Sure Before Share หรือ Check Before Share มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง แม้จะยากที่ผู้อ่านจะตรวจสอบได้ด้วยตนเอง แต่อย่างน้อยก็มีความหวังว่าจะสร้างความตระหนักได้บ้าง เหมือนเรื่องราว หรือกิจกรรมมากมายที่หวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มเป้าหมาย แต่คงไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงได้เร็วทันใจ
อ่านจาก สำนักข่าวไทย (tnamcot.com) พบเปิดบัญชีดำ “ข่าวปลอม” ด้านล่างนี้คือรายการหัวข้อข่าวปลอมจำนวนหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ข่าวแรกคือ "1. ช๊อก! ม.ปลาย ประชดชีวิตแม่ไม่ไห้เงินซ่อมiPhone ต้องหาเงินเอง วิธีไหนมาดู" ข่าวสุดท้ายคือ "102. จับแล้ว!!มือปาดคอ”ป๋าเทพ”ตลกรุ่นเก๋า ที่แท้เป็นสามีหมอนวดที่ป๋าเทพไปติด" ท่านสนใจบัญชีดำ เข้าไปอ่านได้ตามลิงค์ข้างล่างนี้
จดหมายลวง หรือข่าวลวง หรือไวรัสหลอกลวง มีชื่อภาษาอังกฤษว่าโฮแอ็ค (Hoax) เป็นคำที่มักนำมาพูดในหัวข้อไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ การแชร์ หรือส่งต่อข้อมูลที่ไม่จริง ผู้ส่งต่อคือผู้ติดไวรัสหลอกลวง เมื่อเกิดขึ้นก็จะติดต่อ และแพร่กระจายได้เร็ว โดยเฉพาะยุคก่อนสื่อสังคม โฮแอ็คจะรู้จักกันมากและแพร่กระจายผ่านอีเมล อาทิ ได้รับอีเมลแจ้งเตือนว่าผู้ให้บริการอีเมลจะปิดบริการ หากต้องการให้บริการนี้อยู่ต่อ ให้ส่งจดหมายฉบับนี้ไปยังเพื่อนอีก 20 คน เพื่อเป็นข่าวสารย้อนกลับไปยังผู้ให้บริการและจะยังให้บริการต่อไป โดยโฮแอ็คเป็นไวรัสที่ติดคน ถ้าคนเชื่อก็จะส่งต่อไปเรื่อย ติดต่อเนื่องกันไป ลักษณะการกระจายข่าวหลอกลวงแปรผันกับความอ่อนไหวในประเด็นของผู้ติดไวรัส
กรณีข่าวลวง หรือโฮแอ็คเรื่องเฟสบุ๊คที่แพร่หลายเมื่อ 2 กรกฎาคม 2559 จนมีชาวเฟสบุ๊คบางคนปฏิบัติตามคำแนะนำในข่าวลวง แล้วโพสต์ข้อความในหน้าโปรไฟร์ของตน เพราะเขียนได้น่าเชื่อ และกระทบความเป็นส่วนตัว (Privacy) คำว่า คิดก่อนโพสต์ (Think before post) อาจเข้าหยุดการแพร่ข่าวล่วงได้ไม่ทัน เพราะคนที่โพสต์มักคิดอย่างดีแล้วถึงได้โพสต์ตามคำแนะนำ สำหรับคนที่ไม่แชร์ข่าวลวงเรื่องความเป็นส่วนตัว เช่น อ.ปริญญา หอมเอนก เพราะมีประสบการณ์เกี่ยวกับระบบรักษาความมั่นคงทางไอที และต้องบรรยายเรื่องเหล่านี้อยู่เสมอ ส่วนคนที่เคยดูคลิ๊ปคิดก่อนเชื่อ เช็คก่อนแชร์ (Check before share) ของ AIS เรื่อง ทามะนาว รักษามะเร็งได้ ก็น่าจะได้ตระหนักก่อนแชร์ตามบทเรียนที่ได้จากการชมคลิ๊ป และท่านที่ทำงานด้านสุขภาพก็จะไม่ติดไวรัสหลอกลวงเรื่องนี้
คำว่า Hoax แปลว่า หลอกลวง ไม่ได้กำเนิดมาจากยุคคอมพิวเตอร์ พบว่าปีค.ศ.1835 มีบทความเรื่องสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ (The Great Moon Hoax) ทั้งหมด 6 ตอน เขียนโดย Sir John Herschel ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ The New York Sun ข่าวนี้แพร่กระจายออกไปผ่านการบอกเล่า จากคนสู่คน จากรุ่นสู่รุ่นมากว่า 180 ปี ทำให้หนังสือพิมพ์ขายดีขึ้นอย่างชัดเจน และหลังจากความจริงปรากฏ หนังสือพิมพ์ก็ยังขายดีต่อเนื่อง คนที่เชื่อจากการอ่านหนังสือพิมพ์ก็ยังเชื่อต่อไป และนำไปเล่าต่อให้ลูกให้หลานฟัง ปัญหาของโฮแอ็คจะมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นกับประเด็นที่หลอกลวง
คุณตังโองเงินให้ผู้โชคดี ทั้งจริง และไม่จริง มีมาอย่างต่อเนื่อง (ช่วงนี้เงียบไปล่ะ) แล้วได้อ่านโพสต์ภาพที่ อ.เกียรติ แชร์มา เป็นเรื่องตกทองอีกแบบหนึ่ง
เรื่องนี้เป็นบทสนทนาผ่านแชทระหว่างคุณตันตัวปลอม กับ คาปู้-คูก้า คนบ้าเกลียดแมว อ่านแล้วได้มุมมองแปลกใหม่ น่าชวนนักศึกษาคิดต่อได้เลย เพราะเงิน 3 ล้านใครก็อยากได้ แต่คนบ้าเกลียดแมวเลือกจะรับเงินเพียง 500 บาทแทน