การทำขวัญนาค #D02
การทำขวัญนาค

ตามประเพณีไทยนั้น เมื่อลูกชายบ้านไหนถึงเกณฑ์จะบวชพระแล้ว ผู้หลักผู้ใหญ่ก็จะจัดการให้ผู้บวชนำดอกไม้ธูปเทียนแพใส่พาน ไปบอกกล่าว วงศาคณาญาติที่นับถือ ที่เรียกกันว่า “ลาบวช” จากนั้นจึงมีการสมโภช หรือที่ เรียกว่า “ทำขวัญนาค” ก่อนบวช 1 วัน แต่สมัยนี้มักทำขวัญนาคในช่วงเช้า แล้วทำพิธีบวชในตอนบ่ายเลยก็มี

ในวันทำขวัญนาคนั้น “เจ้านาค” ซึ่งโกนหัว โกนคิ้ว โกนหนวด ตัดเล็บเรียบร้อยแล้วจึงนุ่งห่มด้วยเครื่องแต่งกายที่งดงามมีแก้วแหวนเงินทองต่าง ๆ อันเป็นสิ่งแสดงความฟุ้งเฟ้อในทางโลกมุ่งจับด้วยผ้ายกทอง ใส่เสื้อครุยปัก ทอง สไบเฉียงทางไหล่ซ้ายคาดเข็มขัดหัวเพชร ใส่แหวนทั้ง 8 นิ้ว หรือแล้วแต่ จะมีใส่ จากนั้นไปนั่งหน้าบายศรี หมอทำขวัญนาคก็จะอ่านคำทำขวัญนาคขึ้น ตามทำนอง มีเนื้อความอธิบายถึงชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เริ่มเป็นตัว และพ่อแม่ได้ บำรุงเลี้ยงมาด้วยความยากจนเติบใหญ่ ก็ด้วยความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะ ได้เห็นลูกเป็นคนดี และบัดนี้ก็เป็นที่สมประสงค์ที่เจ้านาคจะอุปสมบทในพระ พุทธศาสนา จึงเป็นการสมควรยิ่งที่เจ้านาคจะพึงรักษาความดีอันเป็นมงคลนี้ ไว้แก่ตนต่อไปชั่วอวสานแห่งชีวิต

เมื่ออ่านบททำขวัญนาคจบแล้ว พราหมณ์ก็ตั้งต้นทำพิธีสมโภช ด้วยน้ำสังข์จุณเจิม และเวียนเทียนประโคมด้วยดุริยดนตรีตามคติ เป็นที่พรักพร้อมใน ระหว่างวงศาคณาญาติ และเพื่องฝูงทั้งหลายแล้ววันรุ่งขึ้นจึงเข้าพิธีอุปสมบท มี การแห่เจ้านาคไปสู่วัดอย่างสนุกสนานครึกครื้น