กระดานแสดงความคิดเห็น
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-15 (กระดานแสดงความคิดเห็น)
เว็บเพจหน้านี้สำหรับผู้ดูแลเท่านั้น
รหัส secure
=>
นำตัวอักษร สีขาวบนพื้นแดง มาป้อนในช่องนี้
edit_topic_password =>
เคยคิดว่ามนุษย์ต้องใช้เวลาอีกหลายปี กว่าจะยอมรับกล้องดิจิทอลมาแทนที่กล้องฟิล์มที่ใช้กันมาหลายสิบปีแล้ว แต่พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคโลกไร้พรมแดนเปลี่ยนเร็วมาก ในเวลาไม่ถึง 5 ปีก็แทบไม่มีใครถามหาฟิล์มถ่ายรูปอีกแล้ว เพราะต้นทุนค่าฟิล์ม และหน่วยเก็บข้อมูลของรูปถ่ายแต่ละใบต่างกันมาก ส่วนไอพีโฟ (IP4) ก็มีสภาพคล้ายกับวิทยุทรานซิสเตอร์ และกล้องฟิล์ม ที่มีแนวโน้มจะสูญพันธุ์ในไม่ช้า และถูกแทนที่ด้วยไอพีซิก (IP6) ซึ่งดีกว่า และแก้ปัญหาเรื่องจำนวนไอพีที่ไม่พอกับผู้ใช้ในอนาคตอันใกล้ หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ www.ipv6.org หรือ www.nectec.or.th
ไอพี (IP) ย่อมาจาก Internet Protocol คือระเบียบวิธีการที่ถูกกำหนดขึ้น เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อถึงกันในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีลักษณะคล้ายเลขหมายโทรศัพท์ทั่วไป สำหรับไอพีโฟ (IP รุ่นที่ 4) มีขนาด 32 bits หรือ 4 bytes ประกอบด้วยตัวเลข 4 จำนวน แต่ละจำนวนมีเป็นได้ระหว่าง 0 ถึง 255 และถูกขั้นด้วยสัญลักษณ์จุด เช่น 10.20.30.250 จากชุดตัวเลขดังกล่าว เมื่อนำไปแจกให้ชาวโลกจะมีได้ถึง 4 พันล้านหมายเลข แต่สถิติการใช้งานอินเทอร์เน็ตจากทุกผลสำรวจพบว่ามีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จนเชื่อได้ว่าไอพีที่มีอยู่จะไม่เพียงพอกับความต้องการในเร็ววันนี้ เพราะคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องอาจมีได้หลายไอพีและคนหนึ่งคนก็ใช้ไอพีได้หลายไอพีอีกเช่น
ไอพีซิก (IP รุ่นที่ 6) ได้รับการพัฒนาจาก IETF (Internet Engineering Task Force) มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2533 มีขนาด 128 bits หรือ 16 bytes สามารถรองรับคอมพิวเตอร์ได้สองยกกำลังร้อยยี่สิบแปด หรือประมาณสามแสนล้านล้านล้านเครื่อง ถ้าต้องการใช้ไอพีซิกในประเทศไทยสามารถขอได้จากโครงการ NECTEC IPv6 Tunnel Broker ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ให้บริการไอพีซิกอัตโนมัติสำหรับผู้ใช้ระดับครัวเรือน ทำหน้าที่แจกจ่ายหมายเลขไอพีซิก (IPv6) ให้แก่ผู้ที่สนใจได้เชื่อมต่อเข้าเครือข่ายนี้ ชาวไทยสามารถลงทะเบียน (Sign Up) ได้ฟรี เพื่อรับรหัสผ่านทางอีเมลสำหรับเข้าระบบ และสร้างช่องสัญญาณ (Tunnel) สำหรับเชื่อมต่อด้วยตนเอง ที่ http://tb.ipv6.nectec.or.th ในโลกของไอพีซิกยังเป็นเรื่องใหม่ จึงมีที่ว่างอีกมากสำหรับความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ ให้เข้าไปทำอะไรต่อมิอะไร
จากคุณ :
บุรินทร์
.
11:47pm (25/05/07)