thaiall logomy background การเรียนรู้แบบกระตุ้น หรือ การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 10 ระดับ
my town
activelearning

การเรียนรู้เชิงรุก

การเรียนรู้แบบกระตุ้น หรือ การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) คือ การจัดการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนได้ลงมือทำ และคิดในสิ่งที่ทำด้วยตนเอง ทำให้ได้สารสนเทศมากที่สุด ในเวลาอันสั้นที่สุด ต่างกับการเรียนรู้เชิงรับ (Passive Learning) ที่เป็นการเรียนรู้ผ่านการฟัง ดู อ่าน เพื่อเรียนรู้ข้อมูลให้เข้าใจอย่างค่อยเป็นค่อยไป
อ้างคำพูด | เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ | การศึกษา | นักศึกษา | มหาวิทยาลัย | ห้องเรียนในอนาคต |
การเรียนรู้แบบกระตุ้น หรือ การเรียนรู้เชิงรุก การเรียนรู้เชิงรุก ารเรียนรู้แบบกระตุ้น หรือ การเรียนรู้เชิงรุก (ActiveLearning) คือ การจัดการเรียนรู้ที่สามารถตอบสนองต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจำเป็นที่จะต้องลดบทบาทของผู้สอน แต่เพิ่มบทบาทของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำและได้คิดในสิ่งที่ทำลงไป เพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ตรงให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน โดยผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครูด้วยการลงมือทำกิจกรรมร่วมกันทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน จากนั้นก็สร้างองค์ความรู้ขึ้นจากสิ่งที่ได้ลงมือทำนั้นผ่านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การอภิปรายและการสะท้อนคิด เพื่อสร้างความหมายกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
Active Learning มีขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ 2) ขั้นให้เห็นสถานการณ์ท้าทาย 3) ขั้นอภิปรายสะท้อนความคิด 4) ขั้นร่วมผลิตองค์ความรู้ และ 5) ขั้นช่วยกันดูสะท้อนเรื่อง โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เช่น 1) การอภิปรายกลุ่มย่อย 2) การแสดงบทบาทสมมติ 3) การแสดงละคร 4) การใช้สถานการณ์จำลอง 5) การใช้กรณีศึกษา 6) การอ่านและการเขียนอย่างกระตือรือร้น 7) การทำงานกลุ่มเล็ก ๆ และ 8) การใช้เกมเพื่อประกอบการจัดการเรียนรู้

กมล โพธิเย็น. (2564). Active Learning : การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1), 11-28.

การกระตุ้นการเรียนรู้ 10 ระดับ (10 levels of active learning) 1. กระตุ้นให้อยากไปโรงเรียน
มีทุนการศึกษา
มีเพื่อนไปเรียนด้วย
2. กระตุ้นให้อยากเข้าออกห้องเรียนตรงเวลา
มีคะแนนเช็คชื่อเข้าเรียน
มีสอบย่อยก่อนเรียนและหลังเรียน
3. กระตุ้นให้ตั้งใจเรียนรู้เนื้อหา
มีคำถามให้ค้นหาคำตอบ
มีกิจกรรมสอดคล้องกับเนื้อหา
4. กระตุ้นให้ตั้งใจฟังระหว่างเรียน
มีเฉลยปัญหาระหว่างเรียน
มีเรียกตอบคำถามแบบสุ่ม
5. กระตุ้นให้อยากฟังสรุปการเรียน
มีกิจกรรมท้ายชั่วโมง
มีการอธิบายโจทย์การบ้าน
6. กระตุ้นให้ทำงานกลุ่ม
มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
มีการเลือกผู้แทนกลุ่มนำเสนอผลงาน
7. กระตุ้นให้อ่านในห้องเรียน
มีการใช้เนื้อหาในหนังสือระหว่างเรียน
มีสไลด์ที่ใช้หัวข้อจากในหนังสือ
8. กระตุ้นให้อ่านนอกห้องเรียน
มีงานมอบหมายที่อ้างอิงในหนังสือ
มีงานมอบหมายต้องค้นคว้าเพิ่มเติม
9. กระตุ้นให้ทบทวนเนื้อหาที่เรียนมา
มีการสอบเก็บคะแนนตามหลักสูตร
มีรายงานที่ส่งกลางภาคและปลายภาค
10. กระตุ้นให้ทบทวนเนื้อหานอกบทเรียน
มีแผนการเรียนรู้เนื้อหาจากแหล่งอื่น
มีเป้าหมายการเรียนรู้ที่ท้าทาย
เทคนิคการเรียนรู้ที่น่าสนใจ (Interested Learning Techniques) 1. การเรียนรู้แบบกระตุ้น (Active Learning)
2. การทบทวนแบบเว้นระยะ (Spaced Repetition)
3. เทคนิคการจำคำสำคัญ (Mnemonics)
4. การสร้างแผนที่ความคิด (Mind Mapping)
5. การแบ่งข้อมูลเป็นชิ้นเล็ก ๆ (Chunking)
6. การทดสอบการปฏิบัติ (Practice Testing)
7. การฝึกซ้อมโดยการสลับหัวข้อ (Interleaved Practice)
8. การสอนโดยเพื่อน (Peer Teaching)
9. การรับรู้ตัวเองและการคิดเชิงวิเคราะห์ (Metacognition)
10. การเรียนรู้ที่ใช้หลายประสาทสัมผัส (Multisensory Learning)
Active Learning ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) activelearning "anything that involves students
in doing things and thinking about
the things they are doing
"
Active learning was first defined by Bonwell and Eison (1991)
การจัดการเรียนการสอนจากการปฏิบัติ การจัดการเรียนการสอนจากการปฏิบัติ ารจัดการเรียนการสอนจากการปฏิบัติ (Active Learning) หรือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นหลัก คือ กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การระดมสมอง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการทำกรณีศึกษา เป็นต้น โดยกิจกรรมที่นำมาใช้ควรช่วยพัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การสื่อสาร การนำเสนอ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม บทบาทของผู้เรียน คือ มีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์ทั้งกับผู้สอนและผู้เรียนด้วยกัน บทบาทของผู้สอนในการถ่ายทอดความรู้ผ่านการบรรยายจะลดลง แต่เพิ่มบทบาทกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเรียนรู้
มีวิธีการสอนที่เน้นการเรียนแบบ Active Learning ดังนี้ 1) แบบระดมสมอง เช่น ช่วยกันคิดหัวข้อโครงงาน 2) แบบเน้นโครงงาน เช่น เขียนเว็บเพจบนฟรีโฮส 3) แบบแสดงบทบาทสมมติ เช่น คลิปวิดีโอเรื่องแรงบันดาลใจ 4) แบบแลกเปลี่ยนความคิด เช่น ร่วมกันคิดด้วยหมวกหกใบ 5) แบบสะท้อนความคิด เช่น การทวนสอบกิจกรรม 6) แบบตั้งคำถาม เช่น ตั้งคำถามให้ผู้เรียนหาคำตอบ 7) แบบใช้เกม เช่น การตั้งเกณฑ์และกติกาเขียนโค้ดให้บรรลุเป้าหมาย
chula.ac.th/../Active%20Learning_01.pdf (2 หน้า)
การเรียนรู้แบบลงมือทำ หรือการเรียนรู้เชิงรุก

Active learning
ารเรียนการสอนแบบ Active Learning คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก ที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านการลงมือทำที่ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ดังนี้ แบบที่ 1) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) เช่น สำรวจ เสาะหา ค้นคว้า สร้างสรรค์ เกมการแข่งขัน แลกเปลี่ยน แสดงออก นำเสนอ โดย เน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ และทักษะเดิม มาทำให้กิจกรรมเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ แบบที่ 2) รูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) เช่น ลงมือปฎิบัติ ทดลอง ทดสอบ การพูด การอ่าน การเขียน บทบาทสมมติ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และอภิปรายผล โดย เน้นให้ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติ ให้ได้ทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ใหม่ หรือการเรียนรู้เรื่องใหม่ แบบที่ 3) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) เช่น การใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งสมมติฐาน หาสาเหตุ เชื่อมโยงเรื่องราว หาแนวทางการแก้ปัญหา ดำเนินการแก้ปัญหา และหาคำตอบ โดย เน้นให้ผู้เรียนกำหนดปัญหาขึ้น หาวิธีแก้ไข ดำเนินการ และสรุปผลได้ แบบที่ 4) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) เช่น กำหนดประเด็นงานตามความสนใจแล้วนำเสนอ ฝึกทำงานร่วมกันเชิงบูรณาการและวางแผน รู้จักใช้แหล่งข้อมูลแล้วจึงปฏิบัติ สร้างผลผลิตแล้วประเมินผล และนำเสนอ โดย เน้นให้ผู้เรียนต้องกำหนดประเด็น แผนงาน และดำเนินงานตามแผนอย่างเป็นระบบ
แบบที่ 5) รูปแบบการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีวิจัยหรือใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL = Research-Based Learning) เช่น (1) การเรียนรู้ผลการวิจัย/ใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน (2) การเรียนรู้จากการศึกษางานวิจัย/การสังเคราะห์งานวิจัย (3) การเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย (ก) การเรียนรู้วิชาวิจัย/วิธีทำวิจัย (ข) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/รายงานเชิงวิจัย (ค) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/ร่วมทำโครงการวิจัย (ง) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/วิจัยขนาดเล็ก และ (จ) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/วิทยานิพนธ์
ขั้นตอนการสอนเชิงรุก (Active Learning) มีดังนี้ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ 2) ขั้นสำรวจและค้นหา 3) ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป 4) ขั้นสร้างผลผลิตของความเข้าใจ 5) ขั้นสะท้อนผลผ่านชุมชนแหล่งการเรียนรู้ ซึ่งคำว่า ชุมชน (Community) นั้นจำแนกได้หลายระดับ ได้แก่ ในห้องเรียน ในระดับชั้น ในโรงเรียน ในจังหวัด ในภาค ในประเทศ ในต่างประเทศ ในการประชุมวิชาการ ในวารสาร หรือในสื่อสังคม ที่เปิดให้มีการนำเสนอผลผลิต รับข้อซักถาม การโต้แย้ง ชี้ประเด็นที่น่าสนใจ หรือมีข้อเสนอเพื่อการพัฒนาต่อยอดจากชุมชน
ารจัดการเรียนรู้เชิงรุกมีประโยชน์ ดังนี้ 1) พัฒนาการมีส่วนร่วม ความคิด และทักษะ 2) มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อใช้พัฒนาผู้เรียน 3) ให้ความสำคัญกับความแตกต่างของผู้เรียน 4) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด และนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้และปฏิบัติจริง 5) สร้างเครือข่ายระหว่างบุคคล และสื่อการเรียนรู้ 6) พัฒนาทักษะที่สำคัญให้กับผู้เรียน 7) ผู้เรียนมีความมั่นใจในการทำผลงานของตน 8) สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
อ่าน บทความปริทัศน์ เรื่อง การจัดการเรียนรู้ สู่ Thailand 4.0 : Active Learning โดย กาญจนา บุญภักดิ์ และ สุวรรณา อินทร์น้อย ในวารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 พบ กลวิธีหนึ่ง ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ อาจต้องทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่ทำการสอน คือ "การแสดงความคิดเห็นเป็นรายบุคคล โดยการเรียกชื่อให้ตอบ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียน คิดคำตอบไว้ล่วงหน้าตลอดเวลา เพราะคิดว่าผู้สอนอาจถามตนเองเป็นคนต่อไป"
การเรียนรู้เชิงรุก 113 หน้า
แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 55 หน้า
Active Learning : การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21
การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ (15 รูปแบบ)
ขานชื่อ หรือเรียกชื่อให้ตอบ
การเรียนโดยใช้การวิจัย
กลยุทธ์เปลี่ยนห้องเรียนแบบ Passive ให้เป็น Active Learning
Active Learning การเรียนรู้รูปแบบใหม่ หลักสูตรนอกชั้นเรียน 2022
กิจกรรมเป็นฐาน
เชิงประสบการณ์
ปัญหาเป็นฐาน
โครงงานเป็นฐาน
วิจัยเป็นฐาน
อ่านเพิ่มเติม
เรียนได้ความรู้ และลุ้นรางวัล
ารเรียนรู้ในหลักสูตรฐานสมรรถนะ สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการเรียนการสอนเชิงรุก (Active Learning) และเครื่องมือสำหรับห้องเรียนแห่งอนาคต ก็เป็นสิ่งเติมเต็มการจัดการเรียนรู้ให้สมบูรณ์ เช่น กระดานอัจฉริยะ RP860K 259,000 บาท เป็นต้น ดังนั้น เมื่อผู้เรียนตั้งใจเรียน ได้รับความรู้ก็จะมีความสุขและสำเร็จ ในบางชั้นเรียนเมื่อเรียนแบบ Active Learning ยังได้สิทธิ์ลุ้นรับรางวัลกันฟรีอีกด้วย ซึ่งผู้จัดการเรียนการสอน สามารถใช้กระบวนการลุ้นรางวัลได้หลากหลาย เช่น ตอบคำถามถูก ทำภารกิจครบตามเงื่อนไข สุ่มจับฉลาก ชนะเกมการแข่งขัน ให้รางวัลเป็นรายกลุ่ม หรือรายบุคคล ให้รางวัลในผลงานที่นำเสนอ เป็นต้น
เช็คชื่อนักเรียนในห้องเรียน #โซเชียลเสียงแตก #ActiveLearning
ลิปเดือด แม่ปะทะครูภาษาไทย หลังครู ประจานลูก 10 ขวบ กลางชั้นเรียนออนไลน์ เหตุไม่ขานรับตอนเช็กชื่อ จนเด็กร้องไห้เพราะอายเพื่อน ข้องใจทำไมไม่โทรหาส่วนตัว ด้านโซเชียลเสียงแตกเมนต์สนั่น (บางเรื่องเสียงไม่แตก เหมือนเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพครู) เพราะคนเราคิดไม่เหมือนกัน เครื่องมือหนึ่งอาจเหมาะสมกับนักเรียนกลุ่มหนึ่ง แต่อาจไม่เหมาะกับนักเรียนอีกกลุ่มหนึ่งก็เป็นได้
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีรูปแบบใดที่ เป็นปัญหากับนักเรียน ชวนคิด อภิปราย หาข้อสรุปร่วมกัน
มาชวนกันมองคำถาม ดังนี้
1. ขานชื่อ เช็คงาน ชวนทำกิจกรรม - ครูทวงถามได้กี่ครั้ง / นักเรียนไม่ตรงเวลา ได้กี่ครั้ง
2. เรียนเชิงรุก แล้วผู้เรียนไม่ลุก - นักเรียนรู้สึกว่าถูกรุกล้ำ ได้หรือไม่
3. ให้ผู้เรียนคิด ตั้งปัญหา คุณครูตั้งโจทย์ - ผู้เรียนไม่คิดถึงปัญหา ไม่รับรู้โจทย์ ได้หรือไม่
4. ครูควรยกตัวอย่างปัญหาใกล้ตัว หรือไกลตัว - ผู้เรียนอยากรับรู้ปัญหาแบบ ใกล้หรือไกล
5. ครูออกแบบกิจกรรมแสนสนุก ร้องเพลง เต้นรำ เล่นเกม - ผู้เรียนไม่สนุกด้วย ได้หรือไม่
6. มุมมองความสวย กับแก่แดด - ผู้เรียน กับครูมองเหมือนกันตรงไหน [มิสทีน - คลิป]
7. เรียน เพื่อประกอบอาชีพ เลี้ยงตัวเองได้ - เทศบาลเปิดรับพนักงาน ตำแหน่งใดน่าสนใจ [ลำปาง - PDF]
ปัญหาเป็นฐาน
5 เหตุผลที่ทำให้ Active Learning ผิดพลาด การเรียนรู้เชิงรุก ทำให้รู้เนื้อหาสาระมากที่สุด และใช้เวลาน้อยที่สุด
และมี 5 เหตุผลที่อาจทำให้ Active Learning ไม่สำเร็จ

1. ใช้การเรียนรู้แบบเชิงรับด้วยเทคนิคเชิงรุก (Using Active Learning Passively)
2. มีความเข้มข้นไม่พอที่จะใช้เชิงรุก (Not Using Sufficient Intensity)
3. จับคู่เทคนิคการสอนไม่เหมาะสม (Not Matching the Technique to the Topic)
4. มีโครงสร้างซับซ้อนเกินไป (Being Too Structured)
5. ร่างกายไม่พร้อมเรียนรู้เชิงรุก (Not Optimizing Your Physiology)
5 Reasons You’re Doing Active Learning WRONG (8.40 นาที)
คลิปสอนเรื่อง Active Learning รวมคลิปวิดีโอ และเพลลิสต์
EP.1 ชวนมาทำความรู้จัก Active Learning กันแบบง่าย ๆ ภายใน 2 นาที (20 วิดีโอ)
Active Learning Cornell Center for Teaching Innovation (4 วิดีโอ)
Learning Techniques & Study Tips (16 วิดีโอ)
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning (48:36 นาที)
What is…Active Learning? (1:55 นาที)
What is Active Learning? (1:44 นาที)
พลิกโฉม โรงเรียนสร้างต้นแบบ แบบ ACTIVE LEARNING (5:09:15 นาที)
The Active Learning Method (6:53 นาที)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning (5:01 นาที)
เอกสารอ้างอิง

กมล โพธิเย็น. (2564).  Active Learning : การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21.  วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1), 11-28.

ณัฎภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ. (2562).  ผลของการออกแบบแผนการสอนและการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศต่อผลลัพธ์การเรียนรู้.  วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 38(2), 93-103.

ธีรัช รำแพนเพชร. (2564).  การพัฒนาความสามารถในการใช้สำนวนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ผ่านชุดบทเรียนออนไลน์.  วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 41(2), 13-25.

นิติบดี ศุขเจริญ, บุษรา อวนศรี, และ เรวดี อันนันนับ. (2561).  ปัจจัยการขยายตัวของความต้องการเรียนกวดวิชา.  Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 1883-1897.

รัศมี ศรีนนท์, อุดมกฤษฏิ์ ศรีนนท์, วิภารัตน์ ยมดิษฐ์, และ กรรณิการ์ กิจนพเกียรติ. (2561).  การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคไทยแลนด์ 4.0.  วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 331-343.

สิริมาส จันทน์แดง. (2564).  Edtech เทรนด์การศึกษายุคใหม่: การนำมาใช้ลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ท่ามกลางปัญหาช่องว่างทางดิจิทัล.  วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 12(3), 44-56.

Thaiall.com