thaiall logomy background
บริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ และ กระทรวงดิจิทัลฯ
my town
ธรรมะ | ครู | สื่อ | ผู้บริหาร | พยาบาล | สาธารณสุข | เทคนิคการแพทย์ | ทันตแพทย์ | กฎหมายไอที | ศีล 5 | ผลกระทบ PDPA | งานมอบหมาย
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นแนวคิดที่ทั่วโลกกําลังให้ความสนใจ โดยเฉพาะภาครัฐในฐานะผู้ที่ให้การบริการประชาชน ที่ต้องทํางานให้สอดคล้องกับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้การทํางานมีประสิทธิภาพ ทันสมัย และรวดเร็วยิ่งขึ้น
e-Government คือ "วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงานของภาครัฐ ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน การบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทําให้ประชาชนได้รับการบริการที่ดี และมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ทําให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้นด้วย" สําหรับการให้บริการแบบ e-Government นั้น จะนําหลักการ e-Service มาใช้
ซึ่งประกอบด้วย
1. การพัฒนาระบบสารสนเทศให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง
2. การให้บริการผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความปลอดภัยและทําให้องค์กรสามารถแลกเปลี่ยนสารสนเทศกันได้
3. การพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ในแต่ละหน่วยงาน
4. การพัฒนาระบบการบริการผ่านเครือข่ายสารสนเทศที่เชื่อมโยงกันระหว่างองค์กร
5. การบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One-Stop-Service)
http://www.dla.go.th/work/kpinow/7ebook/pdf/2554/Being%20ECitizen%20by%20EGovernment.pdf #
10 กรณีศึกษา e-Government จากบริการที่เป็นจริง เรียบเรียงโดย สมชัย อักษรารักษ์ และอศินา พรวศิน ในหนังสือ Being e-Citizen by e-Government โฉมหน้าบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐเพื่อคนไทย
กรณีศึกษาที่ 1 แกะรอยคนร้ายด้วยไฮเทค
กรณีศึกษาที่ 2 จดมาตรน้ำและออกใบแจ้งหนี้แบบไฮเทค
กรณีศึกษาที่ 3 ยื่นแบบแสดงและชำระภาษีผ่านทางอินเทอร์เน็ต
rd.go.th
กรณีศึกษาที่ 4 ระบบฐานข้อมูลทะเบียนกลางแบบออนไลน์
กรณีศึกษาที่ 5 จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วย e-Procurement
กรณีศึกษาที่ 6 ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริการสาธารณะผ่านอินเทอร์เน็ต
khonthai.com
กรณีศึกษาที่ 7 บริการจดทะเบียนนิติบุคคลทางอินเทอร์เน็ต
thairegistration.com
กรณีศึกษาที่ 8 บริการต่อทะเบียนรถ และชำระภาษีรถผ่านอินเทอร์เน็ต
กรณีศึกษาที่ 9 บริการไฟฟ้ายุคใหม่ผ่าน Call Center ผสานเน็ต
กรณีศึกษาที่ 10 หนังสือเดินทางยุคอิเล็กทรอนิกส์
(c) Copy Right by SE-EDUCATION Public Company Limited.
thaispecial.com/..?booklist=9745347906
หน่วยงานด้านส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย [2]p.177
ระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economic - mdes.go.th มี วิสัยทัศน์ คือ “ผลักดันการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ประเทศไทย 4.0”
พันธกิจ
1. เสนอนโยบาย แผนระดับชาติ และกฎหมาย ว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมด้านสถิติ ด้านอุตุนิยมวิทยา รวมทั้งด้านความมั่นคง ปลอดภัยทางไซเบอร์
2. พัฒนาและบริหารจัดการโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
3. ส่งเสริม สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนากำลังคน ด้านดิจิทัลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่ง ขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
4. ส่งเสริม สนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการยกระดับการทำงานของหน่วยงานภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล
5. บริหารจัดการระบบสถิติของประเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนา การอุตุนิยมวิทยา ให้มีประสิทธิภาพ ทันต่อเหตุการณ์
6. กำกับดูแลและติดตาม ประเมินผลตามนโยบาย แผนระดับชาติ และกฎหมาย ว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ด้านสถิติ ด้านอุตุนิยมวิทยา รวมทั้งด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
หน่วยงานในสังกัด
1. สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2. สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
3. กรมอุตุนิยมวิทยา
4. สํานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
5. สำนักงานสถิติแห่งชาติ
6. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
7. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
8. บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
9. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
10. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
11. สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
e-government
กรมอุตุนิยมวิทยา หน่วยงานต้นสังกัด : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
พันธกิจ :
1. พัฒนาการให้บริการและคุณภาพข้อมูลสารสนเทศอุตุนิยมวิทยาและแผ่นดินไหว ที่รองรับกับเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้รับบริการอย่างทั่วถึง รวมทั้งส่งเสริมคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
2. เพิ่มขีดความสามารถในการตรวจ เฝ้าระวัง พยากรณ์อากาศ และเตือนภัยธรรมชาติล่วงหน้าได้ถึงระดับตำบล
3. ส่งเสริมการบูรณาการ งานวิจัย นวัตกรรม วิชาการ และการปฏิบัติการด้านอุตุนิยมวิทยาและแผ่นดินไหว รวมทั้งเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
4. เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือประชาชนและภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งองค์ความรู้ด้านอุตุนิยมวิทยาและแผ่นดินไหว เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติ
5. พัฒนาสารสนเทศภูมิอากาศเพื่อรองรับผลกระทบจากความผันแปรและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
วิสัยทัศน์ : บริการที่เป็นเลิศด้านอุตุนิยมวิทยาและแผ่นดินไหวอย่างทั่วถึง และเตือนภัย ถูกต้อง ทันเวลา ตรงตามความต้องการ
สํานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หน่วยงานต้นสังกัด : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
พันธกิจ :
1. กำหนดทิศทางและวางยุทธศาสตร์การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
2. เป็นแกนกลางในการส่งเสริม ประสาน และบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มศักยภาพในกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม
3. วางรากฐานการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงรองรับรูปแบบ และปริมาณการใช้งานในอนาคต
4. ส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม และการใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีดิจิทัล ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม
วิสัยทัศน์ : ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลอย่างยั่งยืนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีประชาคมโลก
สำนักงานสถิติแห่งชาติ หน่วยงานต้นสังกัด : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
พันธกิจ :
1. จัดทำสำมะโน สำรวจด้วยตัวอย่าง หรืออำนวยการ เพื่อให้ได้ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมของ ประเทศ
2. บริการข้อมูลสถิติและสารสนเทศ และให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับองค์ความรู้วิชาการด้านสถิติแก่ผู้ใช้บริการทุก ภาคส่วน
3. พัฒนางานสถิติและสารสนเทศให้เป็นระบบ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศ
4. บูรณาการ เชื่อมโยงสถิติ และข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐและภาคส่วนอื่นๆ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
5. พัฒนาบุคลากรทางด้านสถิติของประเทศให้มีความเป็นมืออาชีพ
6. สร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน ในการให้ความร่วมมือ และเห็นความสำคัญของการให้ข้อมูล
วิสัยทัศน์ : เป็นองค์กรหลักของชาติในการบริหารจัดการระบบสถิติเพื่อการพัฒนาประเทศ
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หน่วยงานต้นสังกัด : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
พันธกิจ :
1. สร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อยกระดับการให้บริการแก่ลูกค้า
2. ให้บริการอย่างมีคุณภาพ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย
3. เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยสู่ยุคดิจิทัล
วิสัยทัศน์ : เป็นผู้นำการให้บริการโทรคมนาคมและบริการดิจิทัลของประเทศ
บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หน่วยงานต้นสังกัด : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
พันธกิจ :
1. ดำเนินการปฏิรูปองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพร้อมสนับสนุนภาครัฐในการให้บริการดิจิทัลของประเทศ
2. พัฒนาและสรรหาบริการด้านดิจิทัลและโทรคมนาคม โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สนองตอบต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ
3. ขยายฐานผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง และมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้บริการ
4. สร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมกับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และใส่ใจต่อสังคม
วิสัยทัศน์ : เป็นผู้ให้บริการดิจิทัลและโทรคมนาคมชั้นนำของชาติ
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หน่วยงานต้นสังกัด : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
พันธกิจ :
1. ให้บริการจัดส่งสิ่งของ ข่าวสาร ข้อมูล และโอนเงินทั่วโลกที่ลูกค้าเข้าถึงได้อย่าง สะดวก มีคุณภาพ มีมาตรฐานสากล ราคาสมเหตุสมผล และเชื่อถือได้
2. พัฒนาให้ไปรษณีย์ไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจไปรษณีย์และบริการ Logistics สำหรับธุรกิจ e-Commerce ของประเทศ
3. บริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากข้อมูลการดำเนินงานในการสร้างฐานความรู้และนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจของลูกค้าให้เติบโตไปด้วยกัน
4. ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน (เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม)
วิสัยทัศน์ : เป็นผู้ให้บริการไปรษณีย์และบริการ e-Commerce Logistics ครบวงจรด้วยมาตรฐานสากลที่ผู้ใช้บริการไทยนึกถึงในลำดับแรก
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หน่วยงานต้นสังกัด : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
วิสัยทัศน์ : องค์กรแถวหน้าในการส่งเสริมและนำไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หน่วยงานต้นสังกัด : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
พันธกิจ : ช่วยให้คนไทยทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (โกออนไลน์) เพื่อโอกาสและชีวิตที่ดีกว่า
วิสัยทัศน์ : เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจอนาคตด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หน่วยงานต้นสังกัด : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พันธกิจ : 1. ส่งเสริม การเงิน การลงทุนและสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ 2. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคเศรษฐกิจหลักของประเทศ 3. พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ให้มีทักษะที่สูง และตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ในภาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ 4. การส่งเสริมให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ในประเทศใช้ซอฟต์แวร์ ในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจ 5. ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทั้งด้านการตลาดและการพัฒนาซอฟต์แวร์ / บริการซอฟต์แวร์ ระหว่างผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยกับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ต่างชาติ 6. ส่งเสริม ให้เกิดการวิจัยด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการซอฟต์แวร์ และผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยมาต่อยอดทางธุรกิจ 7. ส่งเสริมให้ เกิดการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ในผลิตภัณฑ์ และบริการซอฟต์แวร์ที่คิดค้นโดยผู้ประกอบการไทยและ ให้บริการแก้ไข ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จ วิสัยทัศน์ : SIPA จะนำพาประเทศไทยสู่เวทีซอฟต์แวร์โลก (Stage Thailand as a global Player in Software Industry)
เอกสารอ้างอิง #

[1] สมชัย อักษรารักษ์ และอศินา พรวศิน, "Being e-Citizen by e-Government โฉมหน้าบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐเพื่อคนไทย", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), 2547.
[2] วิโรจน์ ชัยมูล, และสุพรรษา ยวงทอง. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.
rspsocial
Thaiall.com