ไปอ่านมาจากหลายแหล่ง
พอสรุปได้ว่า
นั่งสมาธิถึงระดับหนึ่ง จะส่งผลให้ร่างกาย
หลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน หรือเอ็นโดฟินส์ (Endorphins)
ทำให้มีความสุข
ดังนั้นการนั่งสมาธิแล้วมีความสุข
ก็มาจากการที่ร่างกายหลั่งสารนี้
ถ้านั่งแล้ว นั่งได้นานถึง 30 นาที แสดงว่ามีการหลั่งสารนี้แล้ว
หลายสำนักก็ปฏิบัติด้วยการนั่งสมาธิเป็นเวลา 30 นาที
http://www.samathi.com/institute-detail.php?actid=4
—
อ่านจาก wiki ที่ https://th.wikipedia.org/wiki/เอ็นดอร์ฟิน
เอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) เป็นสารที่หลั่งออกมา
เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวด ผลิตจากต่อมใต้สมอง และ ไฮโปทาลามัส ในกระดูกสันหลัง
สารเอ็นดอร์ฟินมีลักษณะคล้ายคลึงกับ โอปิแอต ในกลุ่มโอปิออยด์ ที่ใช้สำหรับระงับการเจ็บปวด
—
อ่านจาก Blog ที่ https://nanjeeraporn.wordpress.com
ว่า ฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้น
เมื่อเราเกิดความสุขใจ หรือเมื่อเกิดความปีติสุข
เช่น การนั่งสมาธิ สวดมนต์ การช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน การออกกำลังกาย การฟังดนตรี การทำงาน ศิลปะ การได้รัก ได้สัมผัสถ่ายทอดความรักซึ่งกันและกัน กระทั่งการได้ร่วมรักกับคนที่เรารัก
—
อ่านจาก Kapook ที่ https://health.kapook.com/view65437.html
เรื่อง “8 ฮอร์โมนสำคัญในร่างกาย”
โดย เอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) คือ ฮอร์โมนหลั่งเมื่อฉันฟิน
ฮอร์โมนที่ทำให้เรามีความสุข คลายเครียด
เมื่อเรามีความสุขกายสบายใจ สารเอ็นดอร์ฟินจะหลั่งออกมามากขึ้น แล้วเข้าสู่กระแสเลือด
จนสามารถไปกดการสร้างฮอร์โมนแห่งความเครียด
เช่น นอร์เอพิเนฟริน ทำให้เรารู้สึกหายเครียด และยังเป็นผลให้ระดับภูมิคุ้มกัน (antibody)
ในเลือดเพิ่มขึ้น
อีก 7 ฮอร์โมน คือ
เทสโทสเตอโรน เอสโตรเจน
โปรเจสเตอโรน โดฟามีน
คอร์ติซอล เซโรโทนิน
และอีพีเนฟรีน (อะดรีนาลิน)
—
ภาพประกอบ นักศึกษาฝึกปฏิบัติทำสมาธิ
11 กรกฎาคม 2015
http://202.44.33.100/samathi/branch/7/gallery/_201508142134040046.jpg