if ($_GET["d"] == "redmeat") { ?>
สารเร่งเนื้อแดง (ซาลบูทามอล)(สารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์) |
แหล่งอ้างอิง
http://www.moac.go.th/builder/agriaction/index.php?page=762&clicksub=762&sub=400
http://www.fda.moph.go.th/prac/watch/tips/salbu.shtml
http://www.healthnet.in.th/text/forum2/red_pork/index.html
ซาลบูทามอล เป็นสารในกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ (b-Agonist) เป็นตัวยาสำคัญในการผลิตยาบรรเทาโรคหอบ หืด ช่วยในการขยายหลอดลม และช่วยให้กล้ามเนื้อขยายตัว เพิ่มการสลายตัวไขมันที่สะสมในร่างกาย พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู มีการนำสารชนิดนี้ไปผสมในอาหารสำหรับเลี้ยงหมู เพื่อให้เนื้อหมูมีปริมาณเนื้อแดงเพิ่มมากขึ้น เพราะจะทำให้ได้ราคาดีกว่าหมูที่มีชั้นไขมันหนา ๆ
อันตรายจากซาลบูทามอล
การบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้างอยู่ อาจมีอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียนศีรษะ บางรายมีอาการเป็นลม คลื่นไส้อาเจียน มีอาการทางจิตประสาท และเป็นอันตรายมากสำหรับหญิงมีครรภ์และผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคไฮเปอร์ไธรอยด์
วิธีการหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเร่งเนื้อแดง
เลือกเนื้อหมูที่มีมันหนาบริเวณสันหลังและเลือกเนื้อหมูที่เมื่ออยู่ในลักษณะตัดขวาง จะมีมันแทรกระหว่างกล้ามเนื้อเห็นได้ชัดเจน
สารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์
เป็นเคมีภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์เป็นยารักษาโรคหอบหืดในคน แต่ผู้เลี้ยงสุกรได้รับคำแนะนำหรือชักจูงใจในทางที่ผิด โดยนำสารกลุ่มนี้มาผสมในอาหารสัตว์ น้ำ ดื่มและอื่นๆ สำหรับการเลี้ยงสุกรเพื่อลดไขมันหรือเพิ่มปริมาณเนื้อแดงในซากสุกร ซึ่งการกระทำเช่นนี้ เป็นการใช้เคมีภัณฑ์ที่ผิดวัตถุประสงค์ และไม่ถูกต้องตามคุณสมบัติของสารเคมีภัณฑ์ชนิดนี้นอกจากนี้ยังเป็นการทรมานสัตว์ที่ขาดเหตุผลและความจำเป็น เนื่องจากสารกลุ่มนี้มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด หลอดลม กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น ถ้าสารในกลุ่มนี้มีการตกค้างในเนื้อสุกรก็จะมีผลกระทบต่อผู้บริโภคโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ เป็นต้น ซึ่งประเทศไทย และต่างประเทศได้ห้ามใช้สารกลุ่มนี้ในการผลิตอาหารสัตว์โดยเด็ดขาด ซึ่งมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 มาตรา 6(5) , 57
สารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ ได้แก่
ซัลบูทามอล (Salbutamol) ซิมบูเทอรอล (Cimbuterol) เคลนบูเทอรอล (Clenbuterol) มาเพนเทอรอล (Mapenterol) แรคโตพามีน (Ractopamine) เคลนเพนเทอรอล (Clenpenterol) ไซมาเทอรอล (Cimaterol) คาบูเทอรอล (Cabuterol) มาบิลเทอรอล (Mabuterol) ทูโลบูเทอรอล (Tulobuterol) โบรโมบูเทอรอล (Bromobuterol) เทอบูตาลีน (Terbutaline)
อันตรายของสารเร่งเนื้อแดง
สารเร่งเนื้อแดง เป็นชื่อที่ใช้เรียกกันทั่วๆ ไปของสารในกลุ่มเบต้า - อะโกนิสต์ (Beta-agonists) ที่ตรวจพบว่ามีการลักลอบใช้มีอยู่ 2 ชนิด คือ ซาลบูตามอล (Salbutamol) และเคลนบูเทรอล (Clenbuterol) ซึ่งเป็นสารเคมีที่นำมาใช้ในการผลิตยารักษาโรคมนุษย์ มีสรรพคุณในการขยายหลอดลม รักษาโรคหอบหืด และช่วยให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว แต่อาจมีผลข้างเคียง คือ ทำให้มีอาการกล้ามเนื้อสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ กระวนกระวาย วิงเวียน ปวดศีรษะ ดังนั้นจึงห้ามใช้ยากลุ่มนี้กับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ และใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วย Hyperthyroidism
ปัจจุบันพบว่ามีการลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดงในสุกร วัว และสัตว์ปีก เพื่อช่วยทำให้สัตว์ที่เลี้ยงเพื่อบริโภคเหล่านี้ มีการสะสมไขมันลดลง มีการเจริญเติบโตและกระตุ้นเนื้อแดงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค หากได้รับสารตกค้าง อาจเกิดอาการหัวใจเต้นผิดปกติ นอนไม่หลับ คลื่นไส้ อาเจียน
รู้ได้อย่างไรว่าเนื้อหมูมีสารเร่งเนื้อแดงปนเปื้อน
1. หมูที่ยังมีชีวิตอยู่สามารถสังเกตเห็นได้ว่ามีลักษณะคล้ายนักเพาะกาย คือ เราจะเห็นมัดกล้ามนูนเด่นกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณสะโพก สันหลังหรือบริเวณหัวไหล่ ถ้าได้รับสูงมากๆ หมูจะมีอาการสั่นอยู่ตลอดเวลา
2. ในส่วนของเนื้อนั่น จะมีสีแดงคล้ำกว่าปกติ
3. เนื้อที่หั่นทิ้งไว้จะมีลักษณะเนื้อค่อนข้างแห้ง แต่หมูปกติเมื่อหั่นทิ้งไว้จะพบน้ำซึมออกมาบริเวณผิว
4. ส่วนของหมูสามชั้น หมูปกติจะมีเนื้อแดง 2 ส่วน ต่อมัน 1 ส่วน (33%) แต่สำหรับหมูใช้เร่งเนื้อแดงจะมีปริมาณเนื้อสูงถึง 3 ส่วนต่อมัน 1 ส่วน (25%) นั่นคือ มีเนื้อแดงมากกว่ามัน
เทคนิคง่ายๆ สำหรับผู้บริโภคในการเลือกซื้อหมูที่ปลอดภัยในระดับหนึ่งคือ เลือกเนื้อหมูที่มีมันติด หากไม่ต้องการมันหมูก็สามารถตัดไปเจียวเป็นน้ำมันได้ แล้วเดี๋ยวนี้ในห้างสรรพสินค้าโดยทั่วไปก็มีหมูปลอดภัยจากสารพิษขายอยู่ทั่วไป ก็ให้ลองสังเกตและเลือกซื้อเนื้อหมูตามลักษณะที่แนะนำมานะคะ
เคยสอบถามผู้ผลิตเหมือนกันว่า ทำใมต้องใช้สารเร่งเนื้อแดง คำตอบที่ได้รับก็คือ เป็นความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการรับประทานเนื้อหมูที่มีมันน้อย เนื้อสีแดงสวย คำถามต่อมาเกี่ยวกับวิธีการหรือว่ามาตราการในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ว่าจะทำอย่างไร คำตอบสุดท้ายก็อยู่ที่ตัวผู้บริโภคนั่นเองว่าจะเปลี่ยนแปลงทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องการบริโภคเมื่อไร....คำตอบอยู่ที่ตัวเราเองค่ะ
} ?>
|
|