ใช้อินเทอร์เน็ตแก้วิกฤตด้านภาษา
 
# 7 ใช้อินเทอร์เน็ตแก้วิกฤตด้านภาษา
# 7 ใช้อินเทอร์เน็ตแก้วิกฤตด้านภาษา

    เป็นที่ทราบกันดีว่าภาษาอังกฤษของคนไทยอ่อนกว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ แม้หลายโรงเรียนจะบรรจุหลักสูตรภาษาอังกฤษให้กับนักเรียน ตั้งแต่ก่อนประถม แต่การเรียนตลอด 10 กว่าปีก็มิได้รับประกันว่าภาษาอังกฤษจะดี ตามระยะเวลาที่เรียนในชั้นเรียน นักเรียนไทยมากมายจึงมีความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบงู งู ปลา ปลา (Snake Snake Fish Fish) ซึ่งผู้ใหญ่ในแวดวงการศึกษาทราบปัญหานี้ และกำลังแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ดังภาษิตโบราณท่านว่า กรุงเทพฯ ไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว

    ข้อมูลมากมายที่มีประโยชน์ สามารถสืบค้นได้จากอินเทอร์เน็ต และส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ เพราะคนทั้งโลกยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล แต่มีสถาบันการศึกษาในไทยเพียงไม่กี่แห่งที่ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มที่ เพราะมีอาจารย์ชาวต่างชาติมากกว่าครึ่ง ใช้ตำราภาษาอังกฤษ และการเรียนการสอนในชั้นเรียนเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้สถาบันการศึกษาทุกระดับพยายามสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ มีโครงการความร่วมมือ เช่น โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา หรือแลกเปลี่ยนอาจารย์ เป็นต้น เพื่อส่งเสริมภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาที่สอง (ESL = English Second Language) และยกระดับการศึกษาของคนไทยให้ทัดเทียมนานาประเทศ

    เดิมทีผู้เขียนไม่สนใจการตัดต่อภาพยนต์ (Movie Maker) หรือตกแต่งภาพ (Retouch) มากนัก เพราะเป็นงานศิลปะที่ต้องอาศัยจินตนาการ และถือเป็นงานทางนิเทศศาสตร์ แต่ที่สถาบันมีโครงการความร่วมมือ แลกเปลี่ยนอาจารย์กับมหาวิทยาลัย FH-Wiesbaden ของประเทศเยอรมัน ทำให้มีโอกาสเรียนด้านกราฟฟิก (Graphic) และอีกหลาย ๆ เรื่องกับ Prof. Hans-Georg Bramer เป็นระยะเวลา 2 เดือน ทำให้คณะของเราเข้าใจวัฒนธรรมของเขา พัฒนาภาษาอังกฤษของเรา และมีความรู้ในวิทยาการคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น

    การหาความรู้ และประสบการณ์ด้านภาษาอังกฤษในเยาวชนง่ายกว่าในอดีตมาก ปัจจุบันมีบริการ Cable TV หรือ Internet ความเร็วสูง ของ TOT หรือ TT&T ทำให้เยาวชนมีโอกาสเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากเจ้าของภาษาเมื่ออยู่ที่บ้านได้ทั้งวันทั้งคืน ผู้เขียนเองก็มีโอกาสฟังข่าวออนไลน์(Online News) ของ www.feedroom.com และ www.bbc.com เป็นต้น เพื่อสร้างทักษะด้านการฟัง และเปลี่ยนวิกฤตด้านภาษาอังกฤษให้เป็นโอกาส ส่วนผู้คนทั่วไปสามารถหาความรู้แบบ 2 ทาง (Interactive) ได้จากอีเลินนิ่ง (e-Learning) หรือหาประสบการณ์ด้วยการสนทนากับเพื่อนชาวต่างชาติด้วย MSN Messenger หรือ Yahoo Messenger เป็นต้น นักศึกษาบางคนลงทะเบียนเรียนหนังสือจนจบปริญญาตรี หรือโทจากอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องเข้าชั้นเรียน แต่การเรียนหนังสือจากอินเทอร์เน็ตต้องอาศัยความรับผิดชอบ และความมุ่งมั่นของนักเรียน ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่ทำให้สำเร็จการศึกษาในเวลาที่กำหนด

    สำหรับประเทศไทยมี www.thai2learn.com เป็นโครงการการเรียนรู้แบบออนไลนแห่ง สวทช. ให้บริการเปิดอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น English For Office Staff หรือ Basic JAVA Online Course เป็นต้น ถ้าเน้นเรื่องภาษาอังกฤษก็มีเว็บไซต์ของคนไทยชื่อ www.kengpasa.com ที่สอนเรื่องภาษาให้เข้าใจได้ง่าย ๆ หรือเว็บไซต์ของอาจารย์ Mr.Christopher Pickert อยู่ลำปางนี่เอง พัฒนาเว็บไซต์ได้ดีมาก ด้วยชื่อแปลก ๆ ชื่อ www.tookaa.com ส่วนผู้เขียนพัฒนา www.thaiall.com/quiz สำหรับเผยแพร่ทั้งโปรแกรม และเป็นศูนย์ฝึกสอบภาษาอังกฤษสำหรับเยาวชน

    สำหรับประเทศไทยมี www.thai2learn.com เป็นโครงการการเรียนรู้แบบออนไลนแห่ง สวทช. ให้บริการเปิดอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น English For Office Staff หรือ Basic JAVA Online Course เป็นต้น ถ้าเน้นเรื่องภาษาอังกฤษก็มีเว็บไซต์ของคนไทยชื่อ www.kengpasa.com ที่สอนเรื่องภาษาให้เข้าใจได้ง่าย ๆ หรือเว็บไซต์ของอาจารย์ Mr.Christopher Pickert อยู่ลำปางนี่เอง พัฒนาเว็บไซต์ได้ดีมาก ด้วยชื่อแปลก ๆ ชื่อ www.tookaa.com ส่วนผู้เขียนพัฒนา www.thaiall.com/quiz สำหรับเผยแพร่ทั้งโปรแกรม และเป็นศูนย์ฝึกสอบภาษาอังกฤษสำหรับเยาวชน
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
7. ใช้อินเทอร์เน็ตแก้วิกฤตด้านภาษา
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com