thaiall logomy background ระบบ และตัวแบบ
my town
ระบบ และตัวแบบ

ระบบ และตัวแบบ

ระบบ คือ การดำเนินอย่างมีลำดับขั้นตอนและเป้าหมาย โมเดล คือ ต้นแบบงานที่มีความเป็นระบบ องค์การที่ประสบความสำเร็จมักมีโมเดลการทำงานให้องค์การอื่นนำไปปรับใช้ได้
3. ระบบและตัวแบบ
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เข้าใจความหมายของระบบ
- เพื่อให้เข้าใจตัวแบบขององค์การ
ประเด็นที่น่าสนใจ
playlist 49 clips : MIS 2555
playlist เฉลย office 150 ข้อ
term.csv
บทความ : บริหารธุรกิจ
System & Model
ระบบคือขั้นตอน โมเดลคือต้นแบบงาน องค์การที่ประสบความสำเร็จมักมีโมเดลการทำงานให้องค์การอื่นเลียนแบบ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
ทุกองค์การต้องมีระบบ หรือโมเดลการทำงานที่ทุกคนเข้าใจตรงกัน เพื่อที่จะ ได้ร่วมกันขับเคลื่อนยกระดับกิจการขององค์การอย่างมีทิศทาง ถ้าระบบชัด ภาพเป้าหมายชัด ย่อมส่งเสริมให้ดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน ทำให้องค์การมีโอกาสประสบความสำเร็จ การองค์การมีโมเดลต้นแบบที่เป็นมาตราฐาน ย่อมทำให้ทุกคนมีภาพเป้าหมายความสำเร็จที่กระจ่างชัด
ความหมาย ระบบ (System) หมายถึง ชุด(Set) ของส่วนประกอบ(Element) ที่มีลักษณะสัมพันธ์กัน โดยดำเนินงานร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้
ระบบ (System) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ (Objective) ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output)
ระบบ (System) หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฎให้ทราบโดยทั่วกัน ไม่ว่าจะในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ (คู่มือการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา ทั้งปี 2553 และ 2557 ของ สกอ. ในบทนิยมศัพท์)
ระบบสารสนเทศ (Information System) ประกอบด้วย การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Processing) และผลลัพธ์ (Output) [1]
กลไก (Mechanism) หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัดองค์การ หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลให้เป็นผู้ดำเนินงาน เช่น การแต่งตั้งผู้รับผิดชอบมาดำเนินการ ควบคุมกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนงาน โดยมีรายงานการประชุมคณะทำงาน รายงานผลการดำเนินการ การประเมินระบบ และสรุปผลการดำเนินงานตามระบบที่กำหนดไว้
ผังงาน (Flowchart) หมายถึง รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า
ตัวแบบ (Model) หมายถึง แบบจำลองที่ผ่านการทดสอบโดยทฤษฎี เพื่อสร้างความเข้าใจที่ง่ายขึ้น ในเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบาย กรอบแนวคิด ขอบเขตที่ยอมรับร่วมกัน ขั้นตอน กระบวนการ วิเคราะห์ประเด็นปัญหา ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบ 1. สภาพแวดล้อม (Environment)
2. ระบบ (System)
3. ส่วนประกอบของระบบ (System Elements)
ประเภทของระบบ (Types of System)
mindmap
ระบบปิด (Close System)
คือ มุ่งภายใน ไม่มีการรับ หรือส่งข้อมูลออกภายนอก
ระบบเปิด (Open System)
คือ เปิดให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับภายนอก
คุณลักษณะที่สําคัญของระบบ 1. ระบบต้องมีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ
2. ระบบต้องมีการวัดค่าที่สอดคล้องกับการทำงานจริง
3. ระบบต้องเปรียบเทียบการทำงาจริงนกับระบบมาตรฐานที่สร้างขึ้น
4. ระบบต้องมีผลย้อนกลับหลังใช้ระบบแล้ว
ประเภทของตัวแบบ (Types of Models) ตามรูปร่าง
- ตัวแบบกราฟฟิก (Graphical Models)
เช่น Infographic, Organization Chart หรือ Data Flow Diagram หรือ E-R Diagram หรือ Framework
- ตัวแบบคณิตศาสตร์ หรือสมการ (Mathematical Models)
เช่น e=mc2
- ตัวแบบการเล่าเรื่อง (Narrative Models)
เช่น การบรรยาย เพื่อสร้างความเข้าใจด้วยการอ่าน
- ตัวแบบกายภาพ (Physical Models)
เช่น สิ่งที่จับต้องได้
ลงานตีพิมพ์ของ ไอน์สไตน์ ในปีค.ศ. 1905 เป็นหนึ่งในสมการที่โด่งดังมากที่สุดของโลก ใช้แทนความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับสสาร โดย E คือ พลังงานของวัตถุตอนหยุดนิ่ง, m คือ มวลของวัตถุ, และ c คือ ความเร็วแสงในสุญญากาศ เช่น พลังงานนิวเคลียร์ ที่ใช้หลักการนี้ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ทำให้เกิดการฟิชชัน เกิดการแตกตัวของอะตอม และปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมา
ประเภทตัวแบบ ตามการใช้งาน - ตัวแบบทั่วไป (General Models) คือ ตัวแบบที่นำไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง
- ตัวแบบเฉพาะเจาะจง (Specific Models) คือ ตัวแบบที่สร้างขึ้นเพื่องานเฉพาะอย่าง
กระบวนการสร้างตัวต้นแบบ - ศึกษาความต้องการ
- พัฒนาตัวต้นแบบ
- ทบทวนตัวต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไขตัวต้นแบบ
ตัวแบบขององค์การ (Models of Organization)
ตัวแบบทั่วไปขององค์การ และสภาพแวดล้อมภายนอกขององค์การ
(A general model of the organizations and its external environment)
ตัวแบบการวางกลยุทธ์ หรือยุทธศาสตร์
(Strategic-planning models)
- วิสัยทัศน์ พันธกิจ (Vision & Mission)
- โครงร่างของบริษัท (Framework)
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (SWOT)
- การวิเคราะห์กลยุทธ์ และทางเลือกของกลยุทธ์ (Alternative Strategic)
- วัตถุประสงค์ (Objective)
- นโยบาย (Policy)
- แผนกลยุทธ์ (Strategic Plan)
- แผนปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ (Action Plan)
โมเดลทางธุรกิจ
1. Business Idea : ประเมินตนเอง ความรู้ ความถนัด ความชอบ
2. Business concept : ปัญหา ความต้องการ สิ่งที่อยากทำ
3. Business model : ทุน ทรัพยากร ความสัมพันธ์ ช่องทาง กิจกรรม เครือข่าย ต้นทุน รายได้
4. Business plan : การจัดทำแผนลงทุน
5. Ready to startup : 5W1H
6. management and network : พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยของความสำเร็จที่สำคัญ
1. การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง
2. การจัดการสินค้าคงคลังที่ดี
3. การจัดซื้อ การผลิต และจำหน่ายที่รัดกุม
4. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
5. การยึดครองตลาด
6. การเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน
7. การรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility)
8. การขยายช่องทางการจัดจำหน่าย
9. การยกระดับมาตรฐานการบริการลูกค้า
10. การควบคุมด้านการจัดการ
ขอบเขตการนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์เพื่อการแข่งขัน - การบริการลูกค้า (Customer Service)
- การจัดการด้านการเงิน (Finance Management)
- การปรับปรุงและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ (Product Development)
- การตลาดทางตรง (Direct Marketing)
- การเพิ่มประสิทธิภาพการขาย (Increase Sale Performance)
ตัวอย่างระบบ และตัวแบบ
ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (workflow) ของ infoma

Catalog
2019
2017
2015
2010
ะบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (workflow) ของ infoma คือ ระบบรับ-ส่งเอกสารภายในหน่วยงาน ที่มีการกำหนดระดับการเข้าถึงเอกสารที่รับส่งได้ในหลายระดับ ทั้งปกติ ลับ หรือลับมาก มีระดับความด่วนทั้ง ด่วน ด่วนมาก ด่วนที่สุด สามารถค้นเอกสารในระบบ ซึ่งรองรับเอกสารเข้า เอกสารออก เอกสารที่รับส่งในหน่วยงานของตนเอง ระหว่างหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอก เป็นระบบที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย
มีระบบนี้ มีการใช้งานในองค์กรต่าง ๆ มากมาย อาทิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานพาณิชย์จังหวัด กระทรวงวัฒนธรรม และมทร.ล้านนา พบตัวอย่างการใช้งานในคู่มือการอบรมสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่เข้าใจได้ง่าย แล้วพบ โครงการจ้างเหมาบริหารจัดการระบบสารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของ กระทรวงวัฒนธรรม ที่ใช้งบประมาณต่าง ๆ เช่น หน้า 12 หัวข้อ 2.4 สำหรับ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์กระทรวงวัฒนธรรม (Infoma) จํานวน 1 ระบบ x 500K
ข้อมูลเพิ่มเติม
rmult.ac.th
diw.go.th
redcross.or.th
ระบบสารสนเทศในสถานศึกษา ระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ประกอบด้วย
1. ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา (School Information System)
เพื่อควบคุมระบบประกันคุณภาพภายใน และภายนอกที่สะท้อนคุณภาพการศึกษา
2. ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน (Student Information System)
เพื่อควบคุมระบบสารสนเทศนักเรียน เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3. ระบบสารสนเทศการบริหารวิชาการ (Academic Information System)
เพื่อความคุมกำกับการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมาย
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (Management Information System)
เพื่อการจัดการข้อมูลในภาพรวม สนับสนุนการดำเนินงานทุกระบบ 5. ระบบสารสนเทศเพื่อการรายงาน (Report Information System)
เพื่อการรายงานผลงานของโรงเรียนในทุกด้านสู่สังคม
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา 2554
การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษา 2554
การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษา 2553
ระบบบริหารสถานศึกษา on Cloud บชัวร์มาใหม่ พร้อมกับ โฉมใหม่ SISA Smart Mobile Application v.2.0 กับ 11 Features "ง่าย สะดวก เพียงปลายนิ้วสัมผัส" ที่เชื่อมโยงผู้ใช้งานทุกคนเข้าด้วยกัน #SISASmart ระบบบริหารสถานศึกษา on Cloud #ระบบทะเบียนวัดผล #ระบบตารางเรียนตารางสอน #ระบบการเงิน #ระบบดูแลช่วยเหลือ
​รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่​ https://www.csn-advance.com
ระบบสารสนเทศในสถานศึกษา ภารกิจการบริหารและจัดการศึกษา (กศน.) มี 3 กลุ่มงาน
1. กลุ่มอำนวยการ
มีขอบข่ายของงานจำนวน 11 งาน
1. งานธุรการ, สารบรรณ
2. งานบุคลากร, สวัสดิการ
3. งานอาคารสถานที่ และยานพาหนะ
4. งานการเงิน, บัญชี
5. งานพัสดุ
6. งานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
7. งานแผนงานและโครงการ
8. งานข้อมูลสารสนเทศ
9. งานประชาสัมพันธ์
10. งานเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษา
11. งานนิเทศติดตามและประเมินผล
2. กลุ่มการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
มีขอบข่ายของงานจำนวน 9 งาน
3. กลุ่มภาคีเครือข่ายและกิจการพิเศษ
มีขอบข่ายของงานจำนวน 3 งาน
การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในของสถานศึกษา กศน. 2558
ภาระหน้าที่การบริหารงานในโรงเรียน ภาระหน้าที่การบริหารงานในโรงเรียน 4 ด้าน รวม 80 ภาระหน้าที่
1. ด้านวิชาการ มี 17 ภาระหน้าที่
2. ด้านงบประมาณ มี 22 ภาระหน้าที่
3. ด้านการบริหารงานบุคคล มี 20 ภาระหน้าที่
4. ด้านการบริหารทั่วไป มี 21 ภาระหน้าที่
ภาระหน้าที่การบริหารงานในโรงเรียน 4 ด้าน
1. ด้านการบริหารงานวิชาการ มีภาระหน้าที่ 17 อย่าง
1.1 การพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น
1.2 การวางแผนงานด้านวิชาการ
1.3 การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา
1.4 การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา
1.5 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
1.6 การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน
1.7 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา
1.8 การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้
1.9 การนิเทศการศึกษา
1.10 การแนะแนว
1.11 การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา
1.12 การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ
1.13 การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น
1.14 การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานสถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา
1.15 การจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา
1.16 การคัดเลือกหนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา
1.17 การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
2. ด้านการบริหารงานงประมาณ มีภาระหน้าที่ 22 อย่าง
2.1 การจัดทำแผนงบประมาณและคำขอตั้งงบประมาณเพื่อเสนอต่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วแต่กรณี
2.2 การจัดทำแผนปฏิบัติการใช้จ่ายเงินตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยตรง
2.3 การอนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
2.4 การขอโอนและการขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณ
2.5 การรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ
2.6 การตรวจสอบติดตามและรายงานการใช้งบประมาณ
2.7 การตรวจสอบติดตามและรายงานการใช้ผลผลิตจากงบประมาณ
2.8 การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
2.9 การปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายเกี่ยวกับกองทุนเพื่อการศึกษา
2.10 การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา
2.11 การวางแผนพัสดุ
2.12 การกำหนดรูปแบบรายการ หรือคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้างที่ใช้เงินงบประมาณเพื่อเสนอต่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการหรือเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้วแต่กรณี
2.13 การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการจัดทำและจัดหาพัสดุ
2.14 การจัดหาพัสดุ
2.15 การควบคุมดูแล บำรุงรักษาและจำหน่ายพัสดุ
2.16 การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน
2.17 การเบิกเงินจากคลัง
2.18 การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจ่ายเงิน
2.19 การนำเงินส่งคลัง
2.20 การจัดทำบัญชีการเงิน
2.21 การจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงิน
2.22 การจัดทำหรือจัดหาแบบพิมพ์บัญชี ทะเบียน และรายงาน
3. ด้านการบริหารงานบุคคล มีภาระหน้าที่ 20 อย่าง
3.1 การวางแผนอัตรากำลัง
3.2 การจัดสรรอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.3 การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง
3.4 การเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้น การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.5 การดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน
3.6 การลาทุกประเภท
3.7 การประเมินผลการปฏิบัติงาน
3.8 การดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ
3.9 การสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
3.10 การรายงานการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ
3.11 การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
3.12 การออกจากราชการ
3.13 การจัดระบบและการจัดทำทะเบียนประวัติ
3.14 การจัดทำบัญชีรายชื่อและให้ความเห็นเกี่ยวกับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
3.15 การส่งเสริมการประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.16 การส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติ
3.17 การส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ
3.18 การส่งเสริมวินัย คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.19 การริเริ่มส่งเสริมการขอรับใบอนุญาต
3.20 การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา การดำเนินการที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
4. ด้านการบริหารงานทั่วไป มีภาระหน้าที่ 21 อย่าง
4.1 การพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ
4.2 การประสานงานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา
4.3 การวางแผนการบริหารงานการศึกษา
4.4 งานวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและแผน
4.5 การจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร
4.6 การพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน
4.7 งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
4.8 การดำเนินงานธุรการ
4.9 การดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
4.10 การจัดทำสัมมะโนผู้เรียน
4.11 การรับนักเรียน
4.12 การเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการจัดตั้ง ยุบ รวมหรือเลิกสถานศึกษา
4.13 การประสานการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย
4.14 การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
4.15 การทัศนศึกษา
4.16 งานกิจการนักเรียน
4.17 การประชาสัมพันธ์งานการศึกษา
4.18 การส่งเสริม สนับสนุนและประสานการจัดการศึกษาของบุคคล ชุมชน องค์กร หน่วยงานและสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา
4.19 งานประสานราชการกับส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น (ท) การรายงานผลการปฏิบัติงาน
4.20 การจัดระบบการควบคุมภายในหน่วยงาน
4.21 แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลงโทษนักเรียน
แผนภาพขั้นตอน : กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ขั้นตอนการขอรับทุนโครงการ/กิจกรรม เพื่อการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มี 10 ขั้นตอน ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดตามคู่มือผู้รับทุน ที่มีเนื้อหา 125 หน้า
องทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 มาตรา 23 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และยุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ผ่านมากองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เปิดโอกาสให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และบุคคลทั่วไป ยื่นขอรับการส่งเสริมสนับสนุนให้ความช่วยเหลือ และอุดหนุนการวิจัยและพัฒนาในการดำเนินการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยหลักเกณฑ์การยื่นข้อเสนอโครงการต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อผู้มีสิทธิขอรับทุนได้ยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการจัดสรรเงินจาก กองทุนตามระยะเวลาที่กำหนด โครงการที่ยื่นขอรับการจัดสรรทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณากลั่นกรองตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์ของกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
คู่มือผู้รับทุน
แผนปฏิบัติการระยะยาว (พ.ศ. 2564 – 2566) และแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
อำเภอต้นแบบ หรือ ตำบลต้นแบบ อำเภอต้นแบบ (Amphoe model) คือ ผลการพัฒนาอำเภอ จนได้รูปแบบที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ เป็นชุดผลงานที่สะท้อนผ่าน เรื่องราวเชิงรูปธรรม สินค้า บริการ รูปภาพ คลิปวิดีโอ และเรื่องเล่า
ารได้โมเดลหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ จำเป็นต้องมีผู้เกี่ยวข้องมาพูดคุย แลกเปลี่ยนเป็นสังคมที่ถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วยเหลือเกื้อกูล ส่งเสริมสนับสนุน กดไลก์ กดแชร์ แสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ ให้กำลังใจกันและกัน ส่งผลให้ได้โมเดลต้นแบบที่เข้มแข็ง และเป็นนวัตกรรม ที่ผู้สนใจสามารถเรียนรู้ และนำไปต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มได้
ขั้นตอนสร้างต้นแบบ (Step to create the model)
1. เลือกพื้นที่ (Area)
2. เลือกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Team)
3. วางแผนกิจกรรม (Plan)
4. ปฏิบัติการ (Action)
5. นำเสนอผลงาน (Presentation)
6. ประชุมสรุป (Conclusion)
7. ติดตามผล และพัฒนา (Feedback)
คลังนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
อำเภอต้นแบบ หรือ โมเดลอำเภอ
หนึ่งภาพอาจสื่อความหมายได้ดีกว่าคำนับพัน
อัลบั้ม - 01-06 : 07-12 : 13-19 : 49 คลิ๊ป
เอกสารอ้างอิง เอกสารอ้างอิง
[1] เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย และศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล, "ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2549.
[2] ประสงค์ ปราณีตพลกรัง และคณะ, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และกรณีศึกษา", บริษัท ธนรัชการพิมพ์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2543.
[3] พนิดา พานิชกุล, "จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ", บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[4] ศ.ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฎ์ และคณะ, "การจัดการเชิงกลยุทธ์", บริษัท อักษรเงินดี จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[5] ผศ.ดร.พรรณี สวนเพลง, "ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2555.
[6] ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และ ผศ.ดร.ไพบูลย์ เกียรติโกมล, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2545.
[7] ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, "3901-2119 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ", วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่, สงขลา.
Thaiall.com