thaiall logomy background สพม ในประเทศไทย (Secondary Educational Service Area Office)
my town
สพม ในประเทศไทย

สพม ในประเทศไทย

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (Secondary) ดูแลการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา โดย สำนักงานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (Educational Service Area) คือ ระบบการจัดแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาการปกครองที่จัดแบ่งโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อจัดระบบและกระจายอำนาจการจัดการศึกษาในประเทศไทยให้ครอบคลุมมากขึ้น
การเรียนรู้เชิงรุก | การศึกษา | นักศึกษา | Admission | GAT/PAT | ONET | 9 วิชาสามัญ | ครูคืนถิ่น | สพป | สพม | มหาวิทยาลัย | ห้องเรียนในอนาคต | Utopia | หลักสูตรฐานสมรรถนะ | สมรรถนะดิจิทัล | วิทยาการคำนวณ | ศีล 5 | กยศ | มีเหตุมีผล | พ.ร.บ. | อาชีพในฝัน | wordwall | genially |
สำนักงานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สพม. ย่อมาจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ครับ เป็นหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการที่รับผิดชอบดูแลการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ
หน้าที่หลักของ สพม. ก็คือ
กำกับดูแลโรงเรียนมัธยมศึกษา: รวมถึงการตรวจสอบมาตรฐานการศึกษา การจัดการเรียนการสอน และการบริหารจัดการของโรงเรียนต่างๆ
พัฒนาคุณภาพครู: จัดอบรมพัฒนาครูเพื่อให้มีคุณภาพและสามารถสอนนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สนับสนุนการจัดกิจกรรมทางการศึกษา: เช่น การจัดการแข่งขันทางวิชาการ กีฬา หรือศิลปะ เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะรอบด้าน
ประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ: เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอื่นๆ เพื่อร่วมกันพัฒนากระบวนการเรียนรู้
เหตุผลที่คุณอาจจะได้ยินชื่อ สพม.
ถ้าคุณเป็นนักเรียน: สพม. จะเกี่ยวข้องกับการโอนย้ายโรงเรียน การสอบเข้าเรียน หรือการจัดกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน
ถ้าคุณเป็นผู้ปกครอง: สพม. อาจจะเป็นหน่วยงานที่คุณติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลาน
ถ้าคุณเป็นครู: สพม. จะเป็นหน่วยงานที่ดูแลการทำงานและการพัฒนาคุณภาพของคุณ
เขตพื้นที่การศึกษา
เขตพื้นที่การศึกษา ถึง พ.ศ.2546 ขตพื้นที่การศึกษา (Educational Service Area) เป็นระบบการจัดแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาการปกครองที่จัดแบ่งโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อจัดระบบและกระจายอำนาจการจัดการศึกษาในประเทศไทยให้ครอบคลุมมากขึ้น เดิมมีสำนักงานประจำแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ใช้ชื่อว่า "สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ..." (สพท.) และต่อมาได้มีการแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ศึกษาธิการเขต (พ.ศ. 2516–2520) และเขตการศึกษา (พ.ศ. 2520–2546)
รัฐบาลได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาแบ่งท้องที่ของกระทรวงศึกษาธิการออกเป็นเขต พ.ศ. 2516 ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อแบ่งเขตพื้นที่ในการบริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการออกเป็น 12 เขต เรียกว่า "ศึกษาธิการเขต" ตั้งแต่เขต 1 ถึงเขต 12 ในอีกสี่ปีถัดมา รัฐบาลของธานินทร์ กรัยวิเชียรได้แยกกรุงเทพมหานครออกจากศึกษาธิการเขต 1 เนื่องจากมีโรงเรียนเป็นจำนวนมาก และเปลี่ยนชื่อเรียกจาก "ศึกษาธิการเขต" เป็น "เขตการศึกษา" ทำให้มีเขตการศึกษาเพิ่มเป็น 13 เขต โดยแต่ละเขตมีพื้นที่บริหารราชการดังนี้
เขตการศึกษากรุงเทพมหานคร – กรุงเทพมหานคร
เขตการศึกษา 1 – จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร
เขตการศึกษา 2 – จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดสตูล
เขตการศึกษา 3 – จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เขตการศึกษา 4 – จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดระนอง
เขตการศึกษา 5 – จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสุพรรณบุรี
เขตการศึกษา 6 – จังหวัดชัยนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดอุทัยธานี
เขตการศึกษา 7 – จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์
เขตการศึกษา 8 – จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน
เขตการศึกษา 9 – จังหวัดขอนแก่น จังหวัดเลย จังหวัดสกลนคร จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี
เขตการศึกษา 10 – จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดนครพนม จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี
เขตการศึกษา 11 – จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดสุรินทร์
เขตการศึกษา 12 – จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
42 เขต (พ.ศ. 2553–2564)
สพม.1 - กรุงเทพมหานคร (เขตคลองสาน จอมทอง ดุสิต ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางขุนเทียน บางแค บางซื่อ บางบอน บางพลัด ปทุมวัน ป้อมปราบศัตรูพ่าย พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ สัมพันธวงศ์ และหนองแขม)
สพม.2 - กรุงเทพมหานคร (เขตคลองเตย คลองสามวา คันนายาว จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางนา บางรัก บึงกุ่ม ประเวศ พระโขนง มีนบุรี ยานนาวา ลาดกระบัง ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สะพานสูง สาทร สายไหม หนองจอก หลักสี่ และห้วยขวาง)
สพม.3 - จังหวัดนนทบุรีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สพม.4 - จังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระบุรี
สพม.5 - จังหวัดชัยนาท จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง
สพม.6 - จังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดสมุทรปราการ
สพม.7 - จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว
สพม.8 - จังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดราชบุรี
สพม.9 - จังหวัดนครปฐมและจังหวัดสุพรรณบุรี
สพม.10 - จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร
สพม.11 - จังหวัดชุมพรและจังหวัดสุราษฎร์ธานี
สพม.12 - จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดพัทลุง
สพม.13 - จังหวัดกระบี่และจังหวัดตรัง
สพม.14 - จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดระนอง
สพม.15 - จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
สพม.16 - จังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูล
สพม.17 - จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด
สพม.18 - จังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง
สพม.19 - จังหวัดเลยและจังหวัดหนองบัวลำภู
สพม.20 - จังหวัดอุดรธานี
สพม.21 - จังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ
สพม.22 - จังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหาร
สพม.23 - จังหวัดสกลนคร
สพม.24 - จังหวัดกาฬสินธุ์
สพม.25 - จังหวัดขอนแก่น
สพม.26 - จังหวัดมหาสารคาม
สพม.27 - จังหวัดร้อยเอ็ด
สพม.28 - จังหวัดยโสธรและจังหวัดศรีสะเกษ
สพม.29 - จังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดอุบลราชธานี
สพม.30 - จังหวัดชัยภูมิ
สพม.31 - จังหวัดนครราชสีมา
สพม.32 - จังหวัดบุรีรัมย์
สพม.33 - จังหวัดสุรินทร์
สพม.34 - จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
สพม.35 - จังหวัดลำปางและจังหวัดลำพูน
สพม.36 - จังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา
สพม.37 - จังหวัดน่านและจังหวัดแพร่
สพม.38 - จังหวัดตากและจังหวัดสุโขทัย
สพม.39 - จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดอุตรดิตถ์
สพม.40 - จังหวัดเพชรบูรณ์
สพม.41 - จังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดพิจิตร
สพม.42 - จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดอุทัยธานี

สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1 สพม.1 เดิม
สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 2 สพม.2 เดิม
สพม.นนทบุรี แยกมาจาก สพม.3 เดิม
สพม.พระนครศรีอยุธยา แยกมาจาก สพม.3 เดิม
สพม.ปทุมธานี แยกมาจาก สพม.4 เดิม
สพม.สระบุรี แยกมาจาก สพม.4 เดิม
สพม.ลพบุรี แยกมาจาก สพม.5 เดิม
สพม.สิงห์บุรี อ่างทอง แยกมาจาก สพม.5 เดิม
สพม.อุทัยธานี ชัยนาท แยกจาก สพม.41 และสพม.5 เดิม
สพม.ฉะเชิงเทรา แยกมาจาก สพม.6 เดิม
สพม.สมุทรปราการ แยกมาจาก สพม.6 เดิม
สพม.ปราจีนบุรี นครนายก แยกมาจาก สพม.7 เดิม
สพม.สระแก้ว แยกมาจาก สพม.7 เดิม
สพม.กาญจนบุรี แยกมาจาก สพม.8 เดิม
สพม.ราชบุรี แยกมาจาก สพม.8 เดิม
สพม.นครปฐม แยกมาจาก สพม.9 เดิม
สพม.สุพรรณบุรี แยกมาจาก สพม.9 เดิม
สพม.ประจวบคีรีขันธ์ แยกมาจาก สพม.10 เดิม
สพม.เพชรบุรี แยกมาจาก สพม.10 เดิม
สพม.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม แยกมาจาก สพม.10 เดิม
สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร สพม.11 เดิม
สพม.นครศรีธรรมราช แยกมาจาก สพม.12 เดิม
สพม.พัทลุง แยกมาจาก สพม.12 เดิม
สพม.ตรัง กระบี่ สพม.13 เดิม
สพม.พังงา ภูเก็ต ระนอง สพม.14 เดิม
สพม.นราธิวาส แยกมาจาก สพม.15 เดิม
สพม.ปัตตานี แยกมาจาก สพม.15 เดิม
สพม. ยะลา แยกมาจาก สพม.15 เดิม
สพม.สงขลา สตูล สพม.16 เดิม
สพม.จันทบุรี ตราด สพม.17 เดิม
สพม.ชลบุรี ระยอง สพม.18 เดิม
สพม.เลย หนองบัวลำภู สพม.19 เดิม
สพม.อุดรธานี สพม.20 เดิม
สพม.บึงกาฬ แยกมาจาก สพม.21 เดิม
สพม.หนองคาย แยกมาจาก สพม.21 เดิม
สพม.นครพนม แยกมาจาก สพม.22 เดิม
สพม.มุกดาหาร แยกมาจาก สพม.22 เดิม
สพม.สกลนคร สพม.23 เดิม
สพม.กาฬสินธุ์ สพม.24 เดิม
สพม.ขอนแก่น สพม.25 เดิม
สพม.มหาสารคาม สพม.26 เดิม
สพม.ร้อยเอ็ด สพม.27 เดิม
สพม.ศรีสะเกษ ยโสธร สพม.28 เดิม
สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สพม.29 เดิม
สพม.ชัยภูมิ สพม.30 เดิม
สพม.นครราชสีมา สพม.31 เดิม
สพม.บุรีรัมย์ สพม.32 เดิม
สพม.สุรินทร์ สพม.33 เดิม
สพม.เชียงใหม่ แยกมาจาก สพม.34 เดิม
สพม.แม่ฮ่องสอน แยกมาจาก สพม.34 เดิม
สพม.ลำปาง ลำพูน สพม.35 เดิม
สพม.เชียงราย แยกมาจาก สพม.36 เดิม
สพม.พะเยา แยกมาจาก สพม.36 เดิม
สพม.แพร่ แยกมาจาก สพม.37 เดิม
สพม.น่าน แยกมาจาก สพม.37 เดิม
สพม.ตาก แยกมาจาก สพม.38 เดิม
สพม.สุโขทัย แยกมาจาก สพม.38 เดิม
สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สพม.39 เดิม
สพม.เพชรบูรณ์ สพม.40 เดิม
สพม.นครสวรรค์ แยกมาจาก สพม.41 เดิม
สพม.กำแพงเพชร แยกมาจาก สพม.42 เดิม
สพม.พิจิตร แยกมาจาก สพม.42 เดิม
Thaiall.com