thaiall logomy background

กระดานแสดงความคิดเห็น

my town
Explicit และ Tacit KM เป็นแนวคิดของ Michael Polanyi และ Ikujiro Nonaka
http://www.tct.ac.th/News/KNowledge-Creating_Company_part_1.pdf
http://gotoknow.org/blog/manat97/812
http://www.pdamobiz.com/show_news.asp?NewsID=32896
http://www.ftpi.or.th/dwnld/pworld/pw54/54_hr3.pdf
http://area.obec.go.th/nonthaburi1/tanes/BLOG2.doc เครื่องมืออันทรงพลังของ KM
http://qa.mcru.ac.th/work/news06.doc
http://gotoknow.org/blog/tanes
การพูดถึงความรู้ (knowledge) ในกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) Michael Polanyi และ Ikujiro Nonaka บอกว่า ความรู้มีอยู่ 2 ประเภท คือ
tacit knowledge (ความรู้ฝังลึก) เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล อันเกิดจากการสั่งสม
ประสบการณ์การเรียนรู้หรือพรสวรรค์ต่าง ๆ ของแต่ละบุคคล
explicit knowledge (ความรู้เด่นชัด) เป็นความรู้เปิดเผยที่ถูกเก็บรวบรวมไว้อยู่ในหนังสือ
เอกสาร คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ความรู้ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 จะเป็นความรู้ประเภท tacit knowledge ซึ่งเป็นความรู้ที่สื่อสาร หรือ ถ่ายทอด ด้วยลายลักษณ์อักษรได้ยาก แต่สามารถแบ่งปันกันได้ ส่วน อีกร้อยละ 20 เป็นความรู้ประเภท explicit knowledge ซึ่งเปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำมาให้เห็นเพียงประมาณร้อยละ 20
จากส่วนที่เหลือใต้พื้นน้ำที่มองไม่เห็นอีกประมาณร้อยละ 80

แต่คนที่มี tacit knowledge บางคนก็ขาดเทคนิควิธีการถ่ายทอดความรู้ หรือบางคนก็ไม่อยากจะถ่ายทอดความรู้ให้ใคร และองค์กรก็ยังไม่มีการสร้างกลไกหรือเงื่อนไขให้บุคลากรได้แบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อทำให้ความรู้งอกงามขึ้นหรือทำให้ tacit knowledge กลายเป็น explicit knowledge จึงทำให้ tacit knowledge อันมีคุณค่าของแต่ละคนถูกละทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย

ดังนั้น กระบวนการ KM จึงพยายามหาเทคนิควิธีดึงความรู้ (Capture) จาก tacit knowledge ของแต่ละคนที่มี best practices (วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด) มาเป็น explicit knowledge เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดความก้าวหน้าแก่องค์กร และพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (learning organization) ต่อไป ปัจจุบันมีองค์กรที่ส่งเสริมพัฒนาเรื่องนี้หลายองค์กร เช่น สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส) สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาระบบราชการ(กพร.) สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(พรพ) วิทยาลัยการจัดการทางสังคม(วจส.) เป็นต้น

กิจกรรมหลัก ๆ ในกระบวนการ KM ก็คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน (share & learn) ซึ่งอาจมีเครื่องมือย่อย ๆ อีก เช่น สุนทรียสนทนา ( dialogue) หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ เป็นต้น


blog คือ อะไร

มีเครื่องมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ KM ชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจใช้กันมากขณะนี้คือ blog ซึ่งเป็นคำย่อของ weblog คือ เว็บไซต์เพื่อการบันทึกไดอารี่ที่เปิดโอกาสให้มีการแบ่งปันความรู้ที่เป็นข้อความหรือรูปภาพที่บันทึกเอาไว้ ซึ่งผู้เขียน blog และผู้เยี่ยมชมสามารถเข้าถึงข้อมูลนั้น โดยผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์

วัตถุประสงค์ของการใช้บล็อกก็เพื่อให้คนทั่วไปที่ต้องการจดบันทึก สามารถใช้บล็อกเป็นที่จดบันทึกและใส่รูปภาพพร้อมทั้งส่งต่อให้แก่ผู้อื่นได้ โดยผู้เข้าเยี่ยมชมก็สามารถมีส่วนร่วมได้ด้วย คล้าย ๆ กับการโพสต์ข้อความโต้ตอบกันในเว็บบอร์ด แต่บล็อกมีเครื่องมือและตัวเลือกมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บันทึกสามารถเป็นเจ้าของบล็อกได้ จึงต้องมีการลงทะเบียนแสดงความรับผิดชอบต่อบล็อกของตนเอง

ปัจจุบันมีผู้พัฒนาบล็อกที่ให้บริการฟรี ภายใต้เว็บไซต์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปเช่น http://www.gotoknow.org/ หรือ http://www.blogger.com/ เป็นต้น ซึ่งทั้งสองบล็อกนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการแลกเปลี่ยน tacit knowledge ในกระบวนการ KM อย่างกว้างขวาง เป็นเครือข่ายคล้าย จ.ส.100 หรือ ร่วมด้วยช่วยกัน



ถ้าจะเข้ามาเขียนบล็อกต้องทำอย่างไร ?

เราต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและต้องมี
e-mail address ของตนเองก่อน

เข้าไปในเว็บไซต์ที่เราต้องการสมัครเป็นสมาชิก แล้วลงทะเบียนสมัครเข้าเป็นสมาชิก ซึ่ง
การสมัครทำได้ง่ายมาก คล้ายการสมัคร e-mail โดยดูตามเมนูคำสั่งหลักที่ระบุให้ปฏิบัติ เมื่อระบบตอบรับเป็นสมาชิกแล้วเราก็จะมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง เช่น เว็บไซต์ของผม www.gotokhow.org/blog/tanes เป็นต้น

เวลาจะเขียนบันทึกลงบล็อกของตนเองก็ต้องเข้าใช้ระบบก่อน โดยใส่ password และ รหัส
ตามที่บล็อกระบุไว้

เข้าไปที่แผงควบคุม ซึ่งมีตัวเลือกให้เราเลือกดำเนินการได้มากมาย เช่น การเขียน
บันทึก การอัพโหลดรูปภาพ การจัดรูปแบบบล็อก การเปิดชุมชน (แพลนเน็ต) การสมัครเข้าร่วมชุมชน (แพลนเน็ต) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือย่อย ๆ ภายในให้เราเลือกใช้อีกมากมาย


แนะนำ blog gotokhow

ขอยกตัวอย่างบล็อกหนึ่ง คือ blog gotokhow ซึ่งได้พัฒนาขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2548 โดย อาจารย์จากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2 ท่าน คือ ดร.จันทวรรณ น้อยวัน เป็นผู้ออกแบบระบบ และ ดร.ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ เป็นผู้เขียนโปรแกรม ได้พัฒนา blog gotokhow version 1 ให้แก่

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ให้เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้(KM)ช่องทางหนึ่ง ซึ่งถือเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญา อันทรงพลังที่สร้างและพัฒนาโดยคนไทยและใช้โดยคนไทย

หลังจากที่ blog gotokhow เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายทำให้เกิด blogger และมีชุมชนสมัครเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดขึ้นกันมากมาย จนครบหนึ่งปีในเดือนมิถุนายน 2549 ก็ได้พัฒนา blog gotokhow เป็น version 2 ที่ก้าวหน้ามากขึ้นอีกดังที่เห็นในปัจจุบัน


จุดเด่นของ blog gotoknow

จุดเด่นของบล็อกนี้ประการหนึ่งคือการเชื่อมโยงเป็นชุมชนของความรู้ที่เรียกว่าแพลนเน็ต โดยมีคำหลักหรือป้ายในการบันทึกจัดกลุ่มให้ คล้ายกับ CoPS (community of practice) ที่รวม tacit khowledge ให้เป็น explicit khowledge เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้


เนื่องจาก blog เป็นเว็บไซต์เชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การบันทึกลงในบล็อกจึงถูกลิงค์ไปยังเว็บไซต์ gloogle ด้วย จึงทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายเครือข่ายไปกว้างขวางมากขึ้น


ศิลปะการเขียน blog

การสมัครเป็นสมาชิกบล็อกสามารถทำได้ง่าย แต่การลงมือเขียนและบันทึกแบ่งปัน tacit khowledge ลงในบล็อก ให้น่าสนใจ เป็นเรื่องที่ต้องเริ่มต้นและฝึกฝน

คุณธวัช หมัดเต๊ะ จากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ให้คำแนะนำไว้ว่า


การเขียนสะท้อนการปฏิบัติก็คล้ายการเล่าเรื่องเพียงแต่จัดเรียงประโยคสื่อสารให้ชัดเจน สั้น ง่าย อ่านเข้าใจ เท่านั้นก็เพียงพอ ถ้าผู้อ่านชอบเขาก็จะได้ความรู้และได้เรียนรู้สไตล์ของเราไปพัฒนาการเขียนของเขาต่อ

สำหรับผมมีหลักในการบันทึกลงใน blog gotokhow ของตนเองว่า จะเขียนตามสไตล์ของตนเอง ตามที่เราถนัด เขียนอะไรก็ได้ตามที่อยากจะเขียน เพื่อสื่อสารให้คนอ่านและตัวเรารู้ว่าอยากจะเล่าอยากจะบอกอะไร การที่เราอยากจะเล่าจะทำให้มีพลังในการเขียน ส่วนเนื้อหารูปแบบหรือวิธีการเขียนนั้นจะพัฒนาไปเอง

เรื่องที่เขียนก็จะเขียนในเรื่องที่เรารู้หรือได้ลงมือปฏิบัติมาแล้ว บางครั้งก็เขียนจากเรื่องที่ไปศึกษาดูงาน การประชุมสัมมนา การพูดคุยหรือสัมภาษณ์ผู้ที่มี best practice แต่ละเรื่องที่น่าสนใจ ถ้าเรื่องใดเราสนใจเป็นพิเศษ ก็จะถ่ายภาพแล้วโหลดรูปภาพลงไปด้วย เวลาบันทึกผมจะพิมพ์ลงไปในโปรแกรม word แล้ว coppy
มาวางในบล็อก พร้อมทั้งตกแต่งรูปแบบให้น่าสนใจแล้วจึงบันทึก
มีหลายเรื่องที่มีผู้อ่านโพสต์เข้ามา หรือบางคนก็เข้ามาถามมาคุยเป็นการส่วนตัวทาง e-mail ที่ระบุไว้ในบล็อก ก็จะมีการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์กันทำให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กว้างขวางและมีแรงจูงใจในการเขียนบล็อกได้อย่างต่อเนื่อง จากสถิติการเข้ามาอ่านบล็อกแต่ละเรื่องที่เขียนในแต่ละวัน มีจำนวนไม่น้อยทีเดียว แสดงว่าคนไทยมีความสนใจ การอ่านบล็อกมากขึ้น แต่ยังไม่ค่อยชอบโพสต์หรือแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรหาวิธีกระตุ้นกันต่อไป

เสน่ห์ของ blog จึงเป็นเสน่ห์ที่ยิ่งเข้าไปลงมือเขียนก็ยิ่งเกิดความผูกพันจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันและยังช่วยพัฒนาจิตใจตนเองให้มีความเอื้ออาทร รู้จักแบ่งปันความรู้ แนวคิดให้แก่ผู้อื่น และรู้จักรับฟังเก็บเกี่ยวความรู้จากผู้อื่นด้วย

Blog จึงเป็นเครื่องมืออันทรงพลังของ KM. จริง ๆ

เอกสารอ้างอิง
คณิศร หงส์วัชรสกุล การสร้างบล็อกด้วยบริการฟรี ๆ จาก blogger.com เอกสารประกอบการบรรยาย
ของมหาวิยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตนนทบุรี 2549

ประพนธ์ ผาสุขยืด การจัดการความรู้ ฉบับมือใหม่หัดขับ กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ใยไหม 2548
วิจารณ์ พานิช การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ 2548



จากคุณ : บุรินทร์ .
08:11pm (5/01/07)
ทความเกี่ยวกับไอทีในชีวิตประจำวัน (Information Technology in Life) ถูกเขียนลงในหนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือ เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เริ่มเขียนปลายปีพ.ศ. 2549 จนถึงมิถุนายน พ.ศ.2560 รวมได้ 611 บทความมีโฮมเพจอยู่ที่ http://www.thaiall.com/itinlife และ http://www.thaiall.com/opinion เพื่อเป็นแหล่งแบ่งปันเรื่องราวที่ได้พบ ได้อ่าน ได้ปฏิบัติ แล้วนำมาเรียบเรียงแบ่งปันแก่เพื่อนชาวไทย และส่งให้กองบรรณาธิการนำไปตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัดลำปาง
Opinion แปลว่า ความคิดเห็น วาทะ ความเชื่อ ที่สามารถสะท้อนออกมาให้อยู่ในรูปของวรรณกรรม หรืองานเขียน ที่เรื่องราวจะถูกร้อยเรียงเป็นตัวอักษร ไล่เรียงตามลำดับให้ได้รู้และเข้าใจความคิดความเห็น ที่ไม่เลือนหายไปตามเวลาเหมือนความทรงจำ
version 1.3 (15 ตุลาคม 2566)
Thaiall.com
Thaiall.com