20 มี.ค.53 นี่เป็นตัวอย่างของการให้ความคิดเห็น (Review) ต่อบทความวิชาการที่ไม่ได้ใช้วิธีสอบป้องกันโดยผู้นำเสนอ เพียงแต่อ่านเอกสารและให้ข้อเสนอแนะตามที่พบในเอกสารอย่างกัลยาณมิตร ซึ่งบทความที่ผมได้รับส่วนใหญ่เป็นของนักศึกษาปริญญาโท และได้ให้ข้อเสนอแนะในฐานะ Programme Committee ดังนี้ 1) ให้ปรับรูปแบบเป็นไปตามข้อกำหนดหรือแบบฟอร์มของบทความที่กำหนดในการประชุมวิชาการครั้งนี้ 2) ขอให้ปรับภาพประกอบบทความ เพราะตัวอักษรที่อยู่ในภาพมีขนาดเล็กเกินไปอ่านยาก 3) เอกสารอ้างอิงควรเรียงลำดับตามการถูกเรียกใช้ในบทความ และถ้าเป็นเอกสารอ้างอิงก็ต้องถูกอ้างอิงในบทความ 4) ตรวจการสะกดคำ แล้วจัดให้หน้าและหลังตรง ไม่ควรใช้ทับศัพท์แบบผสมสองภาษา เช่น cross-ครอสวาลิเคชั่น 5) บทคัดย่อให้มีรายละเอียดที่สำคัญ อาทิ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และสรุปผล โดยไม่กล่าวถึงสิ่งที่ไม่อยู่ในบทความ 6) บทคัดย่อที่เขียนไม่สื่อให้เห็นภาพของบทความ ขอให้เรียบเรียงใหม่ อย่างน้อยควรมี วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และสรุปผล 7) การเรียงหัวข้อย่อยให้ใช้ตัวเลข มิใช่ภาษาอังกฤษ 8) เอกสารอ้างอิงที่ 6 7 และ 8 ไม่ถูกอ้างอิงในเอกสาร 9) หัวข้องานวิจัยที่เกี่ยวข้องควรอยู่ต่อจากบทนำมิใช่ต่อท้าย และให้เรียงหัวข้อใหม่ 10) คำย่อของคำว่า CPU ควรตรงกับที่ใช้ในบทความ 11) ผลการทดสอบแสดงด้วยกราฟแล้ว แต่ไม่พบการสรุปในบทความให้ชัดเจน 12) บทความในการประชุมวิชาการ ไม่ควรมีกิติกรรมประกาศ 13) หัวข้อ 3.2.5 หายไป 14) ไม่พบวัตถุประสงค์ของบทความ หรืองานวิจัย 15) สรุปผลที่ได้ยังระบุไม่ชัดเจนขอให้ปรับแก้รายละเอียดเพิ่มเติม 16) ให้ใช้คำว่าเอกสารอ้างอิงแทนบรรณานุกรม 17 ) เนื้อหาหลักควรประกอบด้วย บทนำ วัตถุประสงค์ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง วิธีการดำเนินการวิจัย ผลการดำเนินงาน บทสรุป เอกสารอ้างอิง ทั้งหมดนี้ตีพิมพ์ใน Proceeding ต้องไม่เกิน 6 แผ่น 18) ให้ระบุวัตถุประสงค์ และสรุปผลที่สอดรับกับวัตถุประสงค์
หัวข้อการให้คะแนนพบใน easychair.org ประกอบด้วย 1) Overall evaluation ประกอบด้วยคะแนน 7 ระดับ คือ 3 strong accept 2 accept 1 weak accept 0 borderline paper -1 weak reject -2 reject -3 strong reject 2) Reviewer’s confidence ประกอบด้วยคะแนน 5 ระดับ คือ 4 expert 3 high 2 medium 1 low 0 null
หัวข้อเพิ่มเติม 5 หัวข้อ ดังนี้ 1) Related to xxx2010 area of research 2) New findings or contributions 3) Up-to-date Literature 4) Level of language and presentation 5) Conform to xxx2010 Format แต่ละข้อมีคะแนน 5 ระดับ คือ 5 (excellent) 4 (good) 3 (fair) 2 (poor) 1 (very poor)
การให้ข้อเสนอแนะแก่บทความนี่น่าเหนื่อยใจนะครับ .. เหมือนการชี้ถูกชี้ผิดอย่างที่ศาลเขาทำ แต่ศาลนี่ยังโชคดีมีการพูดคุยโต้ตอบกันได้เป็นการพูดคุยด้วยข้อมูลหลักฐานและตอบข้อซักถาม ในอีกมุมหนึ่งแล้วการพิจารณาบทความนี้ก็ดีกว่าในศาลคือไม่ใช่การชี้เป็นชี้ตายกำหนดอนาคตของคนเหมือนในศาล ที่คนเขาเสนอบทความก็ด้วยเจตนาดีต่อโลกต่อสังคม อยากให้โลกและสังคมเป็นสุข จึงได้คิด ค้นคว้า ทดลอง ดำเนินการ และอยากให้ใคร ๆ ทราบในสิ่งที่ตนเองค้นคว้า แล้วนำมาแบ่งปัน .. มองโลกแง่ดี และเป็นกำลังใจให้กันและกัน เขาว่าจะมีความสุขครับ
+ http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm
+ http://www.nccit.net