รักสุขภาพ ต้องทำเอง
ฉบับที่ 1 - จุฬาปรับเป็นสอนออนไลน์ มอบหมายงาน อยู่บ้านสอบตามความเหมาะสม ป้องกันแพร่ระบาด
พบประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอนกรณีสถานการณ์ไม่ปกติ อันเนื่องมาจากภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2563

ซึ่งก่อนหน้านี้ ในวันที่ 1 มีนาคม 2020 มีการใช้ #จุฬาควรหยุด แสดงความคิดเห็น ใน twitter.com จำนวนมาก คาดว่า กลัวการแพร่ระบาด จากการไปเรียนที่มหาวิทยาลัย ต้องนั่งรถมอเตอร์ไซค์ออกจากซอย นั่งแท็กซี่ นั่งรถตู้ โหนรถเมย์ รถไฟฟ้า ไปเข้าห้องน้ำ โรงอาหาร ห้องเรียน ใช้จานชาม แก้ว ต่อคิวเข้าลิฟต์ นั่งในห้องเรียน ห้องสอบ ห้องปฏิบัติการ ใช้โต๊ะเก้าอี้ และอากาศในห้องเย็น ๆ ร่วมกันนาน ๆ #โดยสารสาธารณะ #อยู่รวมกัน #สัมผัสสิ่งของ

สุดท้าย มีประกาศที่จับประเด็นได้ว่า
1. ปรับการเรียนการสอนให้เร็วขึ้นได้
2. เรียนเป็นระบบโมดูลได้
3. แขวนสื่อให้เรียนแบบ self study ได้
4. สอนระบบออนไลน์ได้
5. ใช้ assignment, project, case study และบูรณาการได้
6. รายงาน และนำข้อสอบไปทำนอกห้องสอบ (Take-home exam) ได้
โดยคำนึงถึงการวัดและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ตาม Program learning Outcomes (PLO) ที่ระบุไว้เป็นสำคัญ จากประกาศนี้ทำให้นึกถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นห้องเรียนแห่งอนาคต ที่ปรับเปลี่ยนได้เร็วมาก จากการมาของ COVID-19 และจะเปลี่ยนอีกหลายวงการ ไม่ใช่เฉพาะการศึกษา เช่น บันเทิง กีฬา การค้า การเงิน และการเดินทาง
ฉบับที่ 2 - จุฬาให้ทุกรายวิชาสอนออนไลน์ หรือ realtime หรือ clip
เพราะชีวิตสำคัญ และต้องตระหนักถึงสุขภาพพลานามัยของนิสิต

พบประกาศจุฬา เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอนในกรณีสถานการณ์ไม่ปกติ อันเรื่องมาจากภาวะการแพร่ระบาดของเชื่อโรค COVID-19 (ฉบับที่ 2) ว่าให้ทุกวิชาสอนในรูปแบบออนไลน์ อาจสอนสด หรือสอนโดยบันทึกไฟล์ภาพเสียงไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะวิชาที่มีตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป ส่วนสอนปฏิบัติให้คำนึง Program Learning Outcomes (PLO) ตาม มคอ.2 แต่ให้ลดหรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีความเสี่ยง โดยการสอนไม่ต้องคำนึงถึงเกณฑ์ร้อยละ 80 และสามารถใช้กิจกรรมออนไลน์ การมอบหมายงาน การทำรายงาน และการนำข้อสอบไปทำนอกห้องสอบ (Take-home exam) ซึ่งจุฬามีระบบสนับสนุนการเรียนการสอนแบบออนไลน์ไว้ให้แล้ว ซึ่งขอรับบริการได้ที่ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ ในอนาคตระบบการเรียนอาจต้องปรับ เป็นการปรับตัวตามสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนที่อาจกินเวลานานกว่าที่คิด

ขอแนะนำการสอนออนไลน์ ซึ่ง ผศ.ดร.ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์ มีคู่มือ 29 หน้า
เรื่อง การเรียนการสอนออนไลน์ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจไว้ หลายรายการ ดังนี้
KC Moodle
Zoom : Video Conferencing
OneDrive ของ Microsoft หรือ Google Drive ของ Google
nurse.cmu.ac.th/../student.pdf
สวมหน้ากากอนามัย ทำให้หายใจไม่คล่องได้
เรื่องหน้ากากอนามัย

พบว่า มาสก์หรือ หน้ากากอนามัย N95 หรือหน้ากากอนามัยสีเขียว หรือหน้ากากผ้า ต่างประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ป้องกันได้เฉพาะอย่างแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ป้องกันเชื้อโรค ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือฝุ่นขนาดใหญ่เข้าสู่ร่างกายผ่านการหายใจลงสู่ปอด ถ้าป้องกันได้ดีมากจะใช้ในห้องปฏิบัติการ ระหว่างหายใจจะต้องไม่มีลมรั่วออกด้านข้างถึงจะป้องกันได้ 95% แต่ถ้าใส่ไม่ถูกวิธีจะป้องกันได้ลดลง

ในทางปฏิบัติ การใส่หน้ากากจะต้องออกแรงหายใจมากกว่าเดิม ทำให้ใส่เป็นเวลานานไม่ได้ ใส่ได้เกิน 1 ชั่วโมงก็จะรู้สึกแย่แล้ว การสวมใส่เป็นเวลานานสำหรับผู้มีปัญหาการหายใจ ก็จะยิ่งทำให้ไม่สบายตัว หากไม่ออกแรงหายใจเพิ่มขึ้น ปริมาณออกซิเจนก็จะได้รับเข้าไปในปอด ส่งไปส่วนต่าง ๆ น้อยลง เช่น สมอง ก็อาจทำให้มึงงงได้

หน้ากากสีเขียวมี 3 ชั้น
- ชั้นนอกสุด หรือชั้นสีเขียว เป็นชั้นขับไล่ของเหลว ไม่ให้เข้ามา
- ชั้นกลาง เป็นชั้นดักจับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม
- ชั้นในสุด หรือชั้นสีขาวบาง เป็นชั้นดูดซับของเหลวกรณีที่เราไอไม่ให้ออกไป
https://www.thairath.co.th/news/society/1470999
ดื่มกาแฟเกินหนึ่งแก้ว เสี่ยงมีบุตรยาก
ข่าวจาก voicetv บอกว่า
พบผลวิจัยของโรงพยาบาลกลาง มลรัฐแมสซาชูเซตส์ เก็บข้อมูล 7 ปี ว่าถ้าดื่มกาแฟที่มีสารคาเฟอีนประมาณ 265 มิลลิกรัมต่อวัน มีความเสี่ยงที่จะทำให้ภรรยาตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น ที่พอเหมาะควรอยู่ที่ 88 มิลลิกรัมต่อวัน สรุปได้ว่า การดื่มกาแฟมากไปมีผลให้เสี่ยงต่อการมีบุตรยาก แต่ถ้าดื่มแอลกอฮอล เช่น ไวน์วันละแก้วกลับจะเป็นผลดี ทุกอย่างถ้ารู้จักคำว่าพอดีมักจะเป็นผลดี อะไรที่น้อยไป หรือมากไป มักไม่เป็นผลดี
1. กาแฟกลั่นหยด หนึ่งถ้วย มีคาเฟอีนอยู่ราว 115 มิลลิกรัม
2. กาแฟเอสเพรสโซ และกาแฟจากเครื่องทำกาแฟด้วยไอน้ำเดือด มีคาเฟอีนราว 80 มิลลิกรัม
3. กาแฟผงสำเร็จรูป มีคาเฟอีนราว 65 มิลลิกรัม
didyouknow.org/thai/coffeethai.htm
nhs.uk .. limit-caffeine-during-pregnancy
uscfertility.org/caffeine-fertility-treatment/
verywellfamily.com/caffeine-and-fertility-1960253
yourfertility.org.au/everyone/lifestyle/caffeine