ต้นทุนสินค้า (Product Cost)

ปรับปรุง : 2549-10-26 (มีหลายแบบ)
ศัพท์ที่น่าสนใจ
- ปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดสุด
   EOQ (Economic Order Quantity)
- จุดสั่งซื้อ (Reorder Point)
- ต้นทุน (Cost)
- จำนวน (Volume)
- กำไร (Profit)
- สินค้าคงเหลือ (Inventory)
- จุดคุ้มทุน (Break-Even Point)
- ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost)
- ต้นทุนแปรผัน (Variable Cost)
- ส่วนลด (Discount)
- ยอดขาย (Sale)
- ดอกเบี้ย (Interest)
- วัตถุดิบ (Raw Materials)
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating Expenses)
- ภาษี (Tax)
- การส่งคืนสินค้า (Return)
- สินค้าระหว่างผลิต (Goods in Process)
- ค่าขนส่งสินค้า (Freight Cost)
- ไม่รวมค่าขนส่งข้ามประเทศ
   Free on Board (F.O.B.)
- Gantt Chart
- หนี้สิน (Liabilities)
- ส่วนของเจ้าของ (Owner Equity)
- สินทรัพย์ (Asset)
- สินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets)
- ค่าเสื่อมราคา (Depreciation)
- งบการเงิน (Financial Statement)
- งบดุล (Balance Sheet)
- งบกำไรขาดทุน (Income Statement)
- รายได้ (Revenue)
ต้นทุนมีหลายแบบ
1. เข้าก่อนออกก่อน (FIFO : First In First Out)
2. เข้าหลังออกก่อน (LIFO : Last In First Out)
3. ถัวเฉลี่ย (Moving Average)
4. ต้นทุนคงที่ (Standard Cost)
5. ต้นทุนขึ้นกับราคาขายหักเปอร์เซ็น เช่น หนังสือ
6. ไม่สามารถกำหนดต้นทุน เช่น บริการ

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง ( refer. fao.org )
ค่าใช้สอย ต้นทุนคงที่ ต้นทุนในการดำเนินงาน ต้นทุนในการผลิต ค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่าย ต้นทุนทางสังคม ต้นทุนผันแปร ต้นทุนต่อหน่วย ประมาณการต้นทุน ต้นทุนหน่วยท้ายสุด ต้นทุนแรงงาน ค่าเสียโอกาส ต้นทุนรวม การวิเคราะห์ต้นทุน ค่าใช้จ่าย ราคา ความสามารถในการทำกำไร การบัญชี ต้นทุนที่แท้จริง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ราคาเงา

การลงบันทึกบัญชีสินค้า ( esg.co.th )
1. ระบบการลงบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory System)
เป็นการบันทึกการรับจ่ายสินค้าอย่างต่อเนื่องและบันทึกบัญชีต้นทุนขายทุกครั้งที่เกิดรายการขาย ในสต๊อกการ์ดจะแสดง ปริมาณ ราคาต่อหน่วย และราคารวมของสินค้าที่ซื้อขาย ตลอดจนยอดคงเหลือ ฉะนั้นถ้าต้องการทราบสินค้าคงเหลือในวันใดวันหนึ่ง คงเหลือเท่าไรก็สามารถคำนวณได้โดยรวมยอดคงเหลือครั้งหลังสุด ของสต๊อกการ์ดทุกสินค้าเข้าด้วยกัน แต่มีข้อเสีย คือ การบันทึกรายการอย่างนี้เป็นการเพิ่มภาระในการลงบัญชีอย่างมาก จึงเหมาะสำหรับธุรกิจที่จำหน่ายสินค้าราคาค่อนข้างสูง ( โปรแกรม express จะทำการบันทึกบัญชีให้อัตโนมัติ)
2. ระบบการลงบัญชีสินค้าเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory System)
เป็นการบันทึกรายการซื้อขายแต่ละครั้ง จะไม่มีการลงรายการสินค้า และไม่มีการบันทึกบัญชี ฉะนั้นระบบการลงบัญชีแบบ Periodic ยอดคงเหลือยกมาในบัญชีสินค้าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนกว่าจะสิ้นงวดบัญชี เพราะเมื่อมีการซื้อสินค้าเพิ่มเติมในระหว่างงวดจะลงรายการไว้ในบัญชีซื้อ และเมื่อขายสินค้าจะลงบัญชีขายเพียงคู่เดียวเท่านั้น ดังนั้นกิจการจึงจำเป็นต้องทำการตรวจนับสินค้าในวันสิ้นงวดบัญชี เพื่อนำไปจัดทำงบต้นทุนขาย

การปิดบัญชี หมายถึง การจัดทำงบการเงิน เช่น งบกำไรขาดทุน งบดุล เป็นรายงานการเงิน ที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการหนึ่งในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยนำเอาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไปหักจากรายได้ ก็จะทราบว่ากิจการมีกำไรขาดทุนเท่าใด เพื่อให้สะดวกในการลงบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายใหม่ในงวดถัดไป ฉะนั้นการปิดบัญชีกำไรขาดทุน จะมีผลทำให้บัญชีที่ถูกปิดมียอดเท่ากับ ศูนย์ (Zero Balance) ?


1. เข้าก่อนออกก่อน (FIFO : First In First Out)
นิยมใช้ เพราะต้นทุนที่คำนวณใกล้กับความจริง เช่น สินค้าตามฤดู หรือจำกัดเรื่องอายุสินค้า
มีแนวคิดว่า สินค้าที่ซื้อมาก่อน ก็จะจำหน่ายออกไปก่อน
date       stock  type  amount  cost
2549-10-23  101    buy   100     8
2549-10-25  101    sell   80     8
2549-10-29  102    buy   100     9
2549-11-01  101    sell   15     8
2549-11-05  102    sell   85     9
2549-11-07  103    buy   100    10
2549-11-10  101    sell    5     8
2549-11-20  102    sell    1     9
2549-11-20  103    sell   20    10
จำนวนเหลือรวม (0 + 14 + 80) = 94
มูลค่าเฉลี่ยต่อชิ้น (14 * 9) + (80 * 10) = 9.85

2. เข้าหลังออกก่อน (LIFO : Last In First Out)
สินค้าที่ซื้อมาก่อนเป็นต้นทุนของสินค้าคงเหลือ เช่น เหล็ก ปูน ไม้ เพราะเคลื่อนย้ายไม่สะดวก
มีแนวคิดว่า สินค้าที่ซื้อมาหลังสุด จะขายออกไปก่อน
date       stock  type  amount  cost
2549-10-23  101    buy   100     8
2549-10-25  101    sell   80     8
2549-10-29  102    buy   100     9
2549-11-01  102    sell   15     9
2549-11-05  102    sell   85     9
2549-11-07  103    buy   100    10
2549-11-10  103    sell    5    10
2549-11-20  103    sell    1    10
2549-11-20  103    sell   20    10
จำนวนเหลือรวม (20 + 0 + 74) = 94
มูลค่าเฉลี่ยต่อชิ้น (20 * 8) + (74 * 10) = 9.57

3. ถัวเฉลี่ย (Moving Average)
คำนวณต้นทุนจากจำนวนที่เหลือ ตัวอย่างนี้คำนวณราคาทุนใหม่ทุกครั้งที่ซื้อเข้ามา
date       stock  type  amount  cost
2549-10-23  101    buy   100     8
2549-10-25  ---    sell   80     8 
2549-10-29  102    buy   100     9 ((20 * 8) + (100 * 9) / 120) = 8.33
2549-11-01  ---    sell   15  8.33
2549-11-05  ---    sell   85  8.33
2549-11-07  103    buy   100    10 ((20 * 8.33) + (100 * 10)) / 120) = 9.72
2549-11-10  ---    sell    5  9.72
2549-11-20  ---    sell    1  9.72
2549-11-20  ---    sell   20  9.72
จำนวนเหลือรวม (300 - 206) = 94
มูลค่าเฉลี่ยต่อชิ้น 1 : ((20 * 8) + (100 * 9) / 120) = 8.33
มูลค่าเฉลี่ยต่อชิ้น 2 : ((20 * 8.33) + (100 * 10)) / 120) = 9.72
ผู้สนับสนุน + ผู้สนับสนุน
+ รับผู้สนับสนุน

แนะนำเว็บใหม่ : ผลการจัดอันดับ
รักลำปาง : thcity.com : korattown.com : topsiam.com : มหาวิทยาลัยโยนก
ศูนย์สอบ : รวมบทความ : ไอทีในชีวิตประจำวัน : ดาวน์โหลด : yourname@thaiall.com
ติดต่อ ทีมงาน ชาวลำปาง มีฝันเพื่อการศึกษา Tel.08-1992-7223