ทบทวนร่างเกณฑ์ประเมินที่เปิดใช้ในปีการศึกษา 2557
เนื้อหาจากฉบับร่าง ห้ามใช้อ้างอิง แต่น่าจะเหมาะกับการเตรียมความพร้อม
โดยนำมาเปรียบเทียบกับคู่มือประกันคุณภาพการศึกษา 2554-2556
และมีคุณศัลณ์ษิกา ไชยกุล นักศึกษาฝึกงานมาช่วยเติมเต็มรายละเอียดต่าง ๆ
—
กลุ่มตัวบ่งชี้หลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.1 ถูกเรียกว่า ตัวบ่งชี้มาตรฐาน หากไม่ผ่านเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง ให้ผลประเมินเป็น 0 และไม่ต้องประเมินตัวบ่งชี้พัฒนาอีก 13 ตัวบ่งชี้ ซึ่งตัวบ่งชี้มาตรฐานมีเกณฑ์ระดับปริญญาตรี ดังนี้
* เกณฑ์ที่ 1. จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร – ไม่น้อยกว่า 5 คน และเป็นเกิน 1 หลักสูตรไม่ได้ และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น (ตรี – โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 2. คุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตร – 1) มีวุฒิระดับปริญญาโท หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน 2) คุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์อย่างน้อย 2 คน (ตรี – โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 3. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร – 1) มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโท หรือเทียบเท่า หรือ 2) ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ อย่างน้อย 2 คน (ตรี – โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน – 1) อาจารย์ประจำ หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันมีวุฒิปริญญาโทหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน 2) มีประสบการณ์ด้านการสอน 3) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ – 1) เป็นอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และ 2) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) – 1) เป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีวุฒิปริญญาเอกหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และ 2) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ – 1) เป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีวุฒิปริญญาเอกหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และ 2) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา – (เฉพาะแผน ก เท่านั้น) ต้องเป็นรายงานสืบเนื่องฉบับเต็มในการประชุมทางวิชาการ (proceeding) หรือวารสารหรือสิ่งพิมพ์วิชาการซึ่งอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา – วิทยานิพนธ์ อาจารย์ 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน และการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน (โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 10. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษามีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ – อย่างน้อย 1 เรื่องในรอบ 5 ปี (งานวิจัยนั้นจะต้องไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นผลงานของนักศึกษาที่ใช้ในการสำเร็จการศึกษา) (โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 11. มีการปรับปรุงหลักสูตรไม่เกินรอบระยะเวลาที่กำหนด – ต้องไม่เกิน 5 ปี (จะต้องปรับปรุงให้สำเร็จและอนุมัติ/ให้ความเห็นชอบโดยสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน เพื่อให้หลักสูตรใช้งานในปีที่ 6) หมายเหตุ สำหรับหลักสูตร 5 ปี ประกาศใช้ในปีที่ 7 หรือหลักสูตร 6 ปี ประกาศใช้ในปีที่ 8 (ตรี – โท – เอก)
* เกณฑ์ที่ 12. การดำเนินงานให้เป็นไปตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพ หลักสูตรและการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ – ตัวบ่งชี้ TQF ข้อ 1 – 5 ต้องดำเนินการทุกตัว (ตรี – โท – เอก)
ตัวบ่งชี้ 1.2 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก (ตรี – โท – เอก) [สกอ 2.2]
เกณฑ์การประเมิน : แปลงค่าร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5
ตัวบ่งชี้ 1.3 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ (ตรี – โท – เอก) [สกอ 2.3]
เกณฑ์การประเมิน : แปลงค่าร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5
ตัวบ่งชี้ 1.4 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร (ตรี – โท – เอก) [สมศ 5 สมศ 7]
เกณฑ์การประเมิน :
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร้อยละ 20 = 5
ตัวบ่งชี้ 1.5 จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิง ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร (เอก)
เกณฑ์การประเมิน :
– กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อัตราส่วน จำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่ากับ 2.5 = 5 คะแนน
– กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ
อัตราส่วน จำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่ากับ 3.0 = 5 คะแนน
– กลุ่มสาขาวิชา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
อัตราส่วน จำนวนบทความที่ได้รับการอ้างอิงต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่ากับ 0.25 = 5 คะแนน
ตัวบ่งชี้ 1.6 สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร (ตรี)
เกณฑ์การประเมิน :
คำนวณหาค่าความแตกต่างระหว่างจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่ออาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรกับเกณฑ์มาตรฐาน และนำมาเทียบกับค่าความต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าที่กำหนดเป็นคะแนน 0 และ 5 คะแนน และใช้เทียบบัญญัติไตรยางค์ดังนี้
ค่าความแตกต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานไม่เกินร้อยละ 6 กำหนดเป็นคะแนน 5
ค่าความแตกต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเกินกว่าร้อยละ 12 กำหนดเป็นคะแนน 0
ค่าความแตกต่างทั้งด้านสูงกว่าและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานในระหว่างร้อยละ 6 และ ร้อยละ 12
ให้นำมาเทียบบัญญัติไตรยางค์ตามสูตรดังนี้เพื่อเป็นคะแนนของหลักสูตรนั้นๆ
ตัวบ่งชี้ 1.7 กระบวนการจัดการเรียนรู้และการบูรณาการกับงานวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (ตรี)
เกณฑ์ที่ 1 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย การสร้างปฏิสัมพันธ์ในระหว่างอาจารย์ผู้สอน และผู้เรียน และการประเมินเพื่อการพัฒนาผู้เรียนในระหว่างการเรียนโดยปรากฎอยู่ในรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7 หมวดที่ 7 คุณภาพของการสอน) [สกอ 2.6]
เกณฑ์ที่ 2 การนำกระบวนการบริการทางวิชาการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน หรือการจัดกิจกรรมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการบริการวิชาการ โดยปรากฎอยู่ในแผนการสอนของรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3 หรือ มคอ.4) เพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการบริการทางวิชาการ และมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจน [สกอ 5.1]
เกณฑ์ที่ 3 การนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอนหรือการจัดให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำวิจัย โดยปรากฎอยู่ในแผนการสอนของรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3 หรือ มคอ.4) ยกเว้นวิชาวิธีวิจัย และมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในประเด็นการนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างชัดเจน [สกอ 4.1]
เกณฑ์ที่ 4 การสอดแทรกศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในกระบวนการเรียนการสอนหรือการมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยปรากฎอยู่ในแผนการสอนของรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3 หรือ มคอ.4) และมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรมอย่างชัดเจน [สกอ 6.1]
เกณฑ์ที่ 5 การพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์ที่มีผลการประเมินการสอนต่ำกว่า 3.51 และมีการดำเนินงานตามระบบ โดยปรากฎอยู่ในรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7) [สกอ.2.6]
ตัวบ่งชี้ 1.8 การบริหารหลักสูตร (ตรี – โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 1 การควบคุมระบบการรับนักศึกษา
เกณฑ์ที่ 2 การควบคุมกำกับการจัดการเรียนการสอน ที่สร้างเสริมการประกอบอาชีพ ที่ส่งเสริมทักษะการได้รับการจ้างงาน [สกอ 2.6]
เกณฑ์ที่ 3 การวางระบบอาจารย์ที่ปรึกษา [สกอ 3.1]
เกณฑ์ที่ 4 การจัดเตรียมความพร้อมของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ [สกอ 2.5]
เกณฑ์ที่ 5 การควบคุมกำกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผู้เรียน [สกอ 2.6]
เกณฑ์ที่ 6 การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของอาจารย์ [สกอ 2.4]
เกณฑ์ที่ 7 การติดตามคุณภาพการผลิตบัณฑิต [สกอ 2.7]
เกณฑ์ที่ 8 การควบคุมกำกัการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ [สกอ 2.1]
ตัวบ่งชี้ 1.9 การประเมินผลผู้เรียน (ตรี – โท – เอก) [สกอ 2.6 ]
เกณฑ์ที่ 1 การประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง
เกณฑ์ที่ 2 การกำหนดเกณฑ์การประเมินและการให้เกรดการเรียนรู้
เกณฑ์ที่ 3 การใช้ประโยชน์จากการประเมิน
เกณฑ์ที่ 4 สำหรับระดับบัณฑิตศึกษา การประเมินวิทยานิพนธ์/สาระนิพนธ์
ตัวบ่งชี้ 1.10 การดูแล ช่วยเหลือ และสนับสนุนนักศึกษา (ตรี – โท – เอก)
เกณฑ์ที่ 1 การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเรียน [สกอ 7.4]
เกณฑ์ที่ 2 กระบวนการให้คำปรึกษาทางการเรียน/การทำโครงงาน/การทำวิทยานิพนธ์ [สกอ 3.1]
เกณฑ์ที่ 3 การส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ สาระนิพนธ์ของนักศึกษา [สกอ 2.7.4]
เกณฑ์ที่ 4 การสร้างโอกาสการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้ได้มาตรฐานสากล (บัณฑิตศึกษา)
ตัวบ่งชี้ 1.11 คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ป.ตรี โท เอก) (ประเมินจากผู้ใช้บัณฑิต) (ตรี – โท – เอก) [สมศ 2]
เกณฑ์การประเมิน : นำผลจากการประเมินบัณฑิตที่มีคะแนนเต็ม 5 จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจจะต้องไม่น้อยกว่าร้อย 20
ตัวบ่งชี้ 1.12 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ (โท) [สมศ 3]
เกณฑ์การประเมิน : โดยแปลงค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่ต่อผู้สำเร็จการศึกษา เป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 25 ขึ้นไป
ตัวบ่งชี้ 1.13 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ (เอก) [สมศ 4]
เกณฑ์การประเมิน : โดยแปลงค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่ต่อผู้สำเร็จการศึกษา เป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 50 ขึ้นไป
ตัวบ่งชี้ 1.14 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี (ตรี) [สมศ 1]
เกณฑ์การประเมิน : โดยการแปลงค่าร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระใน1 ปีเป็นคะแนนระหว่าง 0-5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100
—
กลุ่มตัวบ่งชี้คณะวิชา
ตัวบ่งชี้ 2.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร (ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)
ตัวบ่งชี้ 2.2 การบริการนักศึกษา (ถ้ามี) [สกอ 3.1]
เกณฑ์ที่ 1 จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในสถาบัน
เกณฑ์ที่ 2 มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ 1 – 3 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5
ตัวบ่งชี้ 2.3 กิจกรรมนักศึกษา (ถ้ามี) [สกอ 3.2]
เกณฑ์ที่ 1 จัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของสถาบันโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการจัดกิจกรรม
เกณฑ์ที่ 2 ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในระดับปริญญาตรี ให้ดำเนินกิจกรรมในประเภทต่อไปนี้ให้ครบถ้วน
– กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่กำหนดโดยสถาบัน
– กิจกรรมกีฬา หรือการส่งเสริมสุขภาพ
– กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือรักษาสิ่งแวดล้อม
– กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
– กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ทุกกิจกรรมที่ดำเนินการ มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป
เกณฑ์ที่ 5 ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
เกณฑ์ที่ 6 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา
ตัวบ่งชี้ 2.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (ถ้ามี)
เกณฑ์ที่ 1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ [สกอ 7.3]
เกณฑ์ที่ 2 สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ [สกอ 4.1.5]
– ห้องปฏิบัติการวิจัยฯ หรือหน่วยวิจัยฯ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและหนับสนุนการวิจัยฯ
– ห้องสมุดหรือแหล่งค้นหว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยฯ
– สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยฯ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย
– กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยฯ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (visiting professor)
เกณฑ์ที่ 3 จัดสรรงบประมาณของสถาบัน เพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ [สกอ 4.1.4]
เกณฑ์ที่ 4 จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ และมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ [4.2.1]
เกณฑ์ที่ 5 มีการพัฒนาสมรรถนะนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องนักวิจัย/อาจารย์ที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น
เกณฑ์ที่ 6 มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด (เฉพาะมหาวิทยาลัยวิจัย) [สกอ 4.2]
ตัวบ่งชี้ 2.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ [สกอ 4.3]
เกณฑ์การประเมิน : โดยการแปลงจำนวนเงินต่ออาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5
ตัวบ่งชี้ 2.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำ และนักวิจัยประจำ [สมศ 5 สมศ 7]
เกณฑ์การประเมิน :
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ ร้อยละ 30 = 5
กลุ่มสาขาวิชา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร้อยละ 20 = 5
ตัวบ่งชี้ 2.7 การบริการวิชาการแก่สังคม ที่คณะเน้นกระบวนการ PDCA
เกณฑ์ที่ 1 จัดทำแผนการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการแก่สังคมและเสนอสภามหาวิทยาลัย/สถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ [สมศ 8]
เกณฑ์ที่ 2 โครงการบริการวิชาการแก่สังคมในข้อ 1 ที่ทั้งโครงการที่มีรายได้และโครงการที่ให้บริการแบบไม่หวังผลเชิงธุรกิจ
เกณฑ์ที่ 3 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการแก่สังคมในข้อ 1 และนำเสนอสภามหาวิทยาลัย/สถาบันเพื่อพิจารณา [สมศ 8]
เกณฑ์ที่ 4 นำผลการประเมินตามข้อ 4 มาปรับปรุงแผนหรือพัฒนาการให้บริการวิชาการสังคม [สกอ 5.1]
เกณฑ์ที่ 5 โครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผนฯ ทุกโครงการมีการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการเพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนานักศึกษา หรือชุมชน หรือสังคม
ตัวบ่งชี้ 2.8 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ (มหาวิทยาลัยใช้คะแนนของคณะมาเฉลี่ย)
เกณฑ์ที่ 1 การจัดทำแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และกลุ่มสถาบัน [สกอ 1.1]
เกณฑ์ที่ 2 การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการจัดการเรียนการสอนในแต่ละหลักสูตร
เกณฑ์ที่ 3 การบริหารความเสี่ยงต่อปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ [สกอ 7.4]
เกณฑ์ที่ 4 การบริหารอัตรากำลังและพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน [สกอ 2.4]
เกณฑ์ที่ 5 การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ [สกอ 7.1]
เกณฑ์ที่ 6 การจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ [สกอ 7.2]
—
กลุ่มตัวบ่งชี้มหาวิทยาลัย
ตัวบ่งชี้ 3.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร (ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)
ตัวบ่งชี้ 3.2 การบริการนักศึกษา [สกอ 3.1] เหมือนคณะ แต่เพิ่มข้อ 5 – 6
เกณฑ์ที่ 1 จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในสถาบัน
เกณฑ์ที่ 2 มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ 1 – 3 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5
เกณฑ์ที่ 5 นำผลการประเมินจากข้อ 4 มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการและการให้ข้อมูล เพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา
เกณฑ์ที่ 6 ให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ในสายอาชีพแก่ศิษย์เก่า
ตัวบ่งชี้ 3.3 กิจกรรมนักศึกษา [สกอ 3.2] เหมือนคณะ
เกณฑ์ที่ 1 จัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของสถาบันโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการจัดกิจกรรม
เกณฑ์ที่ 2 ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในระดับปริญญาตรี ให้ดำเนินกิกจรรมในประเภทต่อไปนี้ให้ครบถ้วน
– กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่กำหนดโดยสถาบัน
– กิจกรรมกีฬา หรือการส่งเสริมสุขภาพ
– กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือรักษาสิ่งแวดล้อม
– กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
– กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 3 จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา
เกณฑ์ที่ 4 ทุกกิจกรรมที่ดำเนินการ มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป
เกณฑ์ที่ 5 ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
เกณฑ์ที่ 6 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา
ตัวบ่งชี้ 3.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
เกณฑ์ที่ 1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ [สกอ 7.3]
เกณฑ์ที่ 2 สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ [สกอ 4.1.5]
– ห้องปฏิบัติการวิจัยฯ หรือหน่วยวิจัยฯ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและหนับสนุนการวิจัยฯ
– ห้องสมุดหรือแหล่งค้นหว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยฯ
– สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยฯ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย
– กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยฯ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (visiting professor)
เกณฑ์ที่ 3 จัดสรรงบประมาณของสถาบัน เพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ [สกอ 4.1.4]
เกณฑ์ที่ 4 จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ และมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ [สกอ 4.2.1]
เกณฑ์ที่ 5 มีการพัฒนาสมรรถนะนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องนักวิจัย/อาจารย์ที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น
เกณฑ์ที่ 6 มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด (เฉพาะมหาวิทยาลัยวิจัย) [สกอ 4.2]
ตัวบ่งชี้ 3.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ [สกอ 4.3]
เกณฑ์การประเมิน : คะแนนระหว่าง 0 – 5
ตัวบ่งชี้ 3.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ [สมศ 5 สมศ 7]
เกณฑ์การประเมิน : โดยการแปลงจำนวนเงินต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5
ตัวบ่งชี้ 3.7 การบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและสังคม [สกอ 5.2 สมศ 9] ที่มหาวิทยาลัยเน้นชุมชนเป้าหมาย
เกณฑ์ที่ 1 กำหนดชุมชนหรือองค์การเป้าหมายของการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมโดยมีความร่วมมือระหว่างคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า [สกอ 5.2.2]
เกณฑ์ที่ 2 จัดทำแผนบริการวิชาการโดยมีส่วนร่วมจากชุมชน หรือองค์การเป้าหมายที่กำหนดในข้อ 1 [สมศ 9.1.1]
เกณฑ์ที่ 3 ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายได้รับการพัฒนาและมีความเข้มแข็งที่มีหลักฐานที่ปรากฎชัดเจน [สมศ 9.1.3]
เกณฑ์ที่ 4 ชุนชนหรือองค์การเป้าหมายดำเนินการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง [สมศ 9.1.4]
เกณฑ์ที่ 5 สถาบันสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการพัฒนาชุมชนหรือองคค์การเป้าหมาย [สกอ 5.2.2]
ตัวบ่งชี้ 3.8 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม [สกอ 6]
เกณฑ์ที่ 1 กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 2 จัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และกำหนดตัวบ่งชี้ วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
เกณฑ์ที่ 3 กำกับติดตามให้มีการดำเนินงานตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เกณฑ์ที่ 6 เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน
เกณฑ์ที่ 7 กำหนดหรือสร้างมาตรฐานคุณภาพด้านศิลปะและวัฒนธรรมและมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ตัวบ่งชี้ 3.9 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจและกลุ่มสถาบัน
เกณฑ์ที่ 1 การจัดทำแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และกลุ่มสถาบัน [สกอ 1.1]
เกณฑ์ที่ 2 การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการจัดการเรียนการสอนในแต่ละหลักสูตร
เกณฑ์ที่ 3 การบริหารความเสี่ยงต่อปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ [สกอ 7.4]
เกณฑ์ที่ 4 การบริหารอัตรากำลังและพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน [สกอ 2.4]
เกณฑ์ที่ 5 การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ [สกอ 7.1]
เกณฑ์ที่ 6 การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพสถาบันอย่างต่อเนื่อง [สกอ 9]
ตัวบ่งชี้ 3.10 ผลการบริหารงานของคณะ (คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินระดับคณะทุกคณะ)
เกณฑ์การประเมิน : คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินระดับคณะของทุกคณะ
http://www.scribd.com/doc/221987061/
ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
ที่อ้างอิงในเกณฑ์ที่ 12 ของตัวบ่งชี้ 1.1 ว่าต้องผ่าน 1 – 5 ตัวบ่งชี้แรกนั้น มีตัวบ่งชี้ดังนี้
1. อาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
2. มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ถ้ามี)
3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
4. การจัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา
5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา
—
เกณฑ์ประกันคุณภาพ กค.2553 ของ สกอ
http://blog.nation.ac.th/?p=1629