ลีนุกซ์ (Linux) : superuser |
ปรับปรุง : 2566-02-17 (ปรับรุ่นเป็น 9.0) |
|
หน้าหลัก | ลีนุกซ์คืออะไร | แนะนำหนังสือ | superuser | บันทึกปัญหา | |
0998 |
9.98 ขั้นตอนการทำ server ตัวนี้
: เพื่อให้ท่านหรือทีมงาน สามารถ setup server แบบนี้ได้ง่ายขึ้น จึงเขียนขึ้นตอนไว้ดังนี้ บริการ เพื่อกรณีศึกษา โดยมือสมัครเล่น ขอแนะนำว่าถ้ายังไม่รู้อะไรเลย ให้ไปหาหนังสือสำหรับลง Linux มากอดให้อุ่นใจสักเล่มหนึ่ง เพราะเชื่อแน่ว่า ถ้าอ่านวิธีการติดตั้งที่ผมเขียน โดยไม่มีประสบการณ์ linux มาก่อน .. จะต้องบ่นว่าผมเขียนไม่รู้เรื่อง เนื่องจากเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่เฉพาะ น้อยคนจริง ๆ ที่จะชำนาญ ผมเองก็พยายามศึกษาอยู่ ก็ได้แค่พอเป็นเท่านั้น (แต่นี่ผมก็พยายามเขียนให้ผมเข้าใจง่ายที่สุดแล้วนะครับ)
- Backup ข้อมูลที่สำคัญในเครื่องที่คิดจะติดตั้ง linux ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน - ถ้ามีเครื่องใหม่ และลง linux อย่างเดียวก็หาแผ่น linux มาลงได้เลย .. เพราะเสียแล้วไม่เป็นไร - ถ้ามี windows อยู่ต้องการลงทั้ง 2 ระบบให้ไปหา partition magic มาแบ่ง partition - แบ่งว่าจะใช้ Windows กี่ GB แต่ linux จะใช้ไม่น้อยกว่า 1 GB โดยปกติ - นั่งคิดให้ดีกว่าจะลง linux ไปทำไม เช่น ศึกษาเป็น work station หรือ เป็น server เป็นต้น - ไปหาโปรแกรม linux ซึ่งผมแนะนำว่าเป็น Redhat เพราะมีคนใช้กันมากที่สุดในโลก ขั้นตอนที่ 2 : ติดตั้ง - ถ้ามี windows อยู่ให้ใช้ partition magic แบ่ง partition ให้เรียบร้อย - ใช้แผ่น CD Boot แล้ว Enter เขาก็จะถามติดตั้งเลย ถ้า VGA card เป็นที่ยอมรับของ linux ก็จะได้เห็นจอสวย - ถ้าไม่มีสนับสนุนก็ต้องเล่น text mode ไปครับ คนที่ผมรู้จักหลายคน หรือแม้แต่เครื่องที่ผมใช้ ยังใช้ text mode เลย - เมื่อเข้าไปต้องแบ่งอย่างน้อย 2 partition คือ linux partiton และ linux swap - Install ตามขั้นตอน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง (เหมือน windows นั่นหละครับ) - ถ้าโชคดี หลังติดตั้งเสร็จก็จะขึ้นคำว่า Login: มารอให้ป้อนรหัสเข้าสู่ระบบ - มีปัญหาการติดตั้งให้ถามที่ http://linux.thai.net เพราะทีมงานไม่ได้ชำนาญในการแก้ปัญหาทุกกรณี (ประสบการณ์น้อยมาก) ขั้นตอนที่ 3 : ใช้งาน linux เบื้องต้น (Server) - หัดใช้คำสั่งใน linux ที่ใช้กันบ่อย ๆ ซึ่งผมแนะนำในบทที่ 1 หัดเป็นผู้ใช้ - เมื่อใช้เป็นแล้ว ลอง telnet เข้าไปใช้ server ที่อื่นดูครับ .. สั่งสมประสบการณ์ - สู่บทที่ 2 แต่ต้องทำที่เครื่องตนเองนะครับ เช่น useradd usermod หัดใช้คำสั่งระดับสูงดูครับ - ซอกซอนเข้าไปดูระบบ และคำสั่งต่าง ๆ ยิ่งใช้เวลามาก ยิ่งซึมซับ .. ผมเองยังไม่มีเวลาเลย - วิธีการ config ระบบ ดูทุกแฟ้มที่นามสกุล .conf จะเข้าใจการทำงานของ linux มากขึ้น ขั้นตอนที่ 4 : ใช้ประโยชน์ Server ก่อนจะ upgrade server - หัดใช้ mail แบบต่าง ๆ ที่ Server ให้บริการ เช่น pop, imap, pine เป็นต้น - หัดเขียน Shell script เพราะจะทำให้โอกาสหน้า สามารถแก้ปัญหาระบบได้หลายเรื่อง - หัดเขียนทำเว็บในเครื่องตนเองด้วย html อย่างง่าย - หัดเขียน CGI เพื่อทำให้เว็บที่พัฒนาขึ้นมา เป็นยอดเว็บ เช่น yahoo, hypermart, pantip เป็นต้น ขั้นตอนที่ 5 : Install application - เนื่องจาก server ที่ติดตั้งไป มีบริการที่เป็นมาตรฐาน หากต้องการความสามารถใหม่ ต้องลงโปรแกรมเพิ่ม - บริการ Webbased mail อย่างง่าย (หัวข้อ 9.71) - บริการ proxy หรือ cache server (หัวข้อ 9.72) - บริการ incoming ใน ftp (หัวข้อ 9.73) - บริการ Apache + php + Mysql (หัวข้อ 9.74) - บริการ SSI (หัวข้อ 9.75) - บริการ Radius (หัวข้อ 9.76 เหมือนเปิดบริการเทียบ ISP เลยครับ) - บริการ Modem (หัวข้อ 9.77 เหมือนเปิดบริการเทียบ ISP เลยครับ) ขั้นตอนที่ 6 : ความปลอดภัย (Security) - หลายคนบอกว่า ความปลอดภัยเป็นเรื่องแรก แต่ผมว่า server ยัง up ไม่ขึ้น ความปลอดภัยอย่างพึ่งสนเลยครับ - การเป็น System Admin ที่ดี ผมว่าต้องเป็น Hacker ที่ดีด้วย ถึงจะไปด้วยกันได้ (ถ้าไม่รู้ว่า server รั่วอย่างไร จะปิดได้ไง) - อ่านหน่อยครับว่า ถูก hack อย่างไร จะได้เป็นบทเรียน (หัวข้อ 9.51) - อ่านหน่อยครับว่า ปกป้องตัวเองอย่างไร จะได้เป็นบทเรียน (หัวข้อ 9.52) - ป้องกัน hacker มือสมัครเล่นด้วย Restricted shell (หัวข้อ 9.52) - ปิดบริการด้วย TCP wrapper (หัวข้อ 9.54) ขั้นตอนที่ 7 : เรื่องเฉพาะที่ควรทราบ - ทำให้เครื่องเป็น DNS server (ยังไม่ได้เขียนเป็นจริงจัง) - บริการ Dedicate server (ยังไม่ได้เขียนเป็นจริงจัง) - ทำให้เครื่องมีหลาย IP ในกรณีที่ server ตัวหนึ่งล่ม จะได้ย้ายได้ใน 1 นาที (หัวข้อ 9.10) - Backup ระบบ (หัวข้อ 9.96) แต่ยังไม่ update - ใช้ php เขียนโปรแกรมบริการ mail แข่งกับ hotmail.com (ยังหาเวลาศึกษาไม่ได้) - เปิด free hosting (กำลังพยายาม เพราะระบบยังไม่แข็งพอสู้กับ hacker มืออาชีพ ก็เปิดไม่ได้)
| |
--- |
"ไม่เริ่มต้นในวันนี้ จะไม่มีทางสำเร็จในวันพรุ่ง" โดย โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ |