# 74 หนึ่งสมองสองมือไม่พอ
26 กุมภาพันธ์ 2550 - 4 มีนาคม 2550
ในยุคของโลกไร้พรมแดน หรือโลกาภิวัตน์ (Globalization) คำว่าหนึ่งสมองสองมือ ไม่เพียงพอต่องานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกัน ผู้เขียนมีโอกาสเข้าไปร่วมเวทีวิจัยของชาวบ้านที่บ้านวังหม้อเมื่อต้นปี 2550 โดยรับเชิญจาก ดร.ยุพเยาว์ ดรุณ อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และคุณภัทรา มาน้อย สกว.สำนักงานภาค ศูนย์ลำปาง ซึ่งชาวบ้านให้ข้อมูลว่ามีหลายโครงการที่ทางราชการยื่นความช่วยเหลือเข้าไป สอนให้ทำ สร้างให้ใช้ แต่น่าเสียดายที่ขาดความยั่งยืน ตัวอย่างของปัญหาเช่น ศูนย์จำหน่ายสินค้าในหลายจังหวัดกลายเป็นสถานที่เลี้ยงโค หรือมีหญ้าขึ้นรกรุงรัง เพราะขาดการใส่ใจ และความมีส่วนร่วม บ่อยครั้งที่งานวิจัยเป็นงานที่นักวิจัยตั้งโจทย์เอง วางแผน ลงมือโดยนักวิจัย และมีประโยชน์ต่อตัวนักวิจัย เพื่อให้งานวิจัยมีประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง สกว.จึงสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่มีหลักการสำคัญคือ "ตั้งโจทย์วิจัย และสนับสนุนงานวิจัย ตามความต้องการของชุมชนท้องถิ่น" มีรายละเอียดที่ www.vijai.org
มนุษย์มีหนึ่งสมองสองมือเท่ากันทุกคน แต่งานเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ในเวทีข้างต้นมีชาวบ้านท่านหนึ่งที่เป็นเกษตรกรดีเด่นให้ข้อคิดว่า การพัฒนาให้สำเร็จอย่างยั่งยืน ผู้ร่วมพัฒนาทุกฝ่ายต้องใส่ใจเข้าไปในการทำงาน คำว่าใจน่าจะหมายถึงอุดมการณ์ ความคิดดี พูดดี และทำดี ซึ่งจางหายไปพร้อมกับความศรัทธาในศาสนาที่เชื่อในผลกรรมของการทำดี และกลัวผลกรรมจากการทำชั่ว การมีเพียงหัว มือ และปากไม่พอเพียงกับการพัฒนาชุมชน หนึ่งในกิเลสของมนุษย์คือความโลภที่ก่อให้เกิดปัญหาคอร์รัปชัน (Corruption) ตัวอย่างปัญหานี้หาอ่านได้เสมอจากหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์
การทำงานมักเริ่มต้นจากการใช้หัว เพื่อคิดวางแผนและผลักดันให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ แล้วลงมือปฏิบัติ ลงแรงอย่างทุ่มเท แล้วใช้ปากเพื่อการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประชุมทบทวนกิจกรรมร่วมกัน แต่สิ่งที่มักขาดหายไปคือใจ ความมุ่งมั่น อุดมการณ์ และมุ่งผลประโยชน์ของส่วนรวมสูงสุด
เว็บไซต์ด้านการศึกษามีหลายประเภทเช่น เว็บไซต์ขององค์กร ของกลุ่มคน หรือของส่วนตัว ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากบุคลากรทางการศึกษาในภาครัฐ นโยบายของผู้บริหาร หรือความฝันของนักพัฒนาในองค์กร มีเว็บไซต์ส่วนตัวมากมายที่หายไปจากการไม่ต่ออายุโดเมนทุกสิ้นปี เพราะไม่มุ่งมั่น ไม่เห็นผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม หรือผลที่ได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แม้บางเว็บไซต์จะมีผู้เยี่ยมชมจำนวนมาก แต่ก็ปิดตัวไปในภายหลัง เพราะไม่ได้รับการสนับสนุนไปถึงระดับที่คาดหวัง บางเว็บไซต์ถูกสร้างขึ้นจากคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือเกาะกระแสนิยม เมื่อหยุดให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ก็จะลืมชำระค่าต่ออายุโดเมน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายผูกพันธ์ทุกปี ดังเช่นเว็บไซต์มากมายในลำปางที่หายไปหลังจากเผยแพร่ข้อมูลได้เพียง 2 ปี ตัวอย่างใน www.lampang.net มีมากกว่าหนึ่งร้อยเว็บไซต์ที่ต่ออายุไม่ทัน และเชื่อว่าปัญหาการไม่ต่ออายุเกิดจากการขาดใจนั่นเอง
เว็บไซต์ด้านการศึกษามีหลายประเภทเช่น เว็บไซต์ขององค์กร ของกลุ่มคน หรือของส่วนตัว ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากบุคลากรทางการศึกษาในภาครัฐ นโยบายของผู้บริหาร หรือความฝันของนักพัฒนาในองค์กร มีเว็บไซต์ส่วนตัวมากมายที่หายไปจากการไม่ต่ออายุโดเมนทุกสิ้นปี เพราะไม่มุ่งมั่น ไม่เห็นผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม หรือผลที่ได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แม้บางเว็บไซต์จะมีผู้เยี่ยมชมจำนวนมาก แต่ก็ปิดตัวไปในภายหลัง เพราะไม่ได้รับการสนับสนุนไปถึงระดับที่คาดหวัง บางเว็บไซต์ถูกสร้างขึ้นจากคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือเกาะกระแสนิยม เมื่อหยุดให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ก็จะลืมชำระค่าต่ออายุโดเมน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายผูกพันธ์ทุกปี ดังเช่นเว็บไซต์มากมายในลำปางที่หายไปหลังจากเผยแพร่ข้อมูลได้เพียง 2 ปี ตัวอย่างใน www.lampang.net มีมากกว่าหนึ่งร้อยเว็บไซต์ที่ต่ออายุไม่ทัน และเชื่อว่าปัญหาการไม่ต่ออายุเกิดจากการขาดใจนั่นเอง