1. ชื่อโครงการ : รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
บ้านไหล่หิน ต. ไหล่หิน อ. เกาะคา จ. ลำปาง
2. ผู้เสนอโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยโยนก
จังหวัดลำปาง 52000
บ้านเลขที่ 260/248 ถ. พหลโยธิน ต. สบตุ๋ย อ. เมือง จ. ลำปาง 52100
3. ความเป็นมา
เดิมทีบ้านไหล่หินเป็นหมู่บ้านใหญ่หมู่บ้านหนึ่งในตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ในปี 2546 ได้มีการแบ่งการปกครองหมู่บ้านนี้ออกเป็น 2 หมู่ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหาร คือหมู่ 2 มีประชากรประมาณ 1,100 คน ใน 280 ครัวเรือน และหมู่ 6 มีประชากรประมาณ 650 คนใน 201 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่เป็นไทยพุทธ ที่ศรัทธาในวัดไทย 2 วัด ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันคือ วัดเสลารัตนปัพพะตาราม ( วัดไหล่หินหลวง) และวัดไชยมงคลธรรมว- ราราม ในด้านสถานศึกษามีโรงเรียนบ้านไหล่หินเปิดสอนในระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษา โรงเรียนไหล่หินวิทยาเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมปลาย ทั้งวัด และโรงเรียนตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน
จากการที่ ประธานอบต. คุณทรงศักดิ์ แก้วมูล และอาจารย์สุวรรณ เกษณา แกนนำการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและตัวแทนชุมชนหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 6 ทำประชาคมร่วมกันหลายครั้ง เพื่อทบทวนปัญหาของชุมชนร่วมกันข้อค้นพบจากการทำประชาคมที่น่าสนใจคือประเด็นของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากงานศพ ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเชื่อมโยงจากการตีความ- หมายตามค่านิยม จนกลายเป็นวัฒนธรรมปฏิบัติที่ออกห่างจากความหมายของการสูญเสีย และ
โศกเศร้า ของญาติมิตร แต่ถูกทดแทนด้วยค่านิยมของสังคมที่ชี้วัดจากความหรูหรา ความมีหน้ามีตาของเจ้าภาพ หรือแม้แต่ความหมายในเชิงการช่วยเหลือเกื้อกูลจากเพื่อนบ้านก็เปลี่ยนเป็นการไม่รู้จะทำอะไร ด้วยความสะดวกสบายที่คุ้นเคยจากการซื้อหาได้ง่ายเจ้าภาพจึงยอมจ่ายทั้งที่เคยเป็น
กิจกรรมร่วมของคนในชุมชน อย่างรู้หน้าที่ทั้งกลุ่มพ่อบ้าน กลุ่มแม่บ้าน และกลุ่มหนุ่มสาว
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือค่าใช้จ่ายที่เจ้าภาพต้องแบกรับทั้งที่เต็มใจและไม่เต็มใจ โดยละลายพฤติกรรมสังคมที่เป็นตัวบ่มเพาะชุมชนที่อยู่อย่างเกื้อกูลและพอเพียงให้จางหายไป
บทเรียนที่เกิดขึ้นได้มีความพยายามที่จะมีการจัดการงานศพเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของคนในชุมชน ในปี 2549 เช่น การรณรงค์ไม่ดื่มสุราในงานศพ แต่ยังคงพบเห็นได้ในบริเวณใกล้เคียง ความขัดแย้งของกลุ่มต่อการจัดการด้านอาหารจนเกิดความไม่พอใจ หรือพฤติกรรมที่เอาเปรียบ
เจ้าภาพจนอาหารไม่พอกับจำนวนของแขกในงาน ซึ่งเหล่านี้เป็นผลกระทบโดยตรงที่เกิดขึ้นกับ
เจ้าภาพ ทางชุมชนก็มีมาตรการทางสังคมออกมาเป็นกฎ ระเบียบ ก็สามารถควบคุมในบางกลุ่มคน แต่ก็ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องชวนแก้ไขอยู่ตลอดเวลา หรือแม้แต่การยกเลิกการพิมพ์ซอง แต่ยังต้องมีให้กับแขกนอกหมู่บ้าน แต่เมื่อเทียบกับซองที่ได้กลับคืนมาพบว่าเป็นการเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าจะได้รับจากการช่วยเหลือจากแขกนอกหมู่บ้าน การเปลี่ยนไปใช้เก้าอี้แทนปราสาท แต่ก็ยังเป็นเพียงส่วนน้อย เพราะผู้สูงอายุส่วนหนึ่งได้สั่งเสียลูกหลานครั้งยังมีชีวิตอยู่ให้ใช้ปราสาทหลายชั้น เมื่อสิ้นชีวิตลง โดยใช้พื้นฐานความเชื่อที่ได้จากการบอกต่อกันมา การไม่เผาศพในวันที่เชื่อว่าเป็นวันเสีย เช่น วันอังคาร วันศุกร์ วันพระ วันเสาร์ เป็นต้น ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นจากการเก็บศพไว้หลายวัน ซึ่งองค์ประกอบ หรือปัจจัยดังกล่าวเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับเจ้าภาพ
หากทบทวนรายรับ- รายจ่ายที่เกิดขึ้นในงานศพโดยภาพรวมของ ต. ไหล่หินพบว่า ทางชุมชนมีเงินกองทุนฌาปณกิจศพที่ชุมชนร่วมสร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือเจ้าภาพเทียบกับรายจ่ายดังตาราง
รายรับ |
รายจ่าย |
หมายเหตุ |
รายการ |
บาท |
รายการ |
บาท |
ค่าสมาชิก |
62,000 |
ค่าอาหารวันบำเพ็ญกุศล |
5 , 000 |
5 วัน |
ค่าซองแขก |
5 ,000 |
ค่าอาหารหลังสวดทุกคืน |
2 , 500 |
5 วัน |
|
67,000 |
ค่าเครื่องไทยทานวันบำเพ็ญกุศล (50 * 7 * 5) |
1,750 |
5 วัน |
|
|
ค่าซองปัจจัยพระวันบำเพ็ญกุศล (50 * 7 * 5) |
1,750 |
5 วัน |
|
|
ค่าเครื่องไทยทานวันฌาปนกิจ (200 * 8) |
1,600 |
1 วัน |
|
|
ค่าซองปัจจัยพระวันฌาปนกิจ (300 * 8) |
2,400 |
1 วัน |
|
|
ค่าอาหารวันฌาปนกิจ |
3 0, 000 |
1 วัน |
|
|
ค่าโรงศพ |
2 , 000 |
1 วัน |
|
|
ค่าปราสาท |
8 , 000 |
1 วัน |
|
|
|
55,000 |
|
ม้รายจ่ายโดยเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจะน้อยกว่ารายรับ แต่ทางชุมชนก็ยังตระหนักถึงค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น จากการทบทวนปัญหาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มองเห็นแนวทางการสร้างรูปแบบของการจัดการงานศพที่ยึดหลักของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมี
พระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมี
เหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบ
การวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ให้เกิดขึ้นผ่านกระบวนการเรียนรู้การสร้างรูปแบบการจัดการงานศพ ให้เกิดเป็นรูปธรรมและมีความเป็นไปได้เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายของเจ้าภาพที่เกิดขึ้น ใน 3 ประเด็นคือ การจัดการด้านอาหาร การจัดการด้านปราสาท และโรงศพ และการทบทวน
เกี่ยวกับพิธีกรรม โดยให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ที่เข้าใจปัญหา ร่วมกับกลไกของการออกแบบการจัดเก็บข้อมูลเบื้องต้นของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นใน 3 ประเด็นดังกล่าว ดังตาราง
อาหาร |
ปราสาท และโรงศพ |
พิธีกรรมงานศพ |
ลด / เลิก อาหารว่างหลังสวด |
ปรับเปลี่ยนรูปแบบของปราสาท |
ลดจำนวนวันเก็บศพ |
กำหนดปริมาณเครื่องปรุง |
จัดทำโรงศพให้ยืมใช้ |
เปลี่ยนกันสวดเป็นปัจจัย |
ลดการรั่วไหลของอาหาร |
ต่อโรงศพในหมู่บ้าน |
|
งดเหล้า และน้ำอัดลม |
งดรับพวงหรีด |
|
โดยความร่วมมืออาจารย์มหาวิทยาลัยโยนก ในการหนุนเสริมระบบการจัดเก็บและบันทึกข้อมูลเบื้องต้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการหารูปแบบในการจัดการงานศพอย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นการสร้างกลไกการให้เยาวชนเพื่อเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากข้อมูลผ่าน
หลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านไหล่หิน ในการบ่มเพาะองค์ความรู้เพื่อการพิจารณาเลือกใช้อย่างเหมาะสม
การสร้างรูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไหล่หิน ต . ไหล่หิน อ. เกาะคา จ. ลำปาง เป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างทางออกของปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในงานศพที่สูงขึ้นตามการบริโภคทางวัฒนธรรมที่สวนทางกับกระแสเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและปรับใช้ตามสถานการณ์ผ่านข้อมูลจากการสะท้อนปัญหาในระดับพื้นที่เพื่อให้ได้
ข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้จริงบนพื้นฐานของการเสนอแนวทางที่เหมาะสมจากพื้นที่เป็นหลัก
4. คำถามในการวิจัย
จะทำอย่างไรให้คนในชุมชนสามารถลดค่าใช้จ่ายจากการจัดงานศพ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาบนความสมเหตุสมผล
5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
- เพื่อค้นหารูปแบบ / แนวทางในการจัดการงานศพที่เหมาะสม และเป็นที่ยอมรับร่วมกันในชุมชนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของคน ต. ไหล่หิน
- เพื่อลดค่าใช้จ่ายกลุ่มอาหาร ค่าปราสาท / โรงศพ ลดวันห้ามเผาศพ
- เพื่อให้ชุมชนเข้าใจการแก้ปัญหาร่วมกันจากกระบวนการวิจัย โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงนำชีวิต
6. ขอบเขตของการวิจัย
ระยะที่ 1 และ 2 ชุมชน บ้านไหล่หิน หมู่ 2 และหมู่ 6 ตำบลไหล่หิน อ. เกาะคา จ. ลำปาง
ระยะที่ 3 ชุมชน ตำบลไหล่หิน อ. เกาะคา จ. ลำปาง
7. แผนการดำเนินงาน
ระยะที่ 1 (6 เดือน)
- เวทีทบทวนปัญหา และจัดทำแบบสอบถามรอบแรก
- ประชุมทีมเก็บข้อมูล และฝึกอบรม
- เวทีทบทวนผล และวางแผนจัดเวทีย่อย
- เวทีย่อยชาวบ้าน หมู่ 2 หัวข้อ การจัดการอาหารโดยรวม
- เวทีย่อยชาวบ้าน หมู่ 6 หัวข้อ การจัดการอาหารโดยรวม
- เวทีย่อยชาวบ้าน หมู่ 2 หัวข้อ การจัดการปราสาท และโรงศพ
- เวทีย่อยชาวบ้าน หมู่ 6 หัวข้อ การจัดการปราสาท และโรงศพ
- เวทีย่อยชาวบ้าน หมู่ 2 หัวข้อ การจัดการพิธีกรรม
- เวทีย่อยชาวบ้าน หมู่ 6 หัวข้อ การจัดการพิธีกรรม
- เวทีทบทวนผลทั้ง 3 เรื่อง และจัดทำแบบสอบถามรอบสอง
- ไปศึกษาดูงานการลดเหล้าในงานศพ บ้านดง + สามขา
- เวทีสรุปผลการวิจัย บ้านไหล่หิน
- เข้าร่วมเวทีวิจัยทุกวันที่ 10 ของเดือน
ระยะที่ 2 (6 เดือน)
- ทบทวนบทสรุปที่ได้จากระยะที่ 1
- นำบทสรุป หรือข้อค้นพบ มาทดลองปฏิบัติในบ้านไหล่หินทั้งหมู่ 2 และหมู่ 6
- ทบทวนกระบวนการ และหาแนวทางที่เหมาะสม
- เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามซ้ำ และสรุปผล
- เวทีสรุปผลการวิจัย บ้านไหล่หิน
ระยะที่ 3 (6 เดือน)
- ขยายผลให้ครบพื้นที่ตำบลไหล่หิน อ . เกาะคา จ. ลำปาง
8 . เครื่องมือ
ใช้ทั้งแบบปรนัย และอัตนัย เพื่อนำข้อมูลไปทบทวนในเวทีย่อย ของแต่ละหมู่บ้าน
ใช้หาค่าความถี่จากแบบสอบถาม โดยเยาวชน ตามคำแนะนำของอาจารย์มหาวิทยาลัย
9 . ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน ( นับตั้งแต่อนุมัติโครงการ)
1 0. งบประมาณในการดำเนินงาน
200,000 บาท ( สองแสนบาทถ้วน)
1 1. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- คนในชุมชนมีประสบการณ์ และเข้าใจกระบวนการในการแก้ปัญหาอย่างมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการ
- พบวิธี หรือรูปแบบการจัดการงานศพ ในแบบที่เหมาะสมกับชุมชน
- สามารถลดค่าใช้จ่ายงานศพ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บนความสมเหตุสมผล
- คนในชุมชน และอาจารย์มหาวิทยาลัยเรียนรู้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
1 2. ทีมวิจัยหลัก
ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง บทบาท
- อาจารย์บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยโยนก หัวหน้าโครงการ
- นายทรงศักดิ์ แก้วมูล ประธาน อบต. ไหล่หิน รองหัวหน้าโครงการ
- อาจารย์สุดา แผ่นคำ อาจารย์โรงเรียนบ้านไหล่หิน ฝ่ายการเงินโครงการ
- พระอธิการทอง อนามโย เจ้าอาวาสวัดไหล่หินหลวง นักวิจัย
- นายกิจชนะชัย ปะละ กำนันตำบลไหล่หิน นักวิจัย
- นายเพิ่มศักดิ์ จินะการ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 นักวิจัย
- อาจารย์สุวรรณ เกษณา ผอ. โรงเรียนบ้านไหล่หิน นักวิจัย
- อาจารย์ราตรี ดวงไชย ผช. โรงเรียนไหล่หินวิทยา นักวิจัย
- นายผดุง ตรีราช ประธานผู้สูงอายุ หมู่ 2 นักวิจัย
- นายองอาจ แก้วมูล ประธานผู้สูงอายุ หมู่ 6 นักวิจัย
- นางเบญจพร สุขร่องช้าง ประธานแม่บ้านหมู่ 2 นักวิจัย
- นางกิม ปะละ ประธานแม่บ้านหมู่ 6 นักวิจัย
- นายมนู นิวาโต แพทย์ประจำตำบลไหล่หิน นักวิจัย
- นายประมวล ยอดสาแล สารวัตรกำนัน ต. ไหล่หิน นักวิจัย
แผนการดำเนินงานโครงการ รูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง บ้านไหล่หิน ต . ไหล่หิน อ. เกาะคา จ. ลำปาง
ระยะที่ 1
กิจกรรม |
วัตถุประสงค์ |
กลุ่มเป้าหมาย / สถานที่/ ระยะเวลา |
งบประมาณ |
รายการ |
บาท |
1. เวทีทบทวนปัญหาและจัดทำแบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล |
- เพื่อแจ้งรายละเอียดการดำเนินงานโครงการและออกแบบเค้าโครงการสำรวจข้อมูล |
- ทีมวิจัยจำนวน 14 คน * 100 บาท
- ณ ศาลาประชาคมหมู่ที่ 2
- 9.00 - 12.00 |
- ค่าตอบแทนทีมวิจัย
- ค่าเดินทาง
- ค่าน้ำมัน
|
1,400.00
700.00
300.00 |
2. ประชุมทีมเก็บข้อมูล และฝึกอบรม |
- ประชุมเยาวชนในหมู่บ้าน
- ฝึกอบรบทีมเก็บข้อมูล
- นำข้อมูลไปวิเคราะห์ |
- ทีมวิจัย 14 คน* 100 บาท * 2 วัน
- เยาวชน 30 คน * 50 บาท * 2 วัน
- โรงเรียนไหล่หินวิทยา
- 9.00 - 12.00 |
- ค่าตอบแทนทีมวิจัย
- ค่าอาหาร
- ค่าน้ำมัน
|
2 , 800.00
3 , 000.00
300.00 |
3. เวทีทบทวนผล และวางแผนจัดเวทีย่อย |
- นำผลจากแบบสอบถามเข้าเวที
- วางแผนจัดเวทีย่อยต่อไป |
- ทีมวิจัย 14 คน
- ทีมวิจัยร่วม 10 คน* 50 บาท
- ศาลาประชาคมหมู่ 2
- 9.00 - 12.00
|
- ค่าตอบแทนทีมวิจัย
- ค่าอาหาร
- ค่าน้ำมัน
|
1,400.00
500.00
300.00 |
4. เวทีย่อยชาวบ้าน หมู่ 2 หัวข้อ การจัดการอาหารโดยรวม |
- ชี้แจงหลักการ และเหตุผล
- ทบทวนปัญหาร่วมกับชาวบ้าน
- เก็บข้อมูล และข้อเสนอแนะจากเวที |
- ทีมวิจัย 14 คน
- ชาวบ้านรวม 100 คน*50 บาท
- ศาลาประชาคมหมู่ 2
- 9.00 - 12.00
|
- ค่าตอบแทนทีมวิจัย
- ค่าอาหาร
- ค่าน้ำมัน
|
1,400.00
5,000.00
300.00
|
5. เวทีย่อยชาวบ้าน หมู่ 6 หัวข้อ การจัดการอาหารโดยรวม |
- ชี้แจงหลักการ และเหตุผล
- ทบทวนปัญหาร่วมกับชาวบ้าน
- เก็บข้อมูล และข้อเสนอแนะจากเวที
|
- ทีมวิจัย 14 คน*100 บาท
- ชาวบ้านรวม 100 คน*50 บาท
- ศาลาประชาคมหมู่ 6
- 9.00 - 12.00 |
- ค่าตอบแทนทีมวิจัย
- ค่าอาหาร
- ค่าน้ำมัน
|
1,400.00
5,000.00
300.00
|
6. เวทีย่อยชาวบ้าน หมู่ 2 หัวข้อ การจัดการปราสาท และโรงศพ |
- ชี้แจงหลักการ และเหตุผล
- ทบทวนปัญหาร่วมกับชาวบ้าน
- เก็บข้อมูล และข้อเสนอแนะจากเวที |
- ทีมวิจัย 14 คน*100 บาท
- ชาวบ้านรวม 100 คน*50 บาท
- ศาลาประชาคมหมู่ 2
- 9.00 - 12.00 |
- ค่าตอบแทนทีมวิจัย
- ค่าอาหาร
- ค่าน้ำมัน
|
1,400.00
5,000.00
300.00 |
7. เวทีย่อยชาวบ้าน หมู่ 6 หัวข้อ การจัดการปราสาท และโรงศพ |
- ชี้แจงหลักการ และเหตุผล
- ทบทวนปัญหาร่วมกับชาวบ้าน
- เก็บข้อมูล และข้อเสนอแนะจากเวที |
- ทีมวิจัย 14 คน*100 บาท
- ชาวบ้านรวม 100 คน*50 บาท
- ศาลาประชาคมหมู่ 6
- 9.00 - 12.00
|
- ค่าตอบแทนทีมวิจัย
- ค่าอาหาร
- ค่าน้ำมัน
|
1,400.00
5,000.00
300.00 |
8. เวทีย่อยชาวบ้าน หมู่ 2 หัวข้อ การจัดการพิธีกรรม |
- ชี้แจงหลักการ และเหตุผล
- ทบทวนปัญหาร่วมกับชาวบ้าน
- เก็บข้อมูล และข้อเสนอแนะจากเวที |
- ทีมวิจัย 14 คน*100 บาท
- ชาวบ้านรวม 100 คน*50 บาท
- ศาลาประชาคมหมู่ 2
- 9.00 - 12.00 |
- ค่าตอบแทนทีมวิจัย
- ค่าอาหาร
- ค่าน้ำมัน
|
1,400.00
5,000.00
300.00 |
9. เวทีย่อยชาวบ้าน หมู่ 6 หัวข้อ การจัดการพิธีกรรม |
- ชี้แจงหลักการ และเหตุผล
- ทบทวนปัญหาร่วมกับชาวบ้าน
- เก็บข้อมูล และข้อเสนอแนะจากเวที |
- ทีมวิจัย 14 คน*100 บาท
- ชาวบ้านรวม 100 คน*50 บาท
- ศาลาประชาคมหมู่ 6
- 9.00 - 12.00 |
- ค่าตอบแทนทีมวิจัย
- ค่าอาหาร
- ค่าน้ำมัน
|
1,400.00
5,000.00
300.00 |
10. เวทีทบทวนผลทั้ง 3 เรื่อง และจัดทำแบบสอบถามรอบสอง |
- ชี้แจงหลักการ และเหตุผล
- ทบทวนปัญหาร่วมกับชาวบ้าน
- เก็บข้อมูล และข้อเสนอแนะจากเวที |
- ทีมวิจัย 14 คน*100 บาท
- ตัวแทนหมู่ 2 / หมู่ 6 (30 คน*50)
- ศาลาประชาคมหมู่ 2
- 9.00 - 12.00 |
- ค่าตอบแทนทีมวิจัย
- ค่าอาหาร
- ค่าน้ำมัน
|
1,400.00
1,500.00
300.00 |
11. ไปศึกษาดูงานการลดเหล้าในงานศพ บ้านดง + สามขา |
- ไปศึกษาดูงานร่วมกับทีมวิจัยร่วม |
- ทีมวิจัย 14 คน*100 บาท
- ทีมวิจัยร่วม 10 คน*50 บาท
- บ้านดง และบ้านสามขา
- 9.00 - 16.00
|
- ค่าตอบแทนทีมวิจัย
- ค่าอาหาร
- ค่าน้ำมันรถตู้
- ค่าเช่ารถตู้ 2 คัน
|
1,400.00
500.00
2,00 0.00
3 , 000.00 |
12. เวทีสรุปผลการวิจัย บ้านไหล่หิน |
- สรุปผลให้กับชุมชนทราบ |
- ทีมวิจัย 14 คน*100 บาท
- ชาวบ้านรวม 150 คน * 50 บาท
- ศาลาประชาคมหมู่ 2
- 9.00 - 12.00 |
- ค่าตอบแทนทีมวิจัย
- ค่าอาหาร
- ค่าน้ำมัน
|
1,400.00
7,500.00
300.00 |
|
- ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการ |
- ทีมวิจัย 3 คน*100 บาท * 6 เดือน
- ค่าน้ำมันไปทุกวันที่ 10 300 * 6
- 9.00-16.00 |
- ค่าตอบแทนทีมวิจัย
- ค่าน้ำมัน
|
1 ,800.00
1,800.00 |
|
|
|
|
73 , 800 |