อภิธานศัพท์วิจัย (Research Glossary)
อภิธานศัพท์วิจัย หรือศัพท์วิจัย
อ ภิธานศัพท์วิจัย (Research Glossary) หรือศัพท์วิจัย (Research Term) คือ รายการของการอธิบายความหมายเพิ่มเติมของคำศัพท์เฉพาะศาสตร์ด้านการวิจัย ที่มักจะเรียงลำดับตามตัวอักษร และพบอยู่ส่วนท้ายของหนังสือด้านการวิจัย เพื่อช่วยให้ความหมายที่ผู้แต่งเห็นควรนำมาอธิบายคำศัพท์เฉพาะเป็นการเพิ่มเติม ให้ผู้อ่านได้มีความเข้าใจอย่างชัดเจน
no ศัพท์ภาษาไทย ศัพท์ภาษาอังกฤษ ความหมาย อ้างอิง
1 ตัวแปร variable ตัวแปร หรือปัจจัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในการศึกษา อาทิ เพศ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก อาชีพ การศึกษา "ดิเรก ลิ้มมธุรสกุล, ""การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรม STATA 10"", สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 2554." 2 ตัวแปรตาม dependent variable "ตัวแปรผลลัพธ์ (outcome, result) หรือตัวแปรตาม คือ ตัวแปรผลลัพธ์ที่เราต้องการศึกษา" "ดิเรก ลิ้มมธุรสกุล, ""การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรม STATA 10"", สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 2554." 3 ตัวแปรผลลัพธ์ dependent variable [ตัวแปรตาม] 4 ตัวแปรต้น independent variable ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ คือ ปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์ (predictive factor) อาจมีผลต่อผลลัพธ์หลัก หรือทำให้ผลลัพธ์หลักที่เราศึกษาเปลียนแปลงไปตามค่าของตัวแปรต้น อาทิ เพศ มีอิทธิพลต่อกำลังซื้อเสื้อผ้า หรืออายุมีอิทธิพลต่อการเที่ยวกลางคืน "ดิเรก ลิ้มมธุรสกุล, ""การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรม STATA 10"", สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, 2554." 5 ตัวแปรอิสระ independent variable [ตัวแปรต้น] 6 การวิจัย researching "การวิจัย คือ การค้นคว้าหาความจริงโดยวิธีการอย่างมีระบบที่เชื่อถือได้ หรือวิธีการวิทยาศาสตร์นั่นเอง [Lehmann and Mehrens อ้างโดย ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา 2536 หน้า 9] การวิจัย คือ การวิจัยทางสังคมเป็นวิธีการศึกษาวิเคราะห์และกำหนดแนวความคิดเกี่ยวกับชีวิตทางสังคม เพื่อที่จะขยาย แก้ไข หรือพิสูจน์ความรู้ ไม่ว่าความรู้นั้นจะช่วยสร้างทฤษฏีหรือใช้ในการปฏิบัติ [อำนวย ชูวงษ์ ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 2519 หน้า 3] การวิจัย คือ การศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีทางตรรกวิทยาอย่างมีระบบ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงใหม่ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงเก่า และเพื่อวิเคราะห์ผลก่อนหลังของความสัมพันธ์ระหว่างกัน การวิจัย คือ การตั้งคำถาม แล้วดำเนินการ เพื่อหาคำตอบ การวิจัย คือ กระบวนการคิด แล้วทำอย่างเป็นระบบ เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่ หรือพิสูจน์ความรู้เดิม " 7 นักวิจัย researcher นักวิจัย หมายถึง ผู้ที่ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบประเด็นที่สงสัย โดยมีระเบียบวิธีอันเป็นที่ยอมรับ ในแต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมทั้งแนวคิด มโนทัศน์ และวิธีการที่ใช้ในการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล จรรยาบรรณ หมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรม ในการประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคลแต่ละสาขาวิชาชีพ ประมวลขึ้นไว้เป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ ยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียง และส่งเสริมเกียรติคุณ ของสาขาวิชาชีพของตน จรรยาบรรณนักวิจัย หมายถึง หลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัต ิของนักวิจัยทั่วไป เพื่อให้การดำเนินงานวิจัย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม และหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐาน ของการศึกษาค้นคว้า ให้เป็นไป อย่างสมศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของนักวิจัย 8 การวิจัยและพัฒนา research and development การวิจัยและพัฒนา คือ งานที่มีลักษณะสร้างสรรค์ ซึ่งดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มพูนคลังความรู้ ทั้งความรู้ที่เกี่ยวกับมนุษย์ วัฒนธรรม และสังคม และการใช้ความรู้เหล่านี้ เพื่อประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ใหม่ ๆ 9 การวิจัยพื้นฐาน Basic Research การวิจัยพื้นฐาน คือ การศึกษาค้นคว้าในทางทฤษฎีหรือในห้องทดลอง เพื่อหาความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับสมุหฐานของปรากฏการณ์และความจริงที่สามารถสังเกตได้ โดยที่ยังไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน หรือเฉพาะเจาะจงในการนำผลการวิจัยไปใช้ในงานทางปฏิบัติ 10 การวิจัยประยุกต์ Applied Research การวิจัยประยุกต์ คือ การศึกษาค้นคว้าเพื่อหาความรู้ใหม่ๆ โดยมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเบื้องต้นที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง 11 การพัฒนาการทดลอง Experimental Development การพัฒนาการทดลอง คือ การศึกษาอย่างมีระบบ นำความรู้ที่มีอยู่แล้วจากการวิจัยหรือจากประสบการณ์ในการปฏิบัติงานประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ผลิตผลและเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อสร้างขบวนการ ระบบและการให้บริการใหม่ๆ ขึ้น และปรับปรุงสิ่งที่ประดิษฐ์หรือก่อตั้งขึ้นแล้วให้ดีขึ้น 12 ทฤษฎี theory "ทฤษฎี คือ กลุ่มความสัมพันธ์ของแนวคิด คำนิยาม และองค์ประกอบที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง และชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายหรือคาดเดาปรากฏการณ์นั้น ทฤษฎีคือ สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบ และทดลองหลายครั้งหลายหน จนสามารถอธิบายข้อเท็จจริง สามารถคาดคะเนทำนายเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไป ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นอย่างถูกต้อง และมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป จึงเป็นผลให้สมมติฐานกลายเป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฎีเซลล์ (Cell theory) ทฤษฏีวิวัฒนาการ (the evolution theory) เป็นต้น " 13 การเขียนเอกสารอ้างอิงจากเว็บไซต์ reference from website "การเขียนเอกสารอ้างอิงจากเว็บไซต์ มีผู้กำหนดรูปแบบ ซึ่งมีหลายมาตรฐาน อาทิ 1) AMA (American Medical Association) 2) APA (American Psychological Association) 3) Chicago 4) Turabian 5) Vancouver ตัวอย่างการอ้างอิงจากเว็บไซต์ มีดังนี้ ต.ย. 1 สกว. 2552. กระบวนการวิจัย. [Online]. available : http://www.xxx.com/x1.htm ต.ย. 2 การดำน้ำลึก (ออนไลน์). (2552). สืบค้นจาก : http://www.xxx.com/x1.htm [1 ธันวาคม 2553] ต.ย. 3 สมชาย สายเสมอ. (2542). การว่ายน้ำ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.xxx.com/x2.doc [1 ธันวาคม 2553] ต.ย. 4 Department of Man. (2009). Guide to Diving (Online). Available : http://www.xxx.com/x3.htm [2010, November 1] ต.ย. 5 Tom, T. (2009). Day review. Retrieved November 1, 2010, from Boys Science Fiction Club Web site: http://www.boy.com/x1.htm ต.ย. 6 Tom T. Day review. Boys Science Fiction Club Web site. 2009. Available at: http://www.boy.com/x1.htm. Accessed November 1, 2010. ต.ย. 7 Day review. Boys Science Fiction Club Web s. Available at: URL:http://www.boy.com/x1.htm. Accessed Nov 1, 2010. ต.ย. 8 Tom, Tim. 2009. Boys Science Fiction Club Web site. Waco, TX: Baylor University. On-line. Available from Internet, http://www.boy.com/x1.htm, accessed 1 November 2010. ต.ย. 9 Tom, Tim. 1996. Boys Science Fiction Club Web site. Boys Science Fiction Club. http://www.boy.com/x1.htm (accessed November 1, 2010). "
แนะนำเว็บไซต์
นิยามศัพท์การวิจัยที่ควรทราบ
ตัวอย่างการอ้างอิงจากเว็บไซต์ #
เอกสารอ้างอิง (Reference)
[1] ดิเรก ลิ้มมธุรสกุล. (2554). "การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรม STATA 10 ". กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[2] ยุทธ ไกยวรรณ์. (2555). "หลักสถิติวิจัย และการใช้โปรแกรม SPSS ". กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[3] ปัญญา โพธิ์ฐิติรัตน์. (2550). "การวิเคราะห์ข้อมูลโดย SAS และ SPSS ". กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กฤตญาดา.
[4] นราศรี ไววนิชกุล, และชูศักดิ์ อุดมศรี. (2533). "ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ ". กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[5] มนต์ชัย เทียนทอง. (2556). การทดสอบไคสแควร์. สืบค้น 19 มีนาคม 2556, จาก http://home.dsd.go.th/ ... /12Chi-Square_Test.pdf .
[6] ธานินทร์ ศิลป์จาระ. (2555). "การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS ". กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
[7] ธันยพัฒน์ วงศ์รัตน์. (2555). "การประยุกต์ใช้โปรแกรม SPSS 17.0 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ". กรุงเทพฯ: บริษัท สวัสดี ไอที จำกัด.
[8] กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุลและคณะ. (2563). "การวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพในระบบสาธารณสุขไทย โดยใช้โปรแกรม R ". กรุงเทพฯ: ไอคิวมีเดีย.
[9] วิโรจน์ อรุณมานะกุล. (2560). "สถิติและการใช้โปรแกรม R ". กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[10] วราฤทธิ์ พานิชกิจโกศลกุล. (2550). "การใช้โปรแกรม R ในงานวิจัยด้านทฤษฎีสถิติ ". กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[11] วนิดา พงษ์ศักดิ์ชาติ. (2559). "การใช้โปรแกรม R เพื่อการวิจัย ". ชลบุรี: ภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
[12] ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2559). การใช้ IBM SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล. สืบค้น 22 มกราคม 2565, จาก http://watpon.in.th/thai/mod/page/view.php?id=9 .
[13] สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2547). การเลือกใช้ตัวทดสอบสถิติ. สืบค้น 9 มิถุนายน 2565, จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/know/estat04.pdf .