ใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อกำหนดอนาคต
 
#585 ใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อกำหนดอนาคต

    มีโอกาสเห็นผลสอบโควตาภาคเหนือ ที่ประกาศรายชื่อนักเรียนผู้สอบผ่านข้อเขียน ชื่อโรงเรียน ชื่อจังหวัด ชื่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอื่นที่เปิดให้นักเรียนเลือก ซึ่งปีต่อไปจะเปลี่ยนระบบการสอบคัดเลือก มีประกาศจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยว่าการรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2561 จะมีรอบการคัดเลือกอยู่ 5 รอบ ส่วนการสอบโควตาตามภูมิภาคก็จะมีเหมือนเดิมแต่จะปรับเปลี่ยนไปบ้าง ขึ้นอยู่กับนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในทุกการตัดสินใจก็จะมีการใช้ฐานข้อมูลเดิมจากอดีตมาประกอบการพิจารณา เพื่อส่งผลต่ออนาคตให้ได้ประโยชน์สูงสุดเสมอ

    เมื่อนำผลสอบโควตามาประมวลผล จะพบว่าโรงเรียนใดมีนักเรียนสอบเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีจำนวนมากเป็นอันดับหนึ่งและลดหลั่นลงไป คณะใด หลักสูตรใด มีนักเรียนเลือกจำนวนมากเป็นที่นิยมที่สุด ย่อมหมายถึงการเป็นหลักสูตรที่มีการแข่งขันสูง ในปีนี้พบว่าหลักสูตรพยาบาลมีนักเรียนเลือกมากที่สุด อาจเป็นเพราะทราบถึงข้อมูลจำนวนประชากรไทยที่ชี้ว่าแนวโน้มสังคมไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และวิชาชีพพยาบาลจะเป็นที่ต้องการในสังคมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เป็นอาชีพที่เชื่อว่าไม่ตกงาน และมีความมั่นคง

    กระแสการเลือกเรียนระหว่างสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสายสังคมศาสตร์ก็ยังเป็นประเด็นให้พูดคุยถกเถียง และตั้งคำถามในสังคม เพราะสถาบันการศึกษาในไทยผลิตบัณฑิตสายสังคมฯ ออกมามากกว่าสายวิทย์ฯ แต่ความต้องการของตลาดแรงงานในสังคมไทยต้องการผู้สำเร็จการศึกษาสายวิทย์ฯ ที่ทำงานได้จริงเพิ่มขึ้น อาจเป็นเพราะการผลิตบัณฑิตสายสังคมฯ ทำได้ง่ายกว่า ใช้ต้นทุนต่ำกว่า มีเงื่อนไขการรับเข้าศึกษาที่ไม่มาก สถาบันการศึกษาจึงเปิดรับนักศึกษาสายสังคมฯ มากกว่าอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อนักเรียนสอบเข้าเรียนสายวิทย์ฯ ไม่ได้ ก็ต้องเบนเข็มไปสายสังคมฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นภาวะบังคับตามเงื่อนไขของอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ซึ่งมีนักวิชาการออกมาชี้ให้เห็นถึงปัญหา และเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง แต่จะเริ่มตรงไหน เมื่อใด อย่างไร และใช้เวลาเท่าใดที่จะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงยังเป็นคำถามอยู่

    กระแสการเลือกเรียนระหว่างสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสายสังคมศาสตร์ก็ยังเป็นประเด็นให้พูดคุยถกเถียง และตั้งคำถามในสังคม เพราะสถาบันการศึกษาในไทยผลิตบัณฑิตสายสังคมฯ ออกมามากกว่าสายวิทย์ฯ แต่ความต้องการของตลาดแรงงานในสังคมไทยต้องการผู้สำเร็จการศึกษาสายวิทย์ฯ ที่ทำงานได้จริงเพิ่มขึ้น อาจเป็นเพราะการผลิตบัณฑิตสายสังคมฯ ทำได้ง่ายกว่า ใช้ต้นทุนต่ำกว่า มีเงื่อนไขการรับเข้าศึกษาที่ไม่มาก สถาบันการศึกษาจึงเปิดรับนักศึกษาสายสังคมฯ มากกว่าอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อนักเรียนสอบเข้าเรียนสายวิทย์ฯ ไม่ได้ ก็ต้องเบนเข็มไปสายสังคมฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นภาวะบังคับตามเงื่อนไขของอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ซึ่งมีนักวิชาการออกมาชี้ให้เห็นถึงปัญหา และเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง แต่จะเริ่มตรงไหน เมื่อใด อย่างไร และใช้เวลาเท่าใดที่จะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงยังเป็นคำถามอยู่

    กระแสการเลือกเรียนระหว่างสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสายสังคมศาสตร์ก็ยังเป็นประเด็นให้พูดคุยถกเถียง และตั้งคำถามในสังคม เพราะสถาบันการศึกษาในไทยผลิตบัณฑิตสายสังคมฯ ออกมามากกว่าสายวิทย์ฯ แต่ความต้องการของตลาดแรงงานในสังคมไทยต้องการผู้สำเร็จการศึกษาสายวิทย์ฯ ที่ทำงานได้จริงเพิ่มขึ้น อาจเป็นเพราะการผลิตบัณฑิตสายสังคมฯ ทำได้ง่ายกว่า ใช้ต้นทุนต่ำกว่า มีเงื่อนไขการรับเข้าศึกษาที่ไม่มาก สถาบันการศึกษาจึงเปิดรับนักศึกษาสายสังคมฯ มากกว่าอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อนักเรียนสอบเข้าเรียนสายวิทย์ฯ ไม่ได้ ก็ต้องเบนเข็มไปสายสังคมฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นภาวะบังคับตามเงื่อนไขของอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ซึ่งมีนักวิชาการออกมาชี้ให้เห็นถึงปัญหา และเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง แต่จะเริ่มตรงไหน เมื่อใด อย่างไร และใช้เวลาเท่าใดที่จะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงยังเป็นคำถามอยู่
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
586. ตกม้าตายเรื่องฟอนต์
585. ใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อกำหนดอนาคต
584. โทรศัพท์เสียร้านซ่อมบอกเดือนครึ่ง
583. ความเชื่ออาจไม่ใช่ความจริง
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com