเป็นเครื่องมือเสริม การทำงานของนักวิจัยร่วมในแต่ละหมู่บ้านที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนข้อตกลงที่ตั้งอยู่บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำไปสู่การเป็นชุมชนอยู่ดีมีสุข สรุปได้ว่าทั้งตำบลมีประเด็นในภาพรวมทั้งหมด 18 ประเด็น
1)หมู่ 1 บ้านเข้าซ้อน 9 กพ. 52 เดิม 16 ประเด็น เพิ่ม 1 ประเด็น เป็น 17
2)หมู่ 3 บ้านแม่ฮวก 10 กพ. 52 เดิม 13 ประเด็น เพิ่ม 1 ประเด็น เป็น 14
3)หมู่ 4 บ้านมะกอก-นาบัว 11 กพ. 52 มี 15 ประเด็นเท่าเดิม
4)หมู่ 5 บ้านกิ่ว 12 กพ. 52 มี 15 ประเด็นเท่าเดิม
บ้านไหล่หิน และบ้านไหล่หินตะวันตก เดิม 16 ประเด็นลดเหลือ 15 ประเด็น
+ ผลการประเมินการลดค่าใช้จ่ายลงได้ -19,675 บาท
+ ผลปรับร่าง ประกาศสภาวัฒนธรรมฯ รุ่น 2
|
2552-01-18 ประชุมทีมวิจัยร่วมซักซ้อมรอบสุดท้ายก่อนเข้าหมวดหามติในหมู่บ้านทั้ง 4
จัดทำ เอกสารเตรียมเข้าประชุมที่นำเข้าทบทวนและแก้ไขรุ่น 11
ซึ่งนัดหมายทั้ง 4 หมู่บ้าน สำหรับ
1)หมู่ 1 บ้านเข้าซ้อนคือ 25 มกราคม 2552 เวลา 9.00 - 12.00 น.
2)หมู่ 3 บ้านแม่ฮวกคือ 24 มกราคม 2552 เวลา 20.00 เป็นต้นไป
3)หมู่ 4 บ้านมะกอก-นาบัวคือ 25 มกราคม 2552 เวลา 20.00 เป็นต้นไป
4)หมู่ 5 บ้านกิ่วคือ 26 มกราคม 2552 เวลา 20.00 เป็นต้นไป
สิ่งที่แตกต่างกันในแต่ละเวทีคือ มี 3 หมู่บ้านจะใช้เสียงตามสายเชิญชาวบ้านมาประชุม คาดว่ามากกว่าในแผนคือ 40 คนหลายเท่าตัว ยกเว้นบ้านมะกอก-นาบัวใช้หนังสือเชิญรายบุคคลจำนวน 50 แผ่น
ส่วนบ้านเข้าซ้อนเลือกประชุมกลางวัน และทุกหมู่บ้านใช้วัดเป็นที่ประชุม
|
2551-12-22 และ 23 ประชุมทีมวิจัยร่วม และดูงานที่บ้านดง ต.นายาง
ประชุมกับนักวิจัยร่วมจาก 4 หมู่บ้าน และไปดูงานบ้านดงในวันรุ่งขึ้น ลดดีกรีความไม่เห็นด้วยในหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องเหล้า และเรื่องวันเสีย
ได้ประเด็นจาก 4 หมู่บ้าน
ก่อนประชุมวันที่ 18 มกราคม 2551 ได้นัดประชุมนอกรอบกับแต่ละหมู่บ้าน ระหว่าง 11 - 14 มค.52 เพื่อเตรียมการณ์ พิจารณาเอกสารที่จะใช้ในการประชาคม และทบทวนประเด็นอีกครั้งหลังไปศึกษาดูงาน
+ ประชุมนักวิจัยร่วม
1,
2,
3,
4,
5
+ ดูงานที่บ้านดง
1,
2,
3,
4,
5,
6,
7,
8,
9,
10
วิทยากร คือ นายอิ่นแก้ว เรือนปานันท์ และ นางวิลัยวรรณ เทพอุด
|
2551-12-07 ถึง 10 เข้าพบทีมวิจัยร่วมใน 4 หมู่บ้าน (#3)
พบวันละหมู่บ้าน เริ่มบ้านกิ่วที่บ้านผู้ใหญ่
บ้านมะกอกนาบัวที่วัดมะกอกนาบัว บ้านเข้าซ้อนที่ศูนย์เด็กเล็ก และบ้านแม่ฮวกที่ในโบสถ์
ประเด็นที่เข้าไปครั้งนี้ คือ ทบทวนชื่อนักวิจัยร่วม นำเสนอที่มาโครงการ กำหนดการ ยกร่างประเด็นร่วมกับนักวิจัยร่วม และนัดหมายการทำงาน ได้รับการตอบรับดีมาก
เพราะทุกคนเข้าใจเป้าหมายของโครงการ และการทำงานอย่างชัดเจน มีพ่อกำนัน กับอ้ายเทียนไปด้วยทุกครั้ง ทำให้ทำงานง่ายขึ้นมาก
จากการพูดคุยกับนักวิจัยร่วมทีละหมู่บ้าน จึงปรับ ข้อมูลประวัติ เพื่อใช้อธิบายความเป็นมาในเวทีแต่ละหมู่บ้าน
ภาพถ่าย :
7 บ้านกิ่ว,
8 บ้านมะกอกนาบัว,
9 บ้านเข้าซ้อน,
บ้านแม่ฮวกลืมเอากล้องไปครับ
|
2551-12-03 รับรางวัลผลงานวิจัยเด่นปี 2551
โครงการของเราได้รับคัดเลือกเป็น
1 ใน 8 "ผลงานวิจัยเด่น ประจำปี 2551" จากกลุ่มงานวิจัยท้องถิ่น ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) รับโล่และเกียรติบัตรจาก ศ.ดร.ปิยวัติ บุญ-หลง
ความสำเร็จเกิดจากการหนุนนำของ ดร.สมคิด แก้วทิพย์ และผศ.ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ ผู้ประสานงานฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น
และแรงหนุ่นสำคัญใกล้ทีมงานแบบถึงลูกถึงคน ถึงพริกถึงขิง คือ คุณภัทรา มาน้อย ผู้ประสานงาน ศูนย์ลำปาง ยังมีน้องโบว์ น้องบอย และน้องจิ๊บ ที่ทำงานกันเต็ม 100 ทุกเวลาคอยหนุนเสริมทีมวิจัยบ้านไหล่หินอย่างต่อเนื่อง
ถ้านี่เป็นความสำเร็จก็ต้องบอกว่ามีปัจจัยมากมายที่ขับเคลื่อนกระบวนการทั้งหมดมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากทีมวิจัยที่เป็นส่วนสำคัญแล้ว ก็ต้องบอกว่า
คุณภัทรา มาน้อย คือฟันเฟืองซี่เล็กที่สำคัญที่สุดอีกตัวหนึ่ง ที่ทำให้กลไกการเริ่มต้น การประสาน และการสนับสนุนจากส่วนกลางเป็นไปอย่างที่เป็นอยู่ .. และนี่คงเป็นหน้าที่ของผู้ประสานงานดีเด่นอย่างแน่นอน
ความเด่นของโครงการโดยสรุปในมุมของผู้ประสานงาน 1)ใช้เทคนิค และกระบวนการเก็บข้อมูลอย่างมีส่วนร่วม 2)ใช้การสื่อสารให้เข้าใจกิจกรรมได้ง่ายด้วยวีดีโอ 3)ออกแบบกิจกรรมให้มีส่วนร่วมทั่วถึง 4)มีเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมทำงานและเรียนรู้ 5)ทัศนคติของการเกื้อหนุน
24 งานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551
คัดภาพ :
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
Brochure ที่นำไปแจกในงานนี้ ตอนจัดนิทรรศการ
|
2551-11-29 ร่วมงานศพ อ.สุคณิต พาทีทิน ที่ กทม.
ผม และเพื่อนอาจารย์มหาวิทยาลัยโยนก
ไปร่วมงานศพ อ.สุคณิต พาทีทิน ท่านเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งหลังทราบอาการประมาณ 4 เดือน
ตั้งศพที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ศาลา 9/1
การจัดงานศพที่ผมไปรวมใช้เวลาเพียง 25 นาที (18.30 - 18.55) นับจากพระสงฆ์นั่งจนออกจากศาลา
มีการเลี้ยงข้าวต้ม และน้ำเปล่าตั้งแต่ก่อนสวดประมาณ 18.00น. (เห็นแขกในงานบอกว่าวัดชลประทานรังสฤษฎ์ ก็นิยมแจกของว่างก่อนสวดเช่นกัน)
พิธีทางศาสนาเริ่มจากอาราธนาศีล ๕ แล้วสวดไปสักพักก็หยุดครึ่งนาที ประมาณ 4 รอบ
ก่อนถวายจตุปัจจัย(สังฆทาน) ผ้าบังสุกุล และช่อดอกไม้ 4 ชุด
ที่กรุงเทพฯ เห็นพวงหรีดเป็นดอกไม้สดทั้งหมด ชุดละประมาณ 500 บาท ถ้ามี 20 ชุดก็ประมาณ 10000 บาทแล้ว
ถ้าเก็บศพไว้นาน พวกหรีดที่นำไปวางก่อนก็จะเหี่ยวเฉา ไม่เหมือนที่ลำปางที่ใช้ดอกไม้แห้ง ผ้าขนหนู หรือนาฬิกาแทน
|
2551-11-22 เตรียมไปจัดนิทรรศการ และร่วมแถลงข่าว
วันนี้มีนักวิจัยประชุมเตรียมพร้อม
พี่เพ็ญ กำนัน ลุงล้วน พ่ออ้าย อ.ผดุง คุณสอง แพทย์ ป้ากิม แต่มีนักวิจัยที่สะดวกไปได้เพียง 6 คน อีก 4 คนที่เพิ่มเข้ามาเป็นนักวิจัยร่วมคือ
นางสมพร คำอ้าย นางอรปรีญา วรรณมณี อ.สนั่น วรรณมณี และนางผ่องศรี ชำนาญการ
คุยกันเรื่องเตรียมนิทรรศการ ขอที่เตรียมไปมี 6 อย่างคือ เมี่ยง ดอกไม้แห้ง แกงฮังเล สุราพื้นบ้าน สำรับ ผ้าสุกุล
สำหรับเอกสารเตรียมแจกทำเป็น brochure 200 ชุด
|
2551-10-31 เตรียมความพร้อมระยะที่ 3
นัดหมาย 20 และ 21 ธันวาคม 51 เตรียมไปดูงานบ้านดง สบปราบ และนัดเข้าพื้นที่เริ่มเดือนมกราคม 52
และทำป้ายแต่ละหมู่บ้าน : หมู่บ้านนี้ยึดหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาพถ่าย1
|
2551-10-19 เข้าพบผู้ใหญ่บ้านทั้ง 4 (#2)
เข้าไปเก็บข้อมูลเรื่องประชากร และทบทวนประเด็น โดยใช้ฐานจากรูปแบบที่ได้จากบ้านไหล่หินหมู่ 2 และหมู่ 6
พบว่าแต่ละหมู่บ้านมีความแตกต่างกันในบางประเด็น ครั้งนี้พบทั้ง 4 ผู้ใหญ่บ้านสำเร็จในวันเดียว ใช้เวลาแต่ละหมู่บ้านประมาณ 1 ชั่วโมง - 1 ชั่วโมงครึ่ง
โดยเฉพาะบ้านกิ่วที่พบนักวิจัยร่วมรวม 6 ท่าน มีการซักถามมากจึงใช้เวลามากที่สุด ส่วนบ้านแม่ฮวกได้พบกับ อ.ธงชัย ผอ.โรงเรียนบ้านแม่ฮวก ได้แลกเปลี่ยนประเด็นจึงใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง
ผู้ใหญ่ประจวบเล่าความคืบหน้า และการตอบรับในชุมชน ส่วนผู้ใหญ่ผจญก็ยินดีประสานกับอาจารย์สุวรรณ ในการบรรยายเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านหากมีการประชุมในเดือนถัดไป
ภาพถ่าย :
1,
2,
3,
4
|
2551-10-05ร่วมงานศพพ่อท่น จินะการ 65 ปี
ได้รับแจ้งข่าวเศร้าจากอ.สุวรรณ เกษณา เกี่ยวกับญาติของพ่อหลวงเพิ่มศักดิ์ จินะการ ซึ่งเป็นทีมวิจัยหลักของโครงการ
ว่าท่านได้เสียพี่ชายชื่อ พ่อท่น จินะการ กระผมจึงเข้าเยี่ยมเคารพศพประมาณบ่าย 3 ของวันดา กำลังจะเริ่มพิธีทาน ก่อนนำโลงเข้าปราสาท
งานนี้เป็นไปตามข้อตกลงในหมู่บ้านหลายประการ เช่น การเก็บศพ 3 วัน การลดสุรา การใช้โลงศพราคาไม่สูงนัก การใช้ดอกไม้แห้ง การจัดหาผ้าบังสุกุล
คาดว่าจะมีประมาณ 40 ผืนเท่านั้น ส่วนการวางซองแทนพวงหรีดมี โรงเรียนไหล่หินวิทยา กับโรงเรียนบ้านไหล่หิน และทีมวิจัย เป็นผู้นำร่องจัดทำป้ายตามที่เราได้ดำเนินการ
ภาพถ่าย :
1,
2,
3,
4,
5,
6,
7,
8,
9
|
2551-09-27 นำเสนอโครงการต่อ 4 ผู้ใหญ่ หมู่ 1,3,4,5 (#1)
เข้าพบผู้ใหญ่บ้านทั้ง 4 หมู่บ้าน โดยมีลุงล้วนในฐานะสารวัตรกำนันช่วยประสาน
ทำให้การเล่าเรื่องงานวิจัย นำเสนอวัตถุประสงค์ แผนงาน และกิจกรรม ทำได้อย่างราบรื่น
โดยพบผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 เป็นท่านสุดท้าย เพราะท่านไปขอสาวให้ลูกบ้าน เป็นการเตรียมความพร้อมเรื่องนักวิจัยร่วม และการให้ข้อมูลในเบื้องต้น
- หมู่ 1 บ้านเข้าซ้อน ผู้ใหญ่ประจญ ภักตรา 0871818936
- หมู่ 3 บ้านแม่ฮวก ผู้ใหญ่อุดม จำปา 0898530539
- หมู่ 4 บ้านมะกอกนาบัว ผู้ใหญ่ประจวบ ตาวี 0857052689
- หมู่ 5 บ้านกิ่ว ผู้ใหญ่อนัน ขันทา 0813667799
|
|
2551-09-18 เล่าเรื่องโครงการ ที่คลื่น 94.5
ทุกวันพฤหัสบดี 9.00 - 10.00 ศูนย์ประสานงาน ลำปาง จะจัดรายการวิทยุที่โรงเรียนผดุงวิทย์
วันที่ 18 กย.51 ได้รับเชิญจาก นางสาวอัญมณี แสงแก้ว เจ้าหน้าที่การเงินของ สกว.ลำปาง
การออกอากาศผ่านรายการวิทยุครั้งนี้ นำเสนอ 3 ช่วง คือ
ที่มาโครงการ
ประเด็นที่น่าสนใจ
สรุปโดยน้องโบว์
ซึ่งทั้ง 3 ช่วงได้บันทึกวีดีโอเข้า youtube.com เป็นบทเรียนในการทำงาน
|
2551-08-23 แจ้งมติจากการประชาคมทั้ง 8 ให้ 2 หมู่ทราบ
สรุปประเด็นต่าง ๆ ให้กับในชุมชน โดยชี้ลงไปในประเด็นที่ยังมีข้อสงสัย
โดย อ.สุวรรณ เกษณา ชี้ไปที่ประเด็นที่อาจมีข้อถกเถียง โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ส่วนคุณทรงศักดิ์ แก้วมูล ให้ภาพที่ผ่านมา ปัจจุบันเราเป็นอย่างไร และที่เราจะทำต่อไปได้อย่างชัดเจน
ส่วน กำนันกิจชนะชัย ปะละ สรุป และย้ำในกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น
1
2
3
4
เอกสารสรุปผล
| |
2551-07-25 งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในบทบาทการศึกษา
วันนี้ผมมีโอการนำเสนอกระบวนการ และสิ่งที่ได้รับจากโครงการวิจัยในบทบาทของอาจารย์ และชุมชน
แต่เวลาที่มีให้น้อยมาก จนนำเสนอได้เฉพาะกรอกของกระบวนการ ถ้านำเสนอรายละเอียดอื่น ๆ ก็จะทำให้เหลือเวลาน้อยไป
สำหรับนักวิจัยอีก 5 โครงการได้แก่ เด็กท้อง เจ้าพ่อขุนตาล โคม ฐานข้อมูล ผ้าย้อม
1
2
3
4
5
| |
2551-06-20,21,28,29 เวทีหมวด 1 และ 2
หมู่ 2 หมวด 1,2,3 (
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10)
หมู่ 6 หมวด 1,2,3 (
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13)
หมู่ 2 หมวด 4,5,6,7 (
1
2
3
4
5
6
7
8)
หมู่ 6 หมวด 4,5,6,7 (
1
2
3
4
5
6)
หมู่ 2 หมวด 8,9,10,11 (
1
2
3
4
5
6
7
8
9)
หมู่ 6 หมวด 8,9,10,11 (
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12)
หมู่ 2 หมวด 12,13,14,15 (
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12)
หมู่ 6 หมวด 12,13 และหมู่ 2 หมวด 16 (
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10)
+ ข้อมูลจากการประชุมระดับหมวดทั้ง 8 ครั้ง
+ วีดีโอ รุ่น 9
|
|
1
2
3
4
|
2551-06-13 เตรียมความพร้อมเข้าระดับหมวด
คุณทรงศักดิ์ แก้วมูล ประธานสภาองค์การ
บริหารส่วนตำบลไหล่หิน ด.ต.กิจชนะชัย ปะละ กำนันตำบลไหลหิน อ.สุดา แผ่นคำ คุณ
ภัทรา มาน้อย ผู้ประสานงาน สกว. และนักวิจัยในโครงการวิจัย "รูปแบบการจัดการ
งานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง" ร่วม
กับนักวิจัยร่วม ประชุมเตรียมความพร้อมในการทำประชาคมครั้งละ 3 หมวดบ้าน
ทั้งหมด 10 ครั้ง เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ และหามติร่วมกันในการจัดการงานศพโดยยึด
หลักเศรษฐกิจพอเพียง
|
2551-06-06 เวทีสางความเชื่อเรื่องวันเสีย
ผอ.สุวรรณ เกษณา โรงเรียนบ้านไหล่หิน
ด.ต.กิจชนะชัย ปะละ กำนันตำบลไหล่หิน และนักวิจัยใน
โครงการวิจัย "รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง"
ร่วมกับผู้สูงอายุในบ้านไหล่หินกว่า 30 ท่าน หาข้อสรุปเกี่ยวกับวันเสียบนความสมเหตุสมผล อย่างพอประมาณ ให้เหลือวันที่เชื่อว่าไม่สมควรทำพิธีฌาปนกิจศพน้อยที่สุด
โดยอาศัยข้อมูลแวดล้อมอ้างอิง นำสู่ชีวิตพอเพียงในการจัดการงานศพของท้องถิ่น
+ การฌาปนกิจศพ (ดวงจันทร์ ครุขยัน)
+ วันไชยฤกษ์ โดยพ่อหลวงหนานตา อุรา
+ เอกสารนำเข้าเวที รุ่น 7
+ เอกสารข้อมูลแจกในเวทีหมวด
+ วาระเข้าหมวด
ภาพถ่าย :
1
2
3
4
5
6
7
8
|
|
2551-06-01 เก็บข้อมูลโดยเยาวชน
อาจารย์ราตรี ดวงไชย โรงเรียนไหล่หินวิทยา อาจารย์สุดา แผ่นคำ โรงเรียนบ้านไหล่หิน ร่วมกับ อาจารย์บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ มหาวิทยาลัยโยนก อบรมการเก็บข้อมูลให้กับนักเรียนทั้ง 2 โรงเรียนจำนวน 20 คน เพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลในโครงการวิจัย "รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน
อ.เกาะคา จ.ลำปาง" เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2551 เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการทำประชาคมระดับหมวดบ้าน และเวทีผู้สูงอายุ ในโครงการระยะที่ 2 ต่อไป
สรุปในเบื้องต้นได้ว่าเก็บแบบสอบถามได้ 283 ชุด
เห็นด้วยทั้ง 16 ข้อ 163 ชุดคิดเป็น 57%
ส่วนไม่เห็นด้วยเป็นบางข้อ 120 ชุดคิดเป็น 43%
และไม่มีทั้ง 16 ข้อคิดเป็น 0%
|
|
2551-05-03 ดูงานบ้านนาหมื่น
ดูงานโครงการวิจัย "รูปแบบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ธรรมะของชุมชน"
หัวหน้าโครงการคือ พระปลัด อภินันท์ อภิปุญโญ
ได้นำนักวิจัย 12 คน นักวิจัยร่วม 10 คน และหัวหน้าหมวด 29 คน รวม 51 คน ไปศึกษาดูงานที่อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน ซึ่งทำโครงการวิจัย "รูปแบบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของชุมชน โดยองค์กรสงฆ์และประชาชน อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน" โดยมีวิทยากรหลัก 2 ท่านคือ พระปลัดอภินันท์อภิปุญโญ เป็นหัวหน้าโครงการ และหนานเช (คุณเชติพนธ์ ตาน้อย 0875775672) เป็นนักวิจัย
(บันทึกจากการดูงาน)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
|
2551-04-20 ประชุมทบทวนแผน และเตรียมการระยะที่ 2
มีประเด็นคุยกันมาก เช่น การไปดูงาน อ.นาหมื่น ทบทวนรูปแบบที่ผ่านมา เตรียมเยาวชน และแบบสอบถาม
วางแผนเก็บข้อมูลในงานศพจาก ผู้ร่วม เจ้าภาพ แม่บ้าน และสารวัตร เริ่มเก็บข้อมูลเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องว่าเกิดปีใด โดยใคร อย่างไร
ทบทวนวีดีโอที่จะเข้าระดับหมวด และเผยแพร่วีดีโอใน youtube.com
โดยบันทึกเป็นรายงานแล้ว
1 2 3
ได้ ข้อมูลการมรณะของคนในบ้านไหล่หิน 2533 - 2551 ที่บันทึกโดยพ่อหลวงสนั่น วรรณมณี
.
|
2551-04-12 รับอนุมัติระยะที่ 2 อย่างเป็นทางการเมื่อวาน
ประสานรถทัวร์เพชรจินดา 054-221161 คุณเชตุพลคือผู้ประสานงานบ้านนาหมื่นมีเจ้าอาวาสวัดนาหวายเป็นหัวหน้าโครงการ 08-75775672
ได้ประสานงานเบื้องต้นว่าจะเดินทางไปน่านวันที่ 3 พฤษภาคม 2551 และประกันอุบัติเหตุให้ทุกคน และโครงการระยะที่ 2 ได้รับอนุมัติงบ 88,400 บาท
2551-04-03 ส่ง VCD รุ่นทดสอบ 1 ให้นักวิจัยตรวจสอบ
บันทึกวีดีโอคลิ๊ปของนักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องรวม 14 คน โดยนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นงานศพ
ที่ได้ทำมาตลอด 6 เดือน ซึ่งเป็นระยะที่ 1 ของโครงการ และคาดว่าจะเผยแพร่ VCD นี้ให้กับทุกหลังคาเรือนใน 2 หมู่บ้าน
เพื่อสร้างความเข้าใจ และนำเสนอข้อมูลเข้าไปในระดับครัวเรือน .. หลังตรวจสอบได้ถ่าย อ.สุวรรณ อ.สุดา เพิ่ม และถ่าย อ.ราตรี และแพทย์มนู ใหม่
2551-03-10 รายงานความก้าวหน้าที่ศูนย์ประสานงาน
มีผู้ประสานงานจากศูนย์ต่าง ๆ มาร่วมฟังหลายคน เช่น คุณต๋อง หรือพระสงฆ์จากแจ้ห่ม ก็ได้ข้อเสนอแนะหลายข้อ
เช่น การใช้พระวินัย การนำไปสู่การยอมรับในชุมชน เป็นต้น จากนี้ก็ต้องรอให้การอนุมัติงบประมาณสำหรับระยะที่สองก่อน จึงจะดำเนินการตามแผนที่เสนอไปได้
ระหว่างนี้จึงบันทึกวีดีโอคลิ๊ปของนักวิจัย เพื่อจัดทำ VCD และเผยแพร่ใน youtube.com ต่อไป
+ ติดต่อ รถบัสเพชรจินดา 0-5422-1161 ไปน่าน แบบพัดลม 67 ที่นั่งคิด 13000 บาท ส่วน VIP51 ที่นั่งคิด 17000 บาท
2551-02-11 สรุปโครงการกับศูนย์ประสานงานที่ศาลาหมู่ 2
มีการทบทวนกิจกรรมในระยะที่ 1 และแผนการทำงานในระยะที่ 2 ซึ่งรายงานสรุปโครงการต้องการข้อมูลที่มาจากชุมชน
จึงทบทวนกิจกรรมและขอให้นักวิจัยแบ่งกันไปเขียนในเรื่องที่ตนถนัด เช่น กำนันเขียนประวัติ แพทย์เขียนวันดีวันเสีย แม่บ้านเขียนเรื่องไปดูงาน เป็นต้น
ส่วนเอกสารที่ศูนย์ต้องการ ผมได้รวมเป็น vijai_ph1doc.zip ให้ download ได้ง่ายสำหรับระยะที่ 1 นี้แล้ว
ได้มีแบ่งานกันเขียนรายงานความก้าวหน้า โดย กำนันเขียนประวัติ แพทย์มนูเขียนวันดีวันเสีย แม่บ้านและผู้สูงอายุเขียนเรื่องไปดูงาน ที่สามขากับบ้านดง
ผอ.สุวรรณเขียนเรื่องเปลี่ยนกันสวดเป็นเงิน ประธานทรงศักดิ์เขียนเรื่องพวงหรีด และลุงล้วนประสานงานเรื่องรวมเอกสารส่งให้ศูนย์ประสานงาน
1
2
3
4
5
6
7
8
9
2551-02-09 หารือประเด็นท่องเที่ยวกับสมุนไพร
อ้ายประสงค์ วรรณมณี และอ้ายอุดม เกษณา ซึ่งเป็นนักวิจัยร่วมหารือว่าศึกษาเรื่องสมุนไพรมานาน และเป็นตัวแทนของชุมชนเรื่องสมุนไพร
ต้องการนำความรู้มาพัฒนาชุมชน ว่าถ้าขยายผลไปเป็นการนวดแผนโบราณที่วัด และส่งเสริมการท่องเที่ยวเข้าชุมชน จะช่วยพัฒนาชุมชนได้อีกทางหนึ่ง จึงวางแผนว่าจะไปเสนอโครงการที่ศูนย์ประสานงานหน้าวัดพระแก้ว
ก่อนเข้าไปเสนอ 1 สัปดาห์ได้มีการทบทวนประเด็นกันใหม่ พบว่าอ้ายทั้ง 2 ได้หารือกับผู้นำในหมู่บ้าน ทางอบต. และผู้สูงอายุ ซึ่งทุกฝ่ายให้การตอบรับด้วยดี
จึงสรุปว่าในระยะที่ยังไม่มีคำถามหรือข้อสงสัย ก็ให้ดำเนินการไปตามที่พูดคุยกันในชุมชนไปก่อน ถ้าเมื่อใดต้องการใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา หรือหาคำตอบ ก็สามารถชวนกันแลกเปลี่ยนในชุมชนได้ทันที
2551-01-25 สรุปประเด็นหลังประชาคม
วันนี้ทบทวน สรุป และปรับ 16 ประเด็น เตรียมเข้าระยะที่ 2 ที่ศาลาหมู่ 2
2551-01-27 ศึกษาดูงานการวิจัยที่ประสบความสำเร็จบ้านสามขา และดูงานลดเหล้าบ้านดง
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
2551-01-08 ประชาคม หมู่ 2 และหมู่ 6
เตรียมการ 1 2 3 4
หมู่ 6
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
g1
g2
g3
g4
g5
g6
g7
หมู่ 2
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
g1
g2
g3
g4
g5
g6
g7
จะนัดประชุมวางแผนในระยะที่ 2 เร็ว ๆ นี้หลังร่างสรุปโครงการระยะที่ 1 เสร็จ
มีแผนดูงานวันที่ 27 มค.51 เพราะวันที่ 20 ติดแต่งงานในชุมชน แล้วนัดคุณภัทราทบทวนในพื้นที่
เอกสารหลังการประชุมประชาคมครั้งที่ 2
2550-12-27 สรุปผลการประชุมประชาคมครั้งที่ 1
คุณภัทรา เข้าร่วมทบทวนเหตุการณ์ทั้งหมด และทบทวนประเด็นจากการประชุมประชาคม
มีการปรับแก้เอกสารที่จะนำเข้าประชุม และนัดหมายกันเป็นวันที่ 6,7,8 มกราคม 2551 เพื่อทำประชาคมครั้งที่ 2
โครงการของเรากำหนดแล้วเสร็จ phase 1 สำหรับ 6 เดือนแรก ในเดือนมกราคม 2551 ซึ่งไม่น่ามีปัญหาเรื่องการทำงาน
และผลการประชุมที่สำคัญคือพิจารณาปรับเอกสารเตรียมเข้าประชุมจาก
เอกสารเดิม เป็น
เอกสารใหม่ ให้เหมาะสมขึ้น
ติดต่อดูงาน : รองนายกวิลาวัล บ้านดง 08-9952-8799
พ่อหลวงจำนง บ้านสามขา 08-7978-6279
ป๊อป เจ้าหน้าที่สกว. 08-9192-0846
|
|